พระกริ่ง รุ่นชนะศึกชายแดน หลวงพ่อเกษม เขมโก เมตตาปลุกเสก ใน ปี2528 เนื้อนวะโลหะ
หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 9 พ.ค.2528
หายาก สร้างน้อย ปีลึก ปลุกเสกให้ทหารปกป้องประเทศ จัดสร้างยุคกลางของหลวงพ่อเกษม เด่นครบทุกด้าน กระทั้งด้านทางโชคลาภ สร้างและปลุกเสกแจกให้เหล่าทหารหาญ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการรบครับ พุทธคุณเต็มเปี่ยม พระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมมากครับ พระดี เจตนาสร้างดี ที่น่าเก็บบูชาสะสมอย่างยิ่ง
“หลวงพ่อเกษม เขมโก” สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง พระเถระและเกจิอาจารย์ ที่ชาวเมืองลำปางและชาวไทยเคารพนับถือ เป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ออกผนวชอีกด้วย...
สำหรับวัตถุมงคลต่างๆ ที่หลวงพ่อเกษม สร้างและปลุกเสก ล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหา ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง
หนึ่งในนั้นคือ “เหรียญสิริมงคลเสาร์ 5”
จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกสมทบทุนสร้างศาลาเจ้าแม่สุชาดา เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2516 โดยหลังจากการปลุกเสกของหลวงพ่อเกษม ที่สุสานไตรลักษณ์ เป็นที่เรียบร้อย ท่านปรารภกับบรรดาลูกศิษย์ที่มาร่วมพิธีว่า “ถ้าเอาไปใช้แล้ว ไม่ดี ให้เอามาคืนเฮา”
เหรียญดังกล่าว มีประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะเมื่อคราวเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 จนได้รับการเรียกขานว่า “เหรียญวีรชน” และด้วยรูปทรงของเหรียญเป็นรูประฆังคว่ำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เหรียญระฆัง”
เหรียญสิริมงคลเสาร์ 5 หรือ เหรียญวีรชน ปี 2516 มี 2 เนื้อ คือ เนื้อเงินและเนื้อทองแดง
ลักษณะเป็นเหรียญรูประฆัง มีหู ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนเต็มองค์หลวงพ่อเกษม นั่งขัดสมาธิ ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “เกษม เขมโก”
ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ขอบเหรียญจากด้านซ้ายไปขวา เขียนคำว่า “ที่ระลึกสมทบทุนสร้างศาลาจ้าวแม่สุชาดา เหรียญศิริมงคล สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง” ด้านล่าง เขียนคำว่า “๑๕ เม.ย.๒๕๑๖”
รุ่นนี้ มีการแบ่งเป็นบล๊อก (พิมพ์) ต่างๆ ตามการเล่นหาของชาวลำปางได้ 5 บล๊อก คือ บล๊อกเสาอากาศ (พิมพ์นิยม), บล๊อกเขี้ยว, บล๊อกสิบโท, บล๊อกสิบโทมีเขี้ยว และบล๊อกสายฝน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันของจุดตำหนิแม่พิมพ์ในแต่ละบล๊อก... จัดเป็นอีกเหรียญที่หายากในปัจจุบัน...
ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก
มีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ.131 เป็นบุตรในเจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
สมัยตอนเด็ก มีคนเล่าว่าท่านซนมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น (ต้นฝรั่ง) เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ
เมื่อท่านอายุ 13 ปี บรรพชา ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วัน ได้ลาสิกขาและบรรพชาอีกครั้ง เมื่ออายุ 15 ปี อยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปริยัติธรรม จนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ.2474 เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา มีพระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า เขมโก แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม
โดยพระภิกษุเจ้าเกษม ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย
พ.ศ.2479 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก เรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ แต่ไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุเจ้าเกษม ไม่ต้องการมีสมณศักดิ์สูง เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น
หลังสำเร็จทางด้านพระปริยัติธรรมแล้ว เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่งทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน จึงฝากตัวเป็นศิษย์
ตามครูบาแก่นออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออกธุดงค์ ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา
ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง คณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่ และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุเจ้าเกษม มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส
ครั้นเมื่อได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัด เพราะเคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ เห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนา ต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่
หลังจากนั้น ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้ง เนื่องจากต้องการจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทาน พร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย
หลวงพ่อเกษมเป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ ตลอดชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง
วิธีสอนของท่าน ไม่ชอบตรงไปตรงมา เน้นอุปมาอุปไมยให้ไปขบคิด เรื่องที่เทศนา มุ่งเอาพุทธวจนะเป็นที่ตั้ง
ครั้งหนึ่ง ในการเทศน์งานศพ มีคนมิตั้งใจฟัง นั่งคุยกันจนหนวกหู หลวงพ่อเกษมจึงใช้กระป๋องเนยเปล่า เป็นอุปกรณ์ช่วยขยายเสียงด้วยการสะท้อนเสียงเข้าไปในกระป๋อง เท่านั้นเสียงท่านก็ดังกังวานคล้ายวิทยุ
เป็นกุศโลบายแบบหนึ่งที่ใช้จูงใจญาติโยม
เวลา 19:40 น. วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2539 มรณภาพลงอย่างสงบ ที่ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จ.ลำปาง
สิริอายุ 84 ปี พรรษา 64...
|