พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

พระปิดตาพิมพ์จั๊กจั่น กรุวัดอัมพวา


พระปิดตาพิมพ์จั๊กจั่น กรุวัดอัมพวา


พระปิดตาพิมพ์จั๊กจั่น กรุวัดอัมพวา

ขายแล้ว กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 พระปิดตาพิมพ์จั๊กจั่น กรุวัดอัมพวา
รายละเอียด :
 

ประวัติ วัดอัมพวา
วัดอัมพวา ตั้งอยู่เลขที่ 109 ถนนอิสรภาพ 37 และถนนจรัญสนิทวงศ์ 22 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 8 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับซอยวัดอัมพวา ทิศใต้ติดกับที่เอกชน ทิศตะวันออกติดกับกองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร. ทิศตะวันตกติดกับอาคารบ้านเรือนราษฎรและโรงเรียนวัดอัมพวา วัดอัมพวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2211 ในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่เดิมบริเวณนี้เป็นพื้นที่สวน วัดตั้งอยู่ทิศตะวันตกวังสวนอนันต์ กรมการขนส่งทหารเรือ วัดอัมพวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ.2216 (กรมการศาสนา,2526 358-359) ใบเสมารัชกาลที่ 1 เป็นเสมาคู่ หรืออาจจะเป็นใบเสมาสมัยกษัตริย์รัชกาลสุดท้ายของอยุธยาก็ได้ สองสมัยนี้ ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาทำซุ้มเป็นกูบช้าง ด้านหลังอุโบสถมีเจดีย์ทรงกลมใหญ่ เป็นแบบรัชกาลที่ 4 แสดงว่า ต้องมาปฏิสังขรณ์ใหญ่สมัยรัชกาลที่ 4 (น.ณ.ปากน้ำ)วัดอัมพวา ตั้งอยู่เลขที่ 109 ถนนอิสรภาพ 37 และถนนจรัญสนิทวงศ์ 22 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 8 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับซอยวัดอัมพวา ทิศใต้ติดกับที่เอกชน ทิศตะวันออกติดกับกองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร. ทิศตะวันตกติดกับอาคารบ้านเรือนราษฎรและโรงเรียนวัดอัมพวา วัดอัมพวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2211 ในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่เดิมบริเวณนี้เป็นพื้นที่สวน วัดตั้งอยู่ทิศตะวันตกวังสวนอนันต์ กรมการขนส่งทหารเรือ วัดอัมพวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ.2216 (กรมการศาสนา,2526 358-359) ใบเสมารัชกาลที่ 1 เป็นเสมาคู่ หรืออาจจะเป็นใบเสมาสมัยกษัตริย์รัชกาลสุดท้ายของอยุธยาก็ได้ สองสมัยนี้ ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาทำซุ้มเป็นกูบช้าง ด้านหลังอุโบสถมีเจดีย์ทรงกลมใหญ่ เป็นแบบรัชกาลที่ 4 แสดงว่า ต้องมาปฏิสังขรณ์ใหญ่สมัยรัชกาลที่ 4 (น.ณ.ปากน้ำ)

พระกรุ วัดอัมพวา
พระกรุเนื้อผงน้ำมัน วัดอัมพวา ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราช วราราม เป็นเป็นประธานในการปลุกเสกสร้างบรรุจุกรุเอาไว้เมื่อคราวปฏิสังขรณ์วัดอัมพวาในยุคก่อนปี พ.ศ.2450 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) นี้ ท่านมีชื่อเสียงมากทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน เชี่ยวชาญด้านสูตรลบผง ตะกรุด เวทม์มนต์ โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยมและ สูตรการทำผง 108 เล่าสืบต่อกันมาว่า ท่านเรียนมาจากสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) โดยตรง หลวงปู่ไข่แห่งวัดบพิตรภิมุข (วัดเชิงเลน ) ยังเคยไปขอคำแนะนำในการสร้างลบผงวิเศษ และขอเรียนวิชาสร้างตะกรุด "กลับศัตรูเป็นมิตร" จากท่าน โดยในสมัยนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง และมีบรรดาพระคุณเจ้าจากวัดต่างๆ มาเรียนจากท่าน ซึ่งต่อมาส่วนใหญ่จะมีชื่อเสียงเลื่องลือในความขลังของวัตถุมงคลที่ทำการปลุกเสกมากมาย จวบจนปัจจุบัน อาทิ เช่น พระเทพกระวี (นวม ) แห่งวัดอนงค์ฯ สมัยที่ท่านครองวัดอรุณ ก็มี พระปัญญาคัมภีร์เถระ (ชุ่ม) และพระครูภาวนาวิจารย์ (พระครูลืม) พระครูโสภณ กัลยาณวัตร (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร ก็ยังเป็นศิษย์ รุ่นท้ายๆ ของท่าน ท่านเจ้าคุณนาค (พระพิมลธรรม วัดอรุณ) และหลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม ก็เคยมาเรียนวิชาจากท่านด้วยเช่นกัน นับได้ว่า สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของอาจารย์ทั้งหลายอย่างแท้จริง

ประวัติของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) กล่าวว่า เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา ตรงกับวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2380 เมื่ออายุได้ 10 ปี บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์พระมหาพลาย เปรียญ 4 ประโยค วัดนาคกลาง ผู้เป็นญาตินับชั้นเป็นลูกผู้พี่ ได้เล่าเรียนพระคัมภีร์ปริยัติธรรมในสำนักพระมหาพลายมาแต่ครั้งนั้น ครั้นอายุได้ 13 ปี โกนจุกแล้วบวชเป็นสามเณร ย้ายไปอยู่วัดราชบุรณะฯ ได้เล่าเรียนในสำนักพระมหาเกษ เปรียญ 4 ประโยคบ้าง ในสำนักนายแก้ว อาจารย์ที่วัดสุทัศน์ฯ บ้าง

พออายุได้ 14 ปี เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวงวัดพระเชตุพนฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ครั้น ครั้งทรงผนวชเสด็จประทับเป็นผู้ไล่การสอบ ทั้งทรงเป็นพระธุระแก่สามเณรฤทธิ์ ด้วยทรงพระเมตตาว่าเป็นสามเณรเล็ก แปลได้ 3 ประโยค ได้รับพระราชทานรางวัลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเงิน 1 ชั่ง (80 บาท) พร้อมกับมีพระราชดำรัสชมเชยว่า "เด็กขนาดนี้กำลังจับเป็ดจับไก่ แต่สามเณรฤทธิ์แปลหนังสือได้เป็นเปรียญ นับว่าดีมาก" ในรัชกาลที่ 4 มีอายุได้ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดราชบุรณะฯ เมื่อปี พ.ศ.2400 สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ครั้งยังเป็นที่พระธรรมวโรดม วัดราชบุรณะฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมรโมลี (นพ) วัดบุปผาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณคณิศร (เสม) วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปสมบทได้แล้ว 7 พรรษา ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้ง ได้เปรียญ 5 ประโยค ในรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นที่ พระอมรโมลี พร้อมโปรดให้ไปครองวัดบพิตรภิมุข ถึงปี พ.ศ.2422 โปรดฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.2428 โปรดฯ เลื่อนเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ พ.ศ.2437 โปรดฯ เลื่อนเป็นพระธรรมวโรดม พ.ศ.2441 โปรดให้อาราธนาไปครองวัดอรุณฯ พร้อมโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ และในปี พ.ศ.2448 ทรงเลื่อนเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มรณภาพเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2456

การแตกกรุ
ผู้อาวุโสฯ เคยเล่าถ่ายทอดกันมาว่า ในพิธีสร้างพระเครื่องชุดนี้ ได้นิมนต์ พระเกจิในยุคนั้น มากมายมาร่วมพิธี โดยหลังพิธี ได้บรรจุกรุไว้ในพระเจดีย์ใหญ่หลังอุโบสถ ต่อมาในปี พ.ศ.2484 บ้านเมืองกำลังอยู่ในห้วงสงคราม ทางวัดอัมพวาโดยพระครูแป้น รชโฏ เจ้าอาวาสรูปที่ 6 ของวัด ซึ่งครองวัดอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2456-2501 ได้ทำการเปิดกรุเพื่อนำพระเครื่องแจกจ่ายแก่บรรดาทหาร ตำรวจ และประชาชน

