พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

เหรียญสมเด็จพระนเรศวร ปี ๑๒


เหรียญสมเด็จพระนเรศวร ปี ๑๒


เหรียญสมเด็จพระนเรศวร ปี ๑๒

โชว์ กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 เหรียญสมเด็จพระนเรศวร ปี ๑๒
รายละเอียด :
 

เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เป็นเนื้อโลหะทองแดงรมดำ รูปกลมขนาดเท่าเหรียญสิบบาทปัจจุบัน(หรือเท่ากับเหรียญบาทในอดีต) ด้านหน้า เป็นรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้านหลัง เป็นรูปสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ที่จัดสร้าง ณ บ้านเมืองงาย ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีอักษรพื้นเมืองเหนือมีข้อความว่า "สร้างเทอดพระเกียรติเป็นอนุสรณ์คราวเสด็จฯประทับเมืองงาย พ.ศ.๒๑๔๘" จำนวนที่สร้างประมาณ ๕๐,๐๐๐ เหรียญ (ภายหลังได้สร้างเพิ่มอีกเป็นจำนวนถึง ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญ) โดยออกให้บูชาในขณะนั้น เมื่อปี ๑๒  เหรียญละ ๕ บาท (มีสองแบบ คือ ผิวไฟ และ รมดำ)

พระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสกแผ่นโลหะ ทั่วประเทศ มีดังนี้เป็นอาทิ เช่น

สมเด็จพระสังฆราช ขณะนั้น คือ สมเด็จพระสังฆราชวัดมกุฎฯ, สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ, หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี พัทลุง, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, หลวงพ่อทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ, พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดา, พระอาจารย์ไสว สุมโน, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู, ครูบาวัง วัดบ้านเด่น, หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย, หลวงพ่อเมืองวัดท่าแหน, พระอาจารย์บุญสม วัดห่วงข่วง, พระครูวรเดวิธาน วัดศรีบุญโยง, เจ้าคณะจังหวัดลำปางขณะนั้น, พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญไชย, พระธรรมราชานุวัตร วัดพระสิงห์, พระราชสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ, พระราชสารสุธี วัดเจดีย์หลวง, พระอาจารย์ทอง วัดเมืองมาง, หลวงพ่อไผ วัดพันอ้น, ครูบาวัดหม้อคำตวง, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, ครูบาอินถา วัดเชียงมั่น, พระอาจารย์สิงห์คำ วัดล่ามช้าง, หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสะต๋อย, พระใบฏีกาสนิท วัดล่ามฆ้อง, พระอาจารย์อินถา วัดดอกเอื้อง, ครูบาวัดฟ้าฮ่าม, พระครูสุกันทศีล วัดสวนดอก, พระอาจารย์ตวง วัดสันป่าตองหลวง, พระครูสังฆการักษ์กาวงศ์ วัดป่าดาราภิรมย์, พระอาจารย์สิงห์คำ วัดบ้านปิง, พระอาจารย์ปั้น วัดแม่หยวก, พระครูพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า

รายนามพระเกจิอาจารย์ประกอบพิธีพุทธาภิเษก

(จำเป็นต้องพิมพ์ต่อเนื่องเพราะพื้นที่เวปมีจำกัด-ผู้เขียน)

มีดังนี้ หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี, หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร, พระครูปลัดสงัด คณิสสดร วัดพระเชตุพน, หลวงพ่อก๊ก วัดดอนขมิ้น, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ, หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ, หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตรา, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, หลววพ่อนำ วัดดอนศาลา, หลวงพ่อเล็ก วัดดินแดง, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู, หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ, หลวงพ่อทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพศักดิ์, หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง, หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง, หลวงพ่อจ้อน วัดเจ็ดริ้ว, พระครูวิบูลย์เมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์, พระอาจารย์สมคิด วัดรังโฆษิตาราม, พระราชมุนี วัดปทุมวนาราม, พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม, พระครูพุทธิวัฒน์ วัดธรรมจักร, พระครูอภัยจริยานิยม(ตุ้ย) วัดใหม่, ครูบาวัง วัดบ้านเด่น, พระราชสุทธิ วัดสวนดอก, พระอาจารย์สม วัดหัวข่วง, พระอาจารย์ชุบ วัดเกาะ, หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน, พระราชปัญญาโสภณ วัดราชนัดดาราม, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดา ฯลฯ

ต่อไปจะเป็นความสำคัญของเมืองงาย

เมืองงายในอดีต

เมืองงาย ในอดีตมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อยู่มิใช่น้อย จากบทความรู้เรื่องเมืองงายของอาจารย์

ชุ่ม ณ บางช้าง ได้กล่าวไว้ว่า เมื่ออดีตตามเอกสารอ้างอิงคือ ประวัติการสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

กระผม(ผู้เขียน) จึงขอย่นข้อความไว้มีใจความย่อๆดังนี้

ความสำคัญของเมืองงายเนื่องจากตั้งอยู่ในเส้นทางเดินทัพของบุเรงนอง กษัตริย์

พม่าทรงเคยใช้เส้นทางผ่านสายเมืองงายนี้เข้าโจมตีนครเชียงใหม่ถึง ๒ ครั้ง คือ

เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๑ ครั้งหนึ่ง

และเมื่อ พ.ศ.๒๑๐๗ อีกครั้งหนึ่ง

ลักษณะเดียวกันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ทรงใช้เส้นทางนี้ เมื่อคราว

