พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

ตะกรุด ครูบาอ้าย ยาวิระ ลำปาง ร้อยปี


ตะกรุด ครูบาอ้าย ยาวิระ ลำปาง ร้อยปี


ตะกรุด ครูบาอ้าย ยาวิระ ลำปาง ร้อยปี


ตะกรุด ครูบาอ้าย ยาวิระ ลำปาง ร้อยปี

ขายแล้ว กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 ตะกรุด ครูบาอ้าย ยาวิระ ลำปาง ร้อยปี
รายละเอียด :
 

ประกอบไปด้วย ตะกรุดใบลานหนึ่งดอก ตะกรุดทองแดงหนึ่งดอก ตะกรุดตะกั่วอีกหนึ่งดอก ตะกรุดดอกใหญ่เป็นใบลาน ลองคลี่เปิดเชือกดูปรากฎอักขระล้านนาดั่งที่เห็นในภาพ สำหรับตะกรุดทองแดงนั้นวรรณะสีน้ำตาลเข้มมะขามเปียก ความเก่าจวนจะเป็นสัมฤทธิ์ไปแล้ว ส่วนตะกรุดตะกั่ว อายุไม่น้อยเฉียดร้อยปีแน่นอน เก่าพอๆกับตะกั่วในยุคที่หลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่าใช้สร้างตะกรุดจันทร์เพ็ญอันลือลั่น (หลวงปู่ศุข มรณภาพปี พ.ศ.2466) ลักษณะเป็นตะกั่วทุบ คือความหนาของแผ่นตะกั่วไม่สม่ำเสมอ ยิ่งส่องยิ่งเก่า ยิ่งเข้ากล้อง ยิ่งมันส์ ยิ่งซึ้งตา การเขียนใบลานก็ไม่ได้ง่าย มีขั้นตอนและขบวนการที่ซับซ้อน พอจะสรุปคร่าวๆได้ว่า การเขียนใบลานแบ่งออกเป็นสองวิธี 1. “เส้นจาร” คือ การจารด้วยเหล็กจาร 2. “เส้นชุบ” คือการใช้ขนสัตว์หรือพู่กันแทนปากกาไปจุ่มสีแล้วก็เขียนลงบนใบลาน วิธีที่สองนี้ทางร้านไม่ขอลงรายละเอียดมากมาย เพราะตะกรุดดอกในภาพเป็นตะกรุดใบลานที่จารด้วยเหล็กจาร ///// ทางร้านจะขอลงรายละเอียดวิธีการจารใบลาน การจารใบลานมีกรรมวิธีพิเศษ คือ ขั้นแรกต้องตีเส้นบรรทัดก่อน การตีเส้นบรรทัดบนใบลาน ใช้เส้นด้ายเหนียวขึงตึงกับกรอบไม้ มีขนาดกว้างยาวมากกว่าหน้าใบลานเล็กน้อย ใบลานหน้าหนึ่งๆ จะกำหนดให้มีจำนวนบรรทัดเท่าไร ต้องขึงเส้นด้ายให้มีจำนวนเท่ากับบรรทัด ที่ต้องการเท่านั้น โดยทั่วไปลานหน้าหนึ่งๆ มีจำนวนบรรทัดระหว่าง ๔ - ๙ บรรทัด แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ ๕ บรรทัด เมื่อจะตีเส้นบรรทัด ต้องใช้ลูกประคบชุบดินหม้อหรือเขม่าไฟที่บดละเอียดผสมน้ำ ลูบที่เส้นด้าย ซึ่งใช้เป็นบรรทัดให้ทั่ว วางกรอบเชือกบรรทัดบนใบลาน พร้อมทั้งกำหนดระยะ ให้ได้ขนาดเหมาะสมกับหน้าลาน ดึงเชือกที่ขึงตึงขึ้น แล้วปล่อยให้เชือกดีดลงบนหน้าลาน ทำเช่นนี้จนกว่าจะครบจำนวนบรรทัด เมื่อยกเครื่องมือตีเส้นบรรทัดออก ก็จะได้เส้นบรรทัดสีดำปรากฏบนหน้าลานตามต้องการ จากนั้นใช้เหล็กแหลมที่เรียก “เหล็กจาร” ขีดเป็นร่องรอยตัวหนังสือบนใบลาน หลังจากเขียนตัวอักษรเสร็จแล้ว ก็ใช้น้ำมันยางทาที่หน้าลาน น้ำมันยางทำจากเขม่าผสมกับยางไม้ทาหน้าใบลานให้ดำทั้งหมด จากนั้นใช้ทรายละเอียดตากแดดหรือคั่วให้ร้อนมาโรย แล้วขัดด้วยลูกประคบ เพื่อให้ความร้อนจากทรายทำให้น้ำมันยางจมลงในร่องตัวอักษร ขณะเดียวกันความหยาบของทรายก็ขัดพวกเสี้ยนของใบลานออกไปจนเกลี้ยง ก็จะทำให้เนียนมือ จะเห็นได้ว่า การจารอักษรบนใบลานต้องใช้ความมานะพยายามอย่างสูง แสดงถึงความตั้งใจและเจตนาของผู้สร้างเสก สำหรับประวัติสั้นๆของครูบาอ้ายนั้น ท่านเป็นเกจิยุคเก่า วัดปากกอง ต.นาโป่ง อ.เถิน จ.ลำปาง ชาตะปีพ.ศ.2411 มรณะภาพปี พ.