เนื้อหา
พระเนื้อผงน้ำมันวัดอัมพวานี้ มวลสารวัสดุที่ใช้สร้างพระในสมัยนั้นก็นิยมใช้ปูนเปลือกหอย คลุกเคล้ากับผงวิเศษที่ได้จากการเขียนสูตร และ อักขระเลขยันตร์ ข้าวสุก ตลอดจนผงพุทธคุณที่เป็นมงคลอื่นๆ นำมาผสมคลุกเคล้ากันด้วยน้ำมันตังอิ๋วเป็นตัวประสาน แล้วจึงนำมากดพิมพ์เช่นเดียวกันกับการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง และพระวัดพลับที่วัดอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก เนื้อพระกรุวัดอัมพวานี้ ค่อนข้างแก่น้ำมันตังอิ๋ว จึงมักจะออกสีค่อนข้างเหลืองคล้ายถั่วบดอัด และคล้ายกันกับใส้ในพระผงวัดสามปลื้ม ที่เนื้อค่อนข้างเปราะ หักชำรุดง่าย ยังดีที่พิมพ์พระกรุวัดอัมพวามีขนาดเล็กขนาดเม็ดบัวขนาดเขื่อง หรือที่ใหญ่ก็ใหญ่กว่านั้นไม่มาก จึงมักจะพบว่าพระที่จับถือไม่ระวัง ถ้าหล่นลงพื้น จะบิ่นกระเทาะ แตกบิ่นไป จึงไม่ค่อยพบพระหัก และเนื้อพระตามผิวทั้งด้านหน้า และหลัง จะมีรอยรานบนเนื้อคล้ายรอยแตกลายงา บนพระเนื้อผงที่ลงรัก แล้วรักหลุดลอกออกมาก่อน

พิมพ์ทรง
พิมพ์ทรงของพระกรุนี้คาดว่าน่าจะมีพิมพ์ทั้งหมดไม่ตํ่ากว่า 50 พิมพ์ เอาแค่พิมพ์ปิดตา ก็มีมากร่วม 10 พิมพ์ประวัติ วัดอัมพวา
วัดอัมพวา ตั้งอยู่เลขที่ 109 ถนนอิสรภาพ 37 และถนนจรัญสนิทวงศ์ 22 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 8 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับซอยวัดอัมพวา ทิศใต้ติดกับที่เอกชน ทิศตะวันออกติดกับกองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร. ทิศตะวันตกติดกับอาคารบ้านเรือนราษฎรและโรงเรียนวัดอัมพวา วัดอัมพวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2211 ในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่เดิมบริเวณนี้เป็นพื้นที่สวน วัดตั้งอยู่ทิศตะวันตกวังสวนอนันต์ กรมการขนส่งทหารเรือ วัดอัมพวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ.2216 (กรมการศาสนา,2526 358-359) ใบเสมารัชกาลที่ 1 เป็นเสมาคู่ หรืออาจจะเป็นใบเสมาสมัยกษัตริย์รัชกาลสุดท้ายของอยุธยาก็ได้ สองสมัยนี้ ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาทำซุ้มเป็นกูบช้าง ด้านหลังอุโบสถมีเจดีย์ทรงกลมใหญ่ เป็นแบบรัชกาลที่ 4 แสดงว่า ต้องมาปฏิสังขรณ์ใหญ่สมัยรัชกาลที่ 4 (น.ณ.ปากน้ำ)วัดอัมพวา ตั้งอยู่เลขที่ 109 ถนนอิสรภาพ 37 และถนนจรัญสนิทวงศ์ 22 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 8 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับซอยวัดอัมพวา ทิศใต้ติดกับที่เอกชน ทิศตะวันออกติดกับกองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร. ทิศตะวันตกติดกับอาคารบ้านเรือนราษฎรและโรงเรียนวัดอัมพวา วัดอัมพวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2211 ในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่เดิมบริเวณนี้เป็นพื้นที่สวน วัดตั้งอยู่ทิศตะวันตกวังสวนอนันต์ กรมการขนส่งทหารเรือ วัดอัมพวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ.2216 (กรมการศาสนา,2526 358-359) ใบเสมารัชกาลที่ 1 เป็นเสมาคู่ หรืออาจจะเป็นใบเสมาสมัยกษัตริย์รัชกาลสุดท้ายของอยุธยาก็ได้ สองสมัยนี้ ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาทำซุ้มเป็นกูบช้าง ด้านหลังอุโบสถมีเจดีย์ทรงกลมใหญ่ เป็นแบบรัชกาลที่ 4 แสดงว่า ต้องมาปฏิสังขรณ์ใหญ่สมัยรัชกาลที่ 4 (น.ณ.ปากน้ำ)

พระกรุ วัดอัมพวา
พระกรุเนื้อผงน้ำมัน วัดอัมพวา ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราช วราราม เป็นเป็นประธานในการปลุกเสกสร้างบรรุจุกรุเอาไว้เมื่อคราวปฏิสังขรณ์วัดอัมพวาในยุคก่อนปี พ.ศ.2450 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) นี้ ท่านมีชื่อเสียงมากทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน เชี่ยวชาญด้านสูตรลบผง ตะกรุด เวทม์มนต์ โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยมและ สูตรการทำผง 108 เล่าสืบต่อกันมาว่า ท่านเรียนมาจากสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) โดยตรง หลวงปู่ไข่แห่งวัดบพิตรภิมุข (วัดเชิงเลน ) ยังเคยไปขอคำแนะนำในการสร้างลบผงวิเศษ และขอเรียนวิชาสร้างตะกรุด "กลับศัตรูเป็นมิตร" จากท่าน โดยในสมัยนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง และมีบรรดาพระคุณเจ้าจากวัดต่างๆ มาเรียนจากท่าน ซึ่งต่อมาส่วนใหญ่จะมีชื่อเสียงเลื่องลือในความขลังของวัตถุมงคลที่ทำการปลุกเสกมากมาย จวบจนปัจจุบัน อาทิ เช่น พระเทพกระวี (นวม ) แห่งวัดอนงค์ฯ สมัยที่ท่านครองวัดอรุณ ก็มี พระปัญญาคัมภีร์เถระ (ชุ่ม) และพระครูภาวนาวิจารย์ (พระครูลืม) พระครูโสภณ กัลยาณวัตร (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร ก็ยังเป็นศิษย์ รุ่นท้ายๆ ของท่าน ท่านเจ้าคุณนาค (พระพิมลธรรม วัดอรุณ) และหลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม ก็เคยมาเรียนวิชาจากท่านด้วยเช่นกัน นับได้ว่า สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของอาจารย์ทั้งหลายอย่างแท้จริง

ประวัติของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) กล่าวว่า เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา ตรงกับวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2380 เมื่ออายุได้ 10 ปี บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์พระมหาพลาย เปรียญ 4 ประโยค วัดนาคกลาง ผู้เป็นญาตินับชั้นเป็นลูกผู้พี่ ได้เล่าเรียนพระคัมภีร์ปริยัติธรรมในสำนักพระมหาพลายมาแต่ครั้งนั้น ครั้นอายุได้ 13 ปี โกนจุกแล้วบวชเป็นสามเณร ย้ายไปอยู่วัดราชบุรณะฯ ได้เล่าเรียนในสำนักพระมหาเกษ เปรียญ 4 ประโยคบ้าง ในสำนักนายแก้ว อาจารย์ที่วัดสุทัศน์ฯ บ้าง

พออายุได้ 14 ปี เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวงวัดพระเชตุพนฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ครั้น ครั้งทรงผนวชเสด็จประทับเป็นผู้ไล่การสอบ ทั้งทรงเป็นพระธุระแก่สามเณรฤทธิ์ ด้วยทรงพระเมตตาว่าเป็นสามเณรเล็ก แปลได้ 3 ประโยค ได้รับพระราชทานรางวัลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเงิน 1 ชั่ง (80 บาท) พร้อมกับมีพระราชดำรัสชมเชยว่า "เด็กขนาดนี้กำลังจับเป็ดจับไก่ แต่สามเณรฤทธิ์แปลหนังสือได้เป็นเปรียญ นับว่าดีมาก" ในรัชกาลที่ 4 มีอายุได้ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดราชบุรณะฯ เมื่อปี พ.ศ.2400 สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ครั้งยังเป็นที่พระธรรมวโรดม วัดราชบุรณะฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมรโมลี (นพ) วัดบุปผาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณคณิศร (เสม) วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปสมบทได้แล้ว 7 พรรษา ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้ง ได้เปรียญ 5 ประโยค ในรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นที่ พระอมรโมลี พร้อมโปรดให้ไปครองวัดบพิตรภิมุข ถึงปี พ.ศ.2422 โปรดฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.2428 โปรดฯ เลื่อนเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ พ.ศ.2437 โปรดฯ เลื่อนเป็นพระธรรมวโรดม พ.ศ.2441 โปรดให้อาราธนาไปครองวัดอรุณฯ พร้อมโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ และในปี พ.ศ.2448 ทรงเลื่อนเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มรณภาพเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2456

การแตกกรุ
ผู้อาวุโสฯ เคยเล่าถ่ายทอดกันมาว่า ในพิธีสร้างพระเครื่องชุดนี้ ได้นิมนต์ พระเกจิในยุคนั้น มากมายมาร่วมพิธี โดยหลังพิธี ได้บรรจุกรุไว้ในพระเจดีย์ใหญ่หลังอุโบสถ ต่อมาในปี พ.ศ.2484 บ้านเมืองกำลังอยู่ในห้วงสงคราม ทางวัดอัมพวาโดยพระครูแป้น รชโฏ เจ้าอาวาสรูปที่ 6 ของวัด ซึ่งครองวัดอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2456-2501 ได้ทำการเปิดกรุเพื่อนำพระเครื่องแจกจ่ายแก่บรรดาทหาร ตำรวจ และประชาชน

เนื้อหา
พระเนื้อผงน้ำมันวัดอัมพวานี้ มวลสารวัสดุที่ใช้สร้างพระในสมัยนั้นก็นิยมใช้ปูนเปลือกหอย คลุกเคล้ากับผงวิเศษที่ได้จากการเขียนสูตร และ อักขระเลขยันตร์ ข้าวสุก ตลอดจนผงพุทธคุณที่เป็นมงคลอื่นๆ นำมาผสมคลุกเคล้ากันด้วยน้ำมันตังอิ๋วเป็นตัวประสาน แล้วจึงนำมากดพิมพ์เช่นเดียวกันกับการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง และพระวัดพลับที่วัดอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก เนื้อพระกรุวัดอัมพวานี้ ค่อนข้างแก่น้ำมันตังอิ๋ว จึงมักจะออกสีค่อนข้างเหลืองคล้ายถั่วบดอัด และคล้ายกันกับใส้ในพระผงวัดสามปลื้ม ที่เนื้อค่อนข้างเปราะ หักชำรุดง่าย ยังดีที่พิมพ์พระกรุวัดอัมพวามีขนาดเล็กขนาดเม็ดบัวขนาดเขื่อง หรือที่ใหญ่ก็ใหญ่กว่านั้นไม่มาก จึงมักจะพบว่าพระที่จับถือไม่ระวัง ถ้าหล่นลงพื้น จะบิ่นกระเทาะ แตกบิ่นไป จึงไม่ค่อยพบพระหัก และเนื้อพระตามผิวทั้งด้านหน้า และหลัง จะมีรอยรานบนเนื้อคล้ายรอยแตกลายงา บนพระเนื้อผงที่ลงรัก แล้วรักหลุดลอกออกมาก่อน

พิมพ์ทรง
พิมพ์ทรงของพระกรุนี้คาดว่าน่าจะมีพิมพ์ทั้งหมดไม่ตํ่ากว่า 50 พิมพ์ เอาแค่พิมพ์ปิดตา ก็มีมากร่วม 10 พิมพ์

 

 

ชมเชย งานมหกรรมการประกวดพระเครื่องฯ จัดโดย ชมรมผู้นิยมพระเครื่องเมืองลำปาง วันที่ 15-16 มิ.ย. 2556

ราคา :
 
ร้าน :
โทรศัพท์ :
 0954509615, 0954509615
วันที่ :
 19/06/13 13:57:52
 
 
พระปิดตาพิมพ์จั๊กจั่น กรุวัดอัมพวา พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.