เสด็จยกกองทัพไปตีกรุงอังวะ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๗ ปรากฏหลักฐานจากหนังสือไทยรบพม่า พระราชนิพนธ์สมเด็จกรม

พระยาดำรงราชานุภาพ มีข้อความพิสดารว่า

"ครั้งพระเจ้าอังวะมีอำนาจขึ้น เหล่าเมืองไทยใหญ๋ที่อยู่ใกล้แดนพม่ากลัวเกรงยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าอังวะก็มี

เมืองที่อยู่ห่างออกไปไม่ยอมอ่อนน้อมโดยดี พระเจ้าอังวะก็ยกกองทัพปราบปรามตีได้เมืองไทยใหญ่ ที่ตั้งตัวเป็น

อิสระโดยลำดับมาจนถึงเมืองหน่าย ที่มาขึ้นอยู่กับไทย พระเจ้าอังวะตีได้เมืองหน่ายแล้วจะมาตีเมืองแสนหวี

สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบก็ขัดเคือง จึงดำรัสสั่งให้กะเกณฑ์รี้พลจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เข้ากองทัพจะเสด็จไปตีเมือง

อังวะ

กองทัพที่ยกไปคราวนี้ จะเดินทางที่เมืองเชียงใหม่ไปข้ามแม่น้ำสาลวิน ที่เมืองหาง แล้วผ่านแว่นแคว้นไทยใหญ่ไปเข้าแดน

พม่าที่ใกล้เมืองอังวะ สมเด็จพระนเรศวร ทรงคาดการณ์ว่าจะได้ไพร่พลเพิ่ม ที่เมืองเชียงใหม่อีก ๑๐๐,๐๐๐ คน รวมเป็น

๒๐๐,๐๐๐ คน แต่รายการที่มีในหนังสือพงศาวดารน้อยนัก ปรากฎแต่ว่า

"สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จออกจากพระนครเมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๘ ค่ำ ปีมะโรง

พ.ศ. ๒๑๔๗ เสด็จโดยกระบวนเรือไปตั้งทัพชัย ณ ตำบลพระหล่อ แล้วยกทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชร ครั้นเสด็จไปถึง

เมืองเชียงใหม่ หยุดพักจัดกระบวนทัพอยู่ เดือนหนึ่ง แล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถออกไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยก

ไปทางเมืองหาง

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

 

ประเทศไทยมีการปกครองโดยระบบพระมหากษัตริย์มายาวนาน นับได้เกือบพันกว่าปี คือ เริ่มนับประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่การขึ้น

ครองราชของพระมหากษัตริย์มหาราชองค์แรกของไทย คือ เจ้าพรหมมหาราชได้ทรงขับไล่ขอมออกจากแผ่นดินล้านนา และหลังจากนั้นเรา

ก้อมีแผ่นดินไทยอย่างสมบูรณ์และมีพระมหากษัตริย์ทรงครองราชมาอย่างผาสุกจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ไม่ว่าสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ท่านทรงดำเนินพระราชกรณียกิจนานาประการตามยุคสมัยของพระองค์นั้น คือ เนื่องจากยุคที่ท่านได้เกิดมา

ประเทศไทยได้เสียเอกราชบางอย่างให้กับพระเจ้าบุเรงนอง แห่งกรุงอังวะ ไทยเราต้องทนขมขื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนต้องเกิดสงคราม

เพื่อชิงเอกราชของเรากลับคืนมา โดยการนำของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประเทศไทยจึงอยู่ได้อย่างองอาจและศักดิ์ศรีสืบมา

สรุป เหรียญรุ่นนี้นิยมเล่นหากันมากเนื่องจากมีจำนวนถึงหนึ่งแสนเหรียญ ทำให้ยังพอหาได้ในแผงทั่วไป แต่ ณ ขณะนี้ พฤษจิกายน ๕๑ ได้มีของเก๊เลียนแบบ ออกมาแล้ว ทำให้ค่อนข้างพิจารณาหาเหรียญดูได้ง่ายและฝึกสายตาไปในตัว ในส่วนตัวหนึ่งแสนเหรียญนั้นเดี๋ยวนี้หากคิดๆดูเป็นจำนวนไม่มากทีเดียว นับจากประชากรไทยมี หลักสิบล้านเมื่อปี ๑๒ จน ณ ปัจจุบัน เป็นเกือบเจ็ดสิบล้านคน หากไม่รวม เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่ง ที่มาพำนักในไทย โดยเฉพาะเชียงใหม่อย่างดอกเห็ด

*ข้อความนี้เพื่อการบันเทิง และความรู้ ห้ามคัดลอกและอ้างอิงเพื่อการพาณิชย์ สงวนลิขสิทธิ์

ราคา :
 ๙
โทรศัพท์ :
 0818145594, 0910715752
วันที่ :
 26/11/08 14:41:59
 
 
เหรียญสมเด็จพระนเรศวร ปี ๑๒ พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.