พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

ปิดตาหลวงพ่อทองสุข พิมพ์ตะพาบใหญ่


ปิดตาหลวงพ่อทองสุข พิมพ์ตะพาบใหญ่


ปิดตาหลวงพ่อทองสุข พิมพ์ตะพาบใหญ่


ปิดตาหลวงพ่อทองสุข พิมพ์ตะพาบใหญ่

ขายแล้ว กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 ปิดตาหลวงพ่อทองสุข พิมพ์ตะพาบใหญ่
รายละเอียด :
 
ประวัติหลวงพ่อทองสุขวัดสะพานสูงและวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมที่ท่านสร้าง!!!! ๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อทองสุข และการสร้างวัตถุมงคลของท่าน วันนี้ผมขอเชิญทุกท่านไปเรียนรู้พร้อมกันเลยครับ ประวัติ หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร (พระครูนนทกิจโสภณ) วัดสะพานสูข นนทบุรี หลวงพ่อทองสุขท่านเกิดมื้อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๔ ปีเถาะ ที่บ้านหนองไผ่เหลือง ต.หนองนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรนายคง นางแพ มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คนท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่ออายุ ๑๑ ได้เข้าไปเรียนหนังสือที่วัดอยู่กับอาจารย์จ้อย อาจารย์สาย และอาจารย์นิ่ม วัดหนองหว้า เพชรบุรี จนอายุ ๑๓ ออกจากวัดไปอยู่ราชบุรีกับอาของท่าน แล้วกลับมาอยู่กับโยมพ่อ โยมแม่ ช่วยท่านทำนาหาเลี้ยงชีพที่บ้านเกิด จนอายุครบ ๒๐ ปีจึงถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร กรมทหารราบที่เพชรบุรี ปลดแล้วสมัครเป็นตำรวจภูธรได้ยศสิบตำรวจตรี ประจำอยู่เพชรบุรี ๒ ปีแล้วถูกย้ายไปจังหวัดต่างๆ ทั้งพัทลุง,ชุมพร,ด่านสะเดา สงขลา,จนได้ยศ สิบตำรวจโทก็ถูกย้ายไปนราธิวาส,สตูล,อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี,อ.จตุรัส จ.ชัยภูมิ,จ.สุรินทร์ จนครั้งหลังสุดย้ายกลับมาอยู่ที่ จ.เพชรบุรี บ้านเกิด อยู่ได้เพียงหนึ่งปีก็เกิดเบื่อหน่ายทางโลก จึงลาออกจากอาชีพตำรวจ บวชเมือปี พ.ศ.๒๔๗๐ ที่วัดนาพรม เพชรบุรี มีพระครูพิษ เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชณาย์ พระอาจารย์ผ่องเป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุปเป็นอนุสาวนาจารย์ แต่ไม่ได้จำพรรษาที่วัดนาพรม ไปจำพรรษาที่วัดหนองหว้า แต่ก็อยู้ได้เพียงพรรษาเดียว เพราะมีอาจารย์เพ็ง จากวัดสะพานสูงได้ธุดงค์มาพบกันจนท่านทั้งสองรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอันดี ท่านอาจารย์เพ็งจึงชักชวนกันเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดท่าเกวียน ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำพรรษาอยู่วัดนี้ ๓ พรรษา จึงพากันย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อมาศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระครูโสภณศาสนกิจ (หลวงปู่กลิ่น) เป็นเจ้าอาวาส และอาจารย์เพ็งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม จนปีพ.ศ. ๒๔๗๕ สอบนักธรรมได้พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้นักธรรมโท พอดีวัดสะพานสูงขาดครูสอนพระปริยัติธรรม หลวงปู่กลิ่นจึงมอบหมายหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมให้พระภิกษุสามเณรช่วยกัน หลวงพ่อทองสุขได้เรียนตำราเวทย์ และพระคาถรสำคัญๆต่างๆของวัดสะพานสูง เช่น การลงตะกรุด การทำผง พระปิดตา ทำน้ำมนต์ จากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น จนเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมวาจาจารย์ ปีพ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่กลิ่นมรณะภาพลง ท่านจึงขึ้นรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่หนึ่งปี ปี ๒๔๙๑ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสจากความห็นชอบของคณะสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกาวัดสะพานสูง ๙ พฤษภาคมพ.ศ.๒๕๐๘ จึงได้รับแต่งตั่งเป็นพระอุปัชณาย์ ปกครองวัดด้วยคุณธรรมอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรให้อยู่ในพระธรรมวินัย จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ บั่นปลายของชีวิตท่านต้องรับภาระอย่างหนัก ทั้งประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือจากท่านต่างๆนาๆ ภาระกิจของคณะสงฆ์ และกิจการงานต่างๆของวัดสะพานสูง จน ๒๐ มีนาคมพ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านอาพาธด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ลูกศิษย์ได้นำท่านส่งโรงพยาบาลเพชรเวช จน ๗ เมษายนพ.ศ. ๒๕๒๕ เวลา ๐๘.๐๐ น.ท่านได้มรณะภาพลงด้วยอาการอันสงบ ศิริอายุได้ ๗๙ ปี ๑๙ วัน วัตถุมงคลของหลวงพ่อทองสุขนั้นท่านสร้างไว้มากมายหลายอย่างอาทิเช่นพระปิดตารุ่นต่าง ๆ เหรียญปั๊มและเครื่องรางของขลังประเภทตะกรุด ส่วนวัตถุมงคลที่เรียกว่าได้รับความนิยมมากที่สุดเลยก็คือรูปหล่อโบราณหลวงปู่เอี่ยม,หลวงปู่กลิ่นรุ่นแรกปีพ.ศ. ๒๕๐๐ เหรียญเสมาบล็อคเอื่อมเหรียญหลวงปู่กลิ่นและเหรียญข้าวหลามตัดรุ่นแรกปีพ.ศ. ๒๕๐๗ อีกทั้งเหรียญข้ามหลามตัดและเหรียญเสมาบล็อกต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมทั้งมีประสบการณ์และมีราคาเช่าหากันตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลายแสนบาทนั้นล้วนแล้วแต่สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อทองสุขทั้งสิ้น ส่วนพระปิดตาของท่านนั้นถือว่าเป็นพระที่น่าใช้มาก ๆ ท่านสร้างขึ้นตามตำหรับหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงทุกประการเรียกว่าใช้แทนปิดตาหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่นได้เลย โดยพระปิดตาของท่านจะผสมกับผงเก่าของวัดที่ตกทอดมาตั้งแต่ครั้งหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่น ว่ากันว่าหลวงพ่อทองสุขท่านเริ่มสร้างพระตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.๒๔๙๐ กว่า ๆ เรื่อยมาจนถึงปีพ.ศ.๒๕๒๐ กว่า ๆ โดยพระปิดตาที่ท่านสร้างขึ้นนั้นต่างได้รับความนิยมด้วยกันทั้งหมด ยิ่งโดยเฉพาะพิมพ์สะดื่อจุน,พิมพ์ ๒ สะดื่อและพิมพ์ตะพาบ ปิดตายุคแรกปีพ.ศ. ๒๔๙๕ นั้นจัดว่าเป็นพิมพ์นิยมและได้รับความนิยมมากที่สุดซึ่งสนนราคากันที่ ๑๐,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ กว่าบาทแล้วแต่สภาพ พระพิมพ์อื่น ๆ นั้นราคาเช่าหาก็ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับมีตั้งแต่พันปลาย ๆ ไปจนถึงพันกว่าบาทสองพันก็มีครับ แต่พระปิดตาพิมพ์สะดื่อจุ่นนั้นไม่ได้มีการสร้างแค่วาระปี ๙๕ แค่ครั้งเดียวแต่ท่านยังใช้บล็อกเดิมสร้างมาเรื่อย ๆ จนกระทั้งปีพ.ศ. ๒๕๑ กว่า ๆ ถึงปีพ.ศ.๒๕๒๐ ต้น ๆ แต่ก็ยังถือว่ายังเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของหลวงพ่อทองสุข ยิ่งถ้าเนื้อหาจัด ๆ หรือที่เค้าเรียกว่าเนื้อยุคต้นนั้นจะมีราคาแพงกว่าปกติทั่วไปครับ พุทธคุณของพระปิดตาหลวพ่อทองสุขผมถือว่าครบครันน่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านโภคทรัพย์,เมตตามหานิยม,แคล้วคาดปลอดภัยและคงกระพันชาตรีครั
ประวัติหลวงพ่อทองสุขวัดสะพานสูงและวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมที่ท่านสร้าง!!!! ๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อทองสุข และการสร้างวัตถุมงคลของท่าน วันนี้ผมขอเชิญทุกท่านไปเรียนรู้พร้อมกันเลยครับ ประวัติ หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร (พระครูนนทกิจโสภณ) วัดสะพานสูข นนทบุรี หลวงพ่อทองสุขท่านเกิดมื้อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๔ ปีเถาะ ที่บ้านหนองไผ่เหลือง ต.หนองนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรนายคง นางแพ มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คนท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่ออายุ ๑๑ ได้เข้าไปเรียนหนังสือที่วัดอยู่กับอาจารย์จ้อย อาจารย์สาย และอาจารย์นิ่ม วัดหนองหว้า เพชรบุรี จนอายุ ๑๓ ออกจากวัดไปอยู่ราชบุรีกับอาของท่าน แล้วกลับมาอยู่กับโยมพ่อ โยมแม่ ช่วยท่านทำนาหาเลี้ยงชีพที่บ้านเกิด จนอายุครบ ๒๐ ปีจึงถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร กรมทหารราบที่เพชรบุรี ปลดแล้วสมัครเป็นตำรวจภูธรได้ยศสิบตำรวจตรี ประจำอยู่เพชรบุรี ๒ ปีแล้วถูกย้ายไปจังหวัดต่างๆ ทั้งพัทลุง,ชุมพร,ด่านสะเดา สงขลา,จนได้ยศ สิบตำรวจโทก็ถูกย้ายไปนราธิวาส,สตูล,อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี,อ.จตุรัส จ.ชัยภูมิ,จ.สุรินทร์ จนครั้งหลังสุดย้ายกลับมาอยู่ที่ จ.เพชรบุรี บ้านเกิด อยู่ได้เพียงหนึ่งปีก็เกิดเบื่อหน่ายทางโลก จึงลาออกจากอาชีพตำรวจ บวชเมือปี พ.ศ.๒๔๗๐ ที่วัดนาพรม เพชรบุรี มีพระครูพิษ เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชณาย์ พระอาจารย์ผ่องเป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุปเป็นอนุสาวนาจารย์ แต่ไม่ได้จำพรรษาที่วัดนาพรม ไปจำพรรษาที่วัดหนองหว้า แต่ก็อยู้ได้เพียงพรรษาเดียว เพราะมีอาจารย์เพ็ง จากวัดสะพานสูงได้ธุดงค์มาพบกันจนท่านทั้งสองรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอันดี ท่านอาจารย์เพ็งจึงชักชวนกันเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดท่าเกวียน ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำพรรษาอยู่วัดนี้ ๓ พรรษา จึงพากันย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อมาศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระครูโสภณศาสนกิจ (หลวงปู่กลิ่น) เป็นเจ้าอาวาส และอาจารย์เพ็งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม จนปีพ.ศ. ๒๔๗๕ สอบนักธรรมได้พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้นักธรรมโท พอดีวัดสะพานสูงขาดครูสอนพระปริยัติธรรม หลวงปู่กลิ่นจึงมอบหมายหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมให้พระภิกษุสามเณรช่วยกัน หลวงพ่อทองสุขได้เรียนตำราเวทย์ และพระคาถรสำคัญๆต่างๆของวัดสะพานสูง เช่น การลงตะกรุด การทำผง พระปิดตา ทำน้ำมนต์ จากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น จนเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมวาจาจารย์ ปีพ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่กลิ่นมรณะภาพลง ท่านจึงขึ้นรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่หนึ่งปี ปี ๒๔๙๑ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสจากความห็นชอบของคณะสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกาวัดสะพานสูง ๙ พฤษภาคมพ.ศ.๒๕๐๘ จึงได้รับแต่งตั่งเป็นพระอุปัชณาย์ ปกครองวัดด้วยคุณธรรมอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรให้อยู่ในพระธรรมวินัย จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ บั่นปลายของชีวิตท่านต้องรับภาระอย่างหนัก ทั้งประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือจากท่านต่างๆนาๆ ภาระกิจของคณะสงฆ์ และกิจการงานต่างๆของวัดสะพานสูง จน ๒๐ มีนาคมพ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านอาพาธด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ลูกศิษย์ได้นำท่านส่งโรงพยาบาลเพชรเวช จน ๗ เมษายนพ.ศ. ๒๕๒๕ เวลา ๐๘.๐๐ น.ท่านได้มรณะภาพลงด้วยอาการอันสงบ ศิริอายุได้ ๗๙ ปี ๑๙ วัน วัตถุมงคลของหลวงพ่อทองสุขนั้นท่านสร้างไว้มากมายหลายอย่างอาทิเช่นพระปิดตารุ่นต่าง ๆ เหรียญปั๊มและเครื่องรางของขลังประเภทตะกรุด ส่วนวัตถุมงคลที่เรียกว่าได้รับความนิยมมากที่สุดเลยก็คือรูปหล่อโบราณหลวงปู่เอี่ยม,หลวงปู่กลิ่นรุ่นแรกปีพ.ศ. ๒๕๐๐ เหรียญเสมาบล็อคเอื่อมเหรียญหลวงปู่กลิ่นและเหรียญข้าวหลามตัดรุ่นแรกปีพ.ศ. ๒๕๐๗ อีกทั้งเหรียญข้ามหลามตัดและเหรียญเสมาบล็อกต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมทั้งมีประสบการณ์และมีราคาเช่าหากันตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลายแสนบาทนั้นล้วนแล้วแต่สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อทองสุขทั้งสิ้น ส่วนพระปิดตาของท่านนั้นถือว่าเป็นพระที่น่าใช้มาก ๆ ท่านสร้างขึ้นตามตำหรับหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงทุกประการเรียกว่าใช้แทนปิดตาหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่นได้เลย โดยพระปิดตาของท่านจะผสมกับผงเก่าของวัดที่ตกทอดมาตั้งแต่ครั้งหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่น ว่ากันว่าหลวงพ่อทองสุขท่านเริ่มสร้างพระตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.๒๔๙๐ กว่า ๆ เรื่อยมาจนถึงปีพ.ศ.๒๕๒๐ กว่า ๆ โดยพระปิดตาที่ท่านสร้างขึ้นนั้นต่างได้รับความนิยมด้วยกันทั้งหมด ยิ่งโดยเฉพาะพิมพ์สะดื่อจุน,พิมพ์ ๒ สะดื่อและพิมพ์ตะพาบ ปิดตายุคแรกปีพ.ศ. ๒๔๙๕ นั้นจัดว่าเป็นพิมพ์นิยมและได้รับความนิยมมากที่สุดซึ่งสนนราคากันที่ ๑๐,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ กว่าบาทแล้วแต่สภาพ พระพิมพ์อื่น ๆ นั้นราคาเช่าหาก็ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับมีตั้งแต่พันปลาย ๆ ไปจนถึงพันกว่าบาทสองพันก็มีครับ แต่พระปิดตาพิมพ์สะดื่อจุ่นนั้นไม่ได้มีการสร้างแค่วาระปี ๙๕ แค่ครั้งเดียวแต่ท่านยังใช้บล็อกเดิมสร้างมาเรื่อย ๆ จนกระทั้งปีพ.ศ. ๒๕๑ กว่า ๆ ถึงปีพ.ศ.๒๕๒๐ ต้น ๆ แต่ก็ยังถือว่ายังเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของหลวงพ่อทองสุข ยิ่งถ้าเนื้อหาจัด ๆ หรือที่เค้าเรียกว่าเนื้อยุคต้นนั้นจะมีราคาแพงกว่าปกติทั่วไปครับ พุทธคุณของพระปิดตาหลวพ่อทองสุขผมถือว่าครบครันน่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านโภคทรัพย์,เมตตามหานิยม,แคล้วคาดปลอดภัยและคงกระพันชาตรีครับ
ราคา :
 สอบถาม
ร้าน :
โทรศัพท์ :
 0813869027, 0813869027
วันที่ :
 15/10/21 21:54:32
 
 
ปิดตาหลวงพ่อทองสุข พิมพ์ตะพาบใหญ่ พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.