พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

ตะกรุดยันต์ดาบสรี๋กัญชัยครูบาขันแก้ว


ตะกรุดยันต์ดาบสรี๋กัญชัยครูบาขันแก้ว


ตะกรุดยันต์ดาบสรี๋กัญชัยครูบาขันแก้ว


ตะกรุดยันต์ดาบสรี๋กัญชัยครูบาขันแก้ว

ขายแล้ว กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 ตะกรุดยันต์ดาบสรี๋กัญชัยครูบาขันแก้ว
รายละเอียด :
 

สมญานามอาวุธพระโพธิสัตว์ ตะกรุดยันต์ดาบสหลีกัญไชย พญายันต์แห่งล้านนา ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง จ.ลำพูน 

เรื่องราวความเป็นมาของ "ยันต์ดาบสหลีกัญชัย" จากบันทึกของ "คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก" ในหนังสือ "อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุดมขันติธรรม(ครูบาขันแก้ว)" ยันต์ดาบสหลีกัญชัย ที่หลวงปู่ครูบาขันแก้ว ได้ใช้ลงเป็นตะกรุดนั้น มีความเป็นมาดังนี้...

ในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย(ครูบาศีลธรรม) ได้ไปเข้านิโรธสมาบัติที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งอยู่ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ครูบาศรีวิชัยไปได้ตำรามาจากถ้ำเทวดา ซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ อยู่ภายในถ้ำเชียงดาวเป็นสูตรยันต์ที่ใช้ลง "มีดพระขรรค์ไชยศรีของพ่อขุนผาเมืองและลงดาบสหลีกัญชัย" ครูบาศรีวิชัยมิได้ "ตัวพระขรรค์ไชยศรีหรือดาบสหลีกัญชัย" มาแต่ได้ตำรายันต์ที่ใช้ลงดาบหรือพระขรรค์มา และก็ได้เกิดร่ำลือกันว่าท่านไปได้ดาบวิเศษสหลีกัญชัยมา ซึ่งเป็นของวิเศษคู่บ้านคู่เมืองและไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามราชประเพณี จึงเป็นอีกข้อหาหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยถูกอธิกรณ์ฟ้องจากคณะสงฆ์ของจังหวัดลำพูน

ต่อมา.., ท่านได้ให้ตำรายันต์นี้ไว้กับ "หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย" โดยที่ครูบาศรีวิชัยและครูบาชุ่มก็มิได้สร้างทั้งตะกรุดและดาบสหลีกัญชัยไว้ เหตุที่ยันต์ดาบสหลีกัญชัยมาตกอยู่ที่ภาคเหนือ ก็เพราะพ่อขุนผาเมืองได้มอบตำราและพระเวทย์ที่ใช้กับพระขรรค์ไชยศรีให้ไว้กับพ่อขุนเม็งราย ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน จึงได้ตกมาอยู่ที่เมืองเหนือ จนถึงสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เดินธุดงค์ไปที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งใครเป็นผู้นำมาเก็บซ่อนก็ไม่อาจจะรู้ได้ และในภายหลังครูบาศรีวิชัย จึงได้มอบยันต์ที่ใช้ลงดาบสหลีกัญชัยและพระเวทย์ที่ใช้กำกับดาบสหลีกัญชัยไว้กับหลวงปู่ครูบาชุ่มวัดวังมุยและหลวงปู่ครูบาชุ่มก็ได้มอบ "ตำรายันต์ลงดาบสหลีกัญชัย , พระเวทย์ที่เสกดาบ , ตำราทำตะกรุดลูกหนังควายเผือกตายในท้องแม่ และตำราลงยันต์นากคอคำ ๓ ชุด" ให้กับหลวงปู่ขันแก้วสหายรับไว้ โดยบอกว่า... ""เป็นหน้าที่ของเปิ้น(ของหลวงปู่ขันแก้ว) ที่จะต้องทำตะกรุดและดาบสหลีกัญชัยและมีดพระขรรค์สหลีกัญชัย"" ในระยะปีแรก หลวงปู่ขันแก้วจะลงเฉพาะในแผ่นตะกรุดเท่านั้น

