ตะกรุดยันต์นาคคอคำดอกนี้ มีความยาว3.8นิ้ว ตามที่ทางร้านเคยบอกไว้ ตะกรุดชนิดนี้มักเรียกได้หลายๆชื่อ ที่ท่าวังผายันต์นาคคอคำนั้น ที่ใช้ยันต์นี้ลงตะกรุดก็คือครูบาบุญรอด วัดปิตุราษฎร์ ส่วนครูบาก๋ง วัดบ้านก๋งนั้นมีตำราเหมือนกัน แต่ยังไม่เคยเห็นครูบาก๋งใช้ลงตะกรุดหรือผ้ายันต์ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ที่วัดบ้านก๋งได้นำยันต์ชนิดนี้มาพิมพ์ลงกระดาษโปรเตอร์ขนาดใหญ่ แจกเนื่องในงานวันเกิดพระครูนิกรฯ เจ้าอาวาสวัดบ้านก๋งองค์ปัจจุบัน ยันต์นาคคอคำทางสายวัดบ้านก๋งจะเรียกชื่อว่า"นาคก๋าละอินทร์ตา" ในตำราวัดบ้านก๋งยันต์นี้ไม่ได้สร้างให้กับคนทั่วๆไป ส่วนของครูบาดอนตันนั้นในตำราหรือปั้บสาของท่านก็มียันต์ชนิดนี้ปรากฏในปั๊บสาด้วย(ภาพที่2คือปั้บสาครูบาดอนตัน ที่ปรากฏยันต์นาคคอคำ) ส่วนครูบาอำเภออื่นๆนั้นจะมีครูบาปัญญา วัดสบก๋อน อ.เชียงกลาง นำยันต์นี้มาลงด้านหลังเหรียญรุ่นแรกและนำมาลงตะกรุด ครูบาศรีบุญเรือง(ตามที่มีคนเคยกล่าวไว้ว่ามีสร้าง) การแยกตะกรุดนาคคอคำแต่ละสายนั้น พอจะมีวิธีแยกได้ ทางร้านจะสอนคนที่เช่าไปเท่านั้น โดยไม่ต้องคลี่ตะกรุดให้เสียพุทธคุณ
วิธีการใช้คร่าวๆ
1.เวลาไปรบหมุนไปทางขวาร้องด่าข้าศึกสามทีก็จะชนะ
2.หมุนไปทางซ้ายสามรอบแล้วไว้ด้านหลังไม่มีใครที่จะตามเราทันได้
3. หมุนไปทางขวาสามรอบแล้วเอามาไว้ด้านหลังร้องด่าผีสามครั้งผีอยู่มิได้แล
4.หมุนขวาสามรอบแล้วเอาไว้เอวด้านขวาเข้าหาเจ้านายเป็นที่รักนักแล
5. ถ้าไปหาหญิงสาวให้เป็นที่รักให้หมุนขวาสามรอบ
6.หากข้ามลำน้ำหมุนขวาสามรอบแล้วเอาไว้บนหัว ผีที่อยู่ในน้ำทำอันตรายเรามิได้แล
7.หากมีตะกรุดนี้ไว้ช้างม้าวัวควาย บริวารทั้งหลายก็ดี แก้วแหวนเงินทองมีมาไม่ขาดสาย มีความสุขความเจริญแก่ผู้เป็นเจ้าของ
8.หากเข้าป่ามีต้นไม้ใหญ่มีผีอยู่ให้หมุนขวาสามรอบแล้วร้องด่าผีสามทีผีอยู่มิได้แลตะกรุด
9.หากเข้าไปหาคนร้ายให้หมุนขวาสามรอบผู้นั้นก็จะรักตัวเรา
ตำรายันต์นาคคอคำนั้นน่าจะมาจากครูบาปัญญาวัดนาไฮหรือนาอุดมเพราะในอดีตนั้นครูบาดอนตันและครูบารอดเคยได้ไปศึกษาตำรายันต์กับครูบาปัญญาวัดนาไฮหรือนาอุดม ตำรายันต์นาคคอคำจึงพบเห็นครูบาดอนตันและครูบารอดนำมาจารลงตะกรุดเหมือนกันครับ
|