พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระเกจิสายภาคกลาง

รูปหล่อจิ๊กโก๋หลวงพ่อทบ ปี 2517


 รูปหล่อจิ๊กโก๋หลวงพ่อทบ ปี 2517


 รูปหล่อจิ๊กโก๋หลวงพ่อทบ ปี 2517

ชื่อพระ :
  รูปหล่อจิ๊กโก๋หลวงพ่อทบ ปี 2517
รายละเอียด :
 

รูปหล่อจิ๊กโก๋หลวงพ่อทบ ปี 2517

รูปหล่อหลวงพ่อทบรุ่นจิ๊กโก๋ ออกเช่าบูชาที่วัดช้างเผือกเพื่อหาทุนสร้างพระอุโบสถหลังปัจจุบันในปี พ.ศ.2517 พระรุ่นนี้มีการสร้างกัน 2 เนื้อคือ เนื้อทองผสม และเนื้อทองแดง และมีการเอาพระชุดนี้มารมดำและลงรักด้วยครับ จำนวนการสร้าง ประมาณ 3000 องค์ เพระชุดนี้มองดูคล้ายพิมพ์หน้าฝรั่งฐานสูงแต่องค์พระพิมพ์จิกโก๋จะเล็กกว่าเล้กน้อย โดยมีขนาดสูง 2.7 ซม.ฐานกว้างประมาณ 1.5 ซม.พระชุดนี้จะมีการอุดกริ่งด้วยพระชุดนี้หลังจากหล่อเสร็จจะมีการขัดแต่งส่วนใหญ่จะไม่พบรอยตะไบตามองค์พระในพระแท้ พระชุดนี้เป็นพระที่มีประสบการณ์มากอีกรุ่นหนึ่ง...สมัยก่อนวัยรุ่นชาวบ้านจะเรียกว่าพวกจิ๊กโก๋...

ยกพวกตะรุมบอนกันในสมัยนั้นจะใช้คมแฝกและสนับมือเท่านั้น ตีกันขนไม้หักสนับมือแตกคามือ ปรากฏว่าวัยรุ่นที่แขวนพระรุ่นนี้ไม่มีบาดแผลใดๆเลยแม้น้อย....จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่นจิ๊กโก๋ตั้งแต่นั้นมาครับ...

ราคา 5950 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

hh.jpg bcbg.jpg vccc.jpg cf.jpg


clip_41-jpg.jpg

ประวัติของ หลวงพ่อทบ

หลวงพ่อทบพระครูวิชิต พัชราจารย์ หรือ หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญเทพเจ้าแห่ง ความเมตตา เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2424 ที่บ้านยางหัวลม ปัจจุบัน คือ ต.วังชมภู ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์บิดาชื่อนายเผือกมารดาชื่อนางอินทร์ เมื่ออายุ 16 ปีได้บรรพชา

เป็นสามเณรที่วัดช้าง เผือกบ้านยางหัวลม โดยมี พระอาจารย์สี เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาร่ำเรียนหนัง สือขอมและ ไสยเวทวