พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

ตะกรุดเงิน ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว


ตะกรุดเงิน ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว


ตะกรุดเงิน ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว


ตะกรุดเงิน ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว

โชว์ กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 ตะกรุดเงิน ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว
รายละเอียด :
 

ยาว 1 นิ้วขนาดโตกว่ามวนบุหรี่นิดหน่อย ดอกนี้ผ่านการคลี่เพื่อดูอักขระเลขยันต์มาแล้ว ด้านในส่วนที่ไม่ได้สัมผัสวรรณะของเนื้อเงินจะแลดูใส แตกต่างจากเนื้อโลหะด้านนอกที่สีกลับดำ ยันต์ด้านจารในเป็นอักษรล้านนาแบ่งเป็นสามช่อง ซ้าย กลาง และขวา ถอดอักขระเป็นคำอ่านได้ดังนี้  

ช่องซ้าย สิ ริ กิ ณะ 

ช่องกลางแถวที่หนึ่ง กิ ระ โต๋ พา สะ ปา ต๊ะ ทัต วะ ยัง 

ช่องกลางแถวที่สอง ทิ มา นัง มา ระ มัน ตัง วิ ทะ สัต ตัง 

ช่องกลางแถวที่สาม นิ เก ตัง เก ตุ เม กัง 

ช่องกลางแถวที่สี่ กะ รัก ฆัง โล กะ ณา ถัง 

ช่องขวา ติ โร เก๋ นะ มา มิ หัง 

พระคาถานี้เป็นพระคาถาบทที่ ๑๓ ชื่อว่า “สรีธชวิชวฑฺฒน เตรสมคาถา” (จากจำนวนพระคาถา ๑๔ บท ของพระคาถาปโชตา)

ระบุไว้ว่า “สิริกิระณะ กิระโฐ ภาสะปาทะทวะอัคคัง   สิริกิระณะภิมานัง มาระมันตังวิธิสะตัง สิริกิระณะนิเกตัง เกตุเมกัญจะ ติโลเก สิริกิระณะกะรัคคังโลกะนาถัง นะมามิหัง”