ส่วนมีดดาบและพระขรรค์ ท่านได้ทำในภายหลังประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๓ ในวันเสาร์ ๕ ที่ ๒ เมษายน ๒๕๒๖ หลวงปู่ครูบาขันแก้วได้กล่าวถึงยันต์ดาบสหรีกัญชัยไว้ว่า... ""ยันต์ดาบสหลีกัญชัยนี้เป็นพญายันต์"" และห้ามนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือนำไปยัดใส่ไว้ในตะกรุดอื่นๆ (คือมีผู้จะเอาไปใส่ไว้ในตะกรุดลูกหนังควายเผือก) ""ยันต์ดาบสหลีกัญชัย"" มีอำนาจให้คนเกรงกลัว เกรงขาม มีทั้งความคงกระพัน แคล้วคลาด กันพวกข่าม คุณไสยต่างๆ มีอยู่กับตัวหรือเก็บไว้ในบ้านเรือนก็เป็นสิริมงคลด้วย พุทธคุณแห่งยันต์ดาบสรีกัญชัยด้ามแก้ว นี้เป็นของสูงค่าประมาณมิได้ ท่านว่าถ้าลงไว้ที่ดาบหรือพระขรรค์จักเป็นตัวแทนแห่ง ""อาวุธของพระพุทธเจ้า"" จะเข้ารบสงครามใดก็จะชนะไม่ว่าผู้นั้นจะมีคาถาอาคมที่หนังเหนียวสักเพียงใด ก็ง่ายเหมือนฟันหยวกกล้วยอ่อน ผู้ที่มีอำนาจจิตที่สูง(กับคาถาบางบท) สามารถทำการประหารศัตรูที่อยู่ห่างไกลสักเพียงใดก็ตาม ก็ตายได้ในพริบตา ประหนึ่งเหมือนอยู่ตรงหน้า และผู้ใดได้ครอบครองพระยันต์หรือตะกรุดลูกนี้และทำการบูชาด้วยความเคารพนอบน้อมขึ้นชื่อว่าเป็นผู้บุญหนักศักดิ์ใหญ่ ผู้ที่บูชาพระยันต์ดาบสรีกัญชัยนี้ทุกวันแล้วไซร้จักทำให้ครอบครัวเป็นสุข ภูตผีใดไม่กล้ากล้ำกลาย เดินทางไปไหนผู้คนเคารพยำเกรง คนที่คิดร้ายแก่เราจักแพ้ภัยตนเอง เป็นสง่าราศีแก่คนทั้งหลาย เป็นที่รักและเคารพทั้งมนุษย์และเทวดา ทำการใดๆ จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ป้องกันคุณไสย คุณผี คุณคนทั้ง 1000 ภาษา อยู่ที่ใดจักจำเริญที่นั่น ที่ใดตกต้องอาถรรพ์ก็ให้ทำน้ำพระพุทธมนต์รดที่นั้น อาถรรพ์ต่างๆ ก็มลายหายสิ้นไป...

"" ยันต์ดาบสหลีกัญชัยด้ามแก้วนี้พุทธคุณเป็นประจักมีมานานสืบทอดมาแต่โบราณอานุภาพมากใช้ได้ 1000 ช่องสุดแล้วแต่จะอธิษฐานใช้ ""

ขอบคุณเครดิตข้อมูล : "ยันต์ดาบสหรีกัญชัย" จากบันทึกของ "คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก" ในหนังสือ "อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุดมขันติธรรม(ครูบาขันแก้ว)" ร้านอักษรธรรม  และผู้เรียบเรียงทุกๆท่านด้วย ณ ที่นี้ด้วยครับ 

ราคา :
 โทรถาม
ร้าน :
โทรศัพท์ :
 0631949195, 0987474559
วันที่ :
 9/09/19 12:01:16
 
 
ตะกรุดยันต์ดาบสรี๋กัญชัยครูบาขันแก้ว พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.