ศ. 2489 สิริอายุได้ 79 ปี ท่านครูบาอ้าย บ้างก็เรียกครูบาเฒ่า ครูบาเจ้าผู้ทรงเวทย์มนตร์คาถาอาคมจนได้รับเป็นราชครูต้นตำหรับเเห่งคาถาอาคม เป็นอาจารย์ของเกจิดังๆหลายท่านในเมืองเถิน อาทิครูบาชุ่มวัดน้ำโท้ง ครูบาเจ้าสีมาวัดนาโป่ง ครูบามีวัดนาเบี้ย ครูบาอุปประ ครูบาวัดสองเเคว ครูบาปวนห้วยขี้นก ครูบาหมาวัดห้วยเเก้ว ครูบาก้อนวัดเเม่พริก ครูบาติ๊บอุบาลีวัดหัวฝายสุโขทัยเเละฆาราสที่ดังๆอีกหลายท่าน วิชารักษาคน ตัดพรายต่างๆ เเละสุดยอดเเห่งวิชาข่ามคงเจ้าตำราวิชาเสือต่างๆเเละยักษ์กุมภัณฑ์ศาสตร์อาคมเเห่งขุนเขาหัวเมืองเถินชั้นนอกเมืองประตูสู่เมืองลี้ ครูบาเกิดปี จุลศักราช 1230 ตรงกับปี พศ.2411  มรณะปี2489 เพลิงศพปี2492 ขณะทำถนนเชื่อมต่อเถิน_ลี้พอดี กรมทางหลวงร่วมจัดพิธีเพลิงศพอย่างอลังการ ***เครื่องรางอันที่เป็นอมตะยากที่จะได้ครอบครองคือ ตระกรุดอุดดินขลุยปู เด่นในเรื่องกำบังกายกันภัยโดยเน้นเฉพาะปืน เเจกเฉพาะคนที่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารช่วงสงครามโลกเเละคนที่เป็นเสือเท่านั้นจึงจะได้ ตระกรุดโทนเนื้อทองฝาบาตรทำเเจกในช่วงสงครามโลก มหาอุตม์หยุดกระสุนโดยตรง มีดยังเเทงไม่เข้า กะลาเเกะพระราหูฝาเดียว หนึ่งเดียวในล้านนา เนื่องจากบ่อน้ำที่หน้าวัดมีต้นมะพร้าวอยุ่ต้นหนึ่งจะออกผลมาเป็นมะพร้าวที่มีลูกเป็นกะลาตาเดียวทั้งต้น จึงมีกะลาตาแกะพระราหูพอสมควร ราหูมีช่องทางนำไปใช้ได้มากมายหนุนดวงชะตาตกได้เป็นเลิศ  เเละยังมีผ้ายันต์เสื้อยันต์ที่ครูบาเจ้าได้ทำไว้อีกมากมาย วันปีใหม่เมือง(วันพญาวัน)ล้านนา จะมีผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธามาวัดจำนวนมากเพื่อจะมาเอาเครื่องรางที่ครูบาเจ้าทำในวันนั้น มีการเสกพริกเม็ดเล็ก หรือภาษาเหนือ(พริกน้อย)กินเเละลองวิชากันที่ลานวัด ยังมีผู้ที่เห็นเหตุการณ์กันไม่มาก ปัจจุบันเครื่องรางเเละเรื่องเล่าเเทบเป็นตำนานไปเเล้ว ถ้าหากไม่ถูกสืบค้นขึ้นมา  ตอนที่ครูบาเจ้าศีลธรรม(ครูบาเจ้าศรีวิชัย)มาบูรณะวัดดอยป่าตาล(ม่อนวัวนอน) จะต้องผ่านวัดปากกองก่อนเข้าสู่เมืองเถิน ซึ่งปากกอง ความหมายคือ “ปาก” (กอง ภาษาเหนือ) ภาษากลางแปลว่า “ทาง” ซึ่งหมายความว่า “ปากทางสู่เมืองเถิน” ที่พอจะทราบได้ก็คือ ครูบาเจ้าศรีวิชัยชาตะปี พ.ศ.2421 ดังนั้นครูบาอ้ายจึงมีชันษามากกว่าครูบาศรีวิชัยถึงสิบปี เป็นไปได้ว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องผ่านวัดปากกองมากราบครูบาเจ้าอ้ายก่อนที่จะไปวัดม่อนวัวนอน ซึ่งประวัตินี้ก็ยังไม่ชัดเจน เกจิอาจารย์รุ่นเก่าเมื่อถามถึงครูบาเจ้าอ้ายวัดปากกองต่างก็บอกว่า ครูบาเจ้าท่านสุดยอดเเล้วต๋นเก๊า (ต้นตำรับ) ตำราคาถาอาคมเลยเเหละ คาถาประจำตัวครูบาที่จารลงเครื่องรางต่างๆคือ สะ มะ นิ ทุ  คือพระคาถาหัวใจอริยสัจ สุดยอดเเห่วงมวลคาถาทั้งปวงครับ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0835785613 /// LINE = son_of_venus

ราคา :
 โทรถาม
ร้าน :
โทรศัพท์ :
 0835785613, 0835785613
วันที่ :
 29/05/20 22:52:10
 
 
ตะกรุด ครูบาอ้าย ยาวิระ ลำปาง ร้อยปี พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.