ถอดความจากเข้าโครงภาษาล้านนาดั้งเดิมได้ว่า “มหาปุสสเทพพหมื่นสารทือแล วุฒินัก พระญาหลวงแสนตะยาย(เมือง)หังสาทือ ดีนักแล เปนที่รักจำเริญใจ แก่ฅนทั้งหลาย แลชนะข้าเสิ้กสัตรู จำเริญด้วย เตชะ ยส ข้าวของสัมปัตติทังมวลแล ฯ” ปโชตาคาถามักจะสวดควบคู่กับพระคาถาชินบัญชร หากพระคาถาชินบัญชรเปรียบเหมือนเกราะเพชร ปโชตาคาถาก็คงเปรียบเสมือนหนึ่งสังวาลย์เพชรที่คอยคุ้มครองป้องกันภัยให้กับผู้ที่เจริญภาวนา ตามประวัติของพระคาถาบทนี้เกิดขึ้นที่เมืองลังกา พระอรหันต์รูปหนึ่งได้ผูกอักขระเป็นบทสวดเอาไว้ให้พระมหากษัตริย์ได้ภาวนาเพื่อให้เกิดสวัสดิผลต่อตนเองและบ้านเมือง พระคาถานี้ก็ได้รับการถ่ายทอดและเผยแพร่เรื่อยมา ปรากฎอยู่ในปั๊บสา(หนังสือใบลานโบราณ)ล้านนาโดยทั่วไป ตามตำนานกล่าวว่ารัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช จักรพรรดิผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ.1952 - 2030) ทรงหมั่นเจริญภาวนาพระคาถาปโชตาทั้ง ๑๔ บท ซึ่งรัชสมัยของพระองค์ปรากฎว่าบ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากข้าศึกศัตรู บารมีแผ่ไพศาล ทรงโปรดให้มีการจารึกเป็นตัวอักษรล้านนา ท้ายที่สุดแล้วครูบาเตชะ วัดหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูนก็ได้แปลงพระคาถาปโชตาเป็นอักษรไทยจากศิลาจารึกวัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ / / /  ครูบาสม ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านอักขระเลขยันต์ ท่านอาจจะได้รับการถ่ายทอดพระคาถาปโชตามาจากพระอาจารย์รูปใดรูปหนึ่งของท่าน แต่ก็เป็นไปได้สูงที่ว่า ท่านได้ศึกษาตำราพระคาถานี้จากวัดสวนดอก เพราะช่วงชีวิตหนึ่งสมัยที่ท่านดำรงขันธ์อยู่นั้น ก่อนที่คณะศรัทธาจะนิมนต์ท่านมาเป็นสมภารวัดศาลาโป่งกว๋าว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ท่านเคยรับใช้ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัย ให้ความช่วยเหลืองานต่างๆ บูรณะปฏิสังขรวัดสวนดอก และศิลาที่จารึกพระคาถาปโชตาก็อยู่ที่วัดสวนดอก จึงพอจะอนุมานได้ว่าท่านได้ร่ำเรียนปโชาตาคาถา และตำราอักขระเลขยันต์โบราณล้านนาจากวัดสวนดอกมาไม่น้อยเลยทีเดียว /// กลับมาที่ตะกรุดดอกในภาพ ความเป็นมาก็คือ ทางร้านได้เครื่องรางชิ้นนี้จากพื้นที่วัดศาลาโป่งกว๋าว วัตถุมงคลที่ได้ล้วนแล้วแต่เป็นของครูบาสม โอภาโส ทั้งรูปถ่าย ตะกรุด แม้กระทั่งฟันของครูบาสม ปรากฎว่ามีตะกรุดดอกในภาพปะปนอยู่ด้วย หนำซ้ำยังเป็นเนื้อเงินอีกต่างหาก ทางร้านจึงบังเกิดความสงสัย จึงได้ขอสมาลาโทษตะกรุดดอกนี้(ก่อนที่จะคลี่ตะกรุด ทางร้านไม่รู้ว่าเป็นตะกรุดของสำนักใด จึงกล่าวสมาโดยที่ไม่ได้ระบุนามกรของผู้สร้างเสก) เพื่อคลี่ดูอักขระเลขยันต์ ทางร้านได้เปรียบเทียบลายมือกับแผ่นยันต์ฟ้าฟีกของท่านครูบาสมที่เจ้าของร้านคล้องคออยู่(มรดกของพ่อเจ้าของร้านเอง) และเปรียบเทียบลายมือจากหลายแหล่งข้อมูล สรุปได้อย่างมั่นใจว่า อักขระเลขยันต์ที่อยู่ในตะกรุดเงินดอกนี้ เป็นลายมือของท่านครูบาสม โอภาโส ที่กระผมเคารพรัก ทางร้านตั้งใจที่จะไม่บีบอัดไฟล์ภาพ เพื่อให้ท่านผู้ที่ศรัทธาในตัวท่านครูบาสม ได้เสพข้อมูล ได้อ่าน ได้ศึกษาลายมืออย่างเต็มที่ หากท่านใดยังจับจุดเรื่องลายมือไม่ได้ ขอให้ท่านค่อยๆหมั่นดู หมั่นศึกษา เปรียบเทียบกับลายมือบนแผ่นยันต์ฟ้าฟีก ท่านก็จะได้ข้อสรุปด้วยตัวของท่านเอง หรือโทรมาสอบถามรายละเอียดกับทางร้าน เผื่อว่าจะได้เป็นแนวทางในการศึกษาร่วมกัน ทางร้านนิลพัทน่าจะเป็นร้านแรกของเวปนี้ ที่นำเอาลายมือครูบาสม โอภาโส ยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา ตะกรุดดอกนี้ทางร้านใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลนานมาก และกลั่นกรองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจนที่สุด ตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และเผยแพร่ปฎิปทาของครูบาสม โอภาโสครับ

 
ราคา :
 โชว์
ร้าน :
โทรศัพท์ :
 0835785613, 0835785613
วันที่ :
 7/07/19 23:41:40
 
 
ตะกรุดเงิน ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.