พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

อีกหนึ่งสุดยอดตำนาน... “ ปะกำช้าง ” ..


อีกหนึ่งสุดยอดตำนาน... “ ปะกำช้าง ” ..


อีกหนึ่งสุดยอดตำนาน... “ ปะกำช้าง ” ..


อีกหนึ่งสุดยอดตำนาน... “ ปะกำช้าง ” ..

ขายแล้ว กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 อีกหนึ่งสุดยอดตำนาน... “ ปะกำช้าง ” ..
รายละเอียด :
 

ปะกำช้างเส้นนี้ทำจากหนังควาย ถ้าคลี่ออกมาก็ยาวประมาณเมตรกว่าๆ แต่คลี่ไม่ออก เพราะแข็งมาก อันเนื่องมาจากความเก่า จากประสบการณ์ที่เล่นเครื่องรางมา ประมาณอายุของปะกำเส้นนี้ได้เลยว่าเกินร้อยปีครับ เดิมทีคงเป็นปะกำที่ใช้งานได้จริง แต่เป็นเพราะเหตุใดไม่ทราบจึงถูกตัดแบ่งมาแค่เมตรกว่าๆ(ทั้งๆที่ปะกำควรมีความยาวประมาณสี่ห้าสิบเมตร) ทว่าเป็นรอยตัดแบ่งเก่ามาแต่เดิม เพราะสีของหนังบริเวณหน้าตัดเป็นสีเดียวกันกับผิวนอก หลายๆท่านโดยเฉพาะคนสมัยนี้คงไม่รู้จักปะกำช้าง+++ปะกำช้างคือ เชือกบ่วงบาศที่ใช้คล้องช้าง วัสดุทำช้างหนังควาย อาจเป็นหวายเถาวัลย์ หรือเชือกดิบต่างๆนำมาฝั้นขึ้นเกลียวให้มีความยาวหลายสิบเมตร เจตนาก็เพื่อเอาไว้คล้องขาหน้า หรือขาหลังของช้าง ...กว่าจะได้ปะกำช้างมาแต่ละเส้นมีวิธีการที่ซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เพราะต้องหาวัสดุที่แข็งแรงทนต่อแรงเสียดสีอันเนื่องมาจากการฉุดกระชากระหว่างคนกับช้าง ...เท่านั้นยังไม่พอ ปะกำช้างต้องผ่านพิธีกรรมทางคชศาสตร์และไสยศาสตร์ ให้หมอช้างลงอาคมไปที่ปะกำ และอัญเชิญบารมีของครูผู้ล่วงลับมาโปรดดลบันดาลให้ปะกำมีความศักดิ์สิทธิ์ ก่อนจะคล้องช้างก็จะต้องมีพิธีกรรมอีกหลายขั้นหลายตอน เมื่อพิธีคล้องช้างเสร็จสิ้นก็จะมีสถานที่ที่ใช้เก็บปะกำช้างไว้อย่างเป็นสัดส่วน คล้ายๆกับศาลขนาดใหญ่ ภายในศาลก็จะมีปะกำช้างวางไว้ หรืออาจแขวนไว้ (ทำนองเดียวกับที่เก็บหัวโขน) สถานที่นั้นถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่ที่ใช้บูชาครู ซึ่งทุกๆปีต้องมีการบวงสรวงใหญ่ ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต้องทำ เพราะศาสตร์ทุกศาตร์ย่อมมีครู ไม่ว่าจะเป็น ครูมวย ครูสักยันต์ ครูโขน ครูมีด ครูหมอ ไม่เว้นแม้กระทั่ง “ครูช้าง” .. ตามความเชื่อของไทยไม่ว่าจะเป็น “ครู” ในแขนงหรือศาสตร์ใดก็ตาม ห้ามลบหลู่โดยเด็ดขาด ต้องรักษาจารีตและแนวทางปฏิบัติไว้ให้ดี หากนอกลู่นอกทาง หรือทำผิด เรียก “ผิดครู” เป็นอันต้อง “เจอดี” กันทุกราย บางรายถึงกับเป็นบ้า บางรายถึงขั้นมีอันเป็นไป เพราะศาสตร์แต่ละแขนงแฝงไว้ด้วยอาถรรพ์และความเชื่อ ... “ปะกำช้าง” จึงถือเป็นของขลังประเภทหนึ่งที่น้อยคนจะรู้จัก อุปเทห์การใช้คือเอาไว้พกติดตัว พวกชอบเดินป่า พรานป่า มักจะพกติดตัวไว้ เพราะปะกำช้างสามารถกันคุณไสยฯ กันผี เสนีดจัญไร สัตว์ร้ายน้อยใหญ่ไม่กล้าทำอันตราย นอกจากนี้ยังให้ผลทางเสน่ห์ เมตตา ค้าขาย คล้ายกับบ่วงบาศที่เอาไว้จับเงินจับทอง จับคนที่หมายปอง ผูกจิตผูกใจไว้ไม่ให้ไปที่อื่น บางตำรายังกล่าวไว้อีกว่าหากมีปะกำช้างช้างแล้วจะรอดจากคุกจากตาราง เพราะตามความเชื่อที่ว่า ในเมื่อเรามีปะกำช้างไว้ครอบครองแล้ว ย่อมมีอำนาจที่จะไปคล้องหรือไปผูกกับสิ่งอื่น ไม่ใช่มีไว้ให้สิ่งอื่นมาคล้องมาผูกเราให้ติดบ่วง ...ครับ อิทธิคุณของปะกำช้างใช้ได้ทุกทาง ทุกวันนี้ปะกำช้างแทบไม่มีให้เห็น เพราะไม่มีพิธีคล้องช้างอีกแล้ว จึงไม่มีการทำปะกำ วิชาการสร้างเสกปะกำนับวันจะยิ่งเลือนลางจางหาย อย่างไรก็ตามยังมีพิธีไว้ครูช้าง และบวงสรวงปะกำเป็นประจำทุกปี ซึ่งศูนย์อนุรักษ์ช้าง หรือแคมป์ช้างต่างๆมักจะทำกัน และยึดถือแนวปฏิบัติการบูชาครูมาโดยตลอด ...อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าปะกำช้างมีอิทธิคุณเหลือคณา ประกอบกับความหายาก และเป็นที่ต้องการของผู้ที่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของปะกำช้าง โดยมากไม่ค่อยมีการซื้อขายปะกำช้าง เพราะถือเป็นของอาถรรพ์ประจำตัวควาญช้าง เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนครูผู้ล่วงลับ ทว่าหากมีการซื้อขายกันเกินขึ้นจริงๆ ปะกำช้างจะมีราคาที่สูงมาก ขนาดประมาณนิ้วชี้ก็ซื้อขายกันในราคาห้าหกพัน(จะตัดแบ่งขาย) ยากที่จะเห็นปะกำช้างเส้นยาวๆดั่งเช่นปะกำช้างในภาพ หนำซ้ำยังมีความเก่าอีกต่างหาก เก่าจนเส้นปะกำแข็ง คลี่ไม่ออกเลย นับเป็นของหายาก ชินนี้เป็นของมรดก อันที่จริงไม่มีบรรพบุรุษของกระผมคนใดเป็นหมอช้าง แต่คุณปู่ทวดได้มาอย่างไรนั้นก็ยากเกินกว่าจะคาดเดา อันที่จริงมีกรามช้างอีกอันนึง แต่หายไปนานแล้ว ปะกำเส้นนี้ผมเห็นตั้งแต่เด็ก แขวนไว้บนเสาบ้าน พอถามพ่อ พ่อก็บอก “ไส้ช้าง” เอ่อไอ่เราก็งง ทำไมเอาไส้ช้างไปแขวนไว้บนเสาบ้าน พ่อก็เล่าต่อว่าเห็นมาตั้งแต่เกิดเหมือนกัน เป็นของปู่ของพ่ออีกทีนึง แขวนไว้เสาบ้านเพื่อกันผี กันคุณไสย ลมเพลมพัด...กระผมก็เก็บความสงสัยไว้นานโข จนกระทั่งเริ่มศึกษาเครื่องรางจึงรู้ว่าสิ่งที่พ่อเข้าใจว่าเป็น “ไส้ช้าง” อันที่จริงแล้วสิ่งนั้นคือ “ปะกำช้าง” ...เครื่องรางชิ้นนี้นับว่าเป็นชิ้นเอก เป็นเครื่องรางที่มีอาถรรพ์ และแฝงไว้ด้วยวัฒนธรรม ความเคารพต่อครูผู้ล่วงลับ ความศรัทธา ...หมอช้าง ครูช้างทุกคนรู้ดี ใครมีต่างห่วงแหน ขนาดผงที่เกิดจากการเลื่อยตัดแบ่งยังเก็บไว้ 

ราคา :
 
ร้าน :
โทรศัพท์ :
 0954509615, 0954509615
วันที่ :
 11/04/18 21:37:59
 
 
อีกหนึ่งสุดยอดตำนาน... “ ปะกำช้าง ” .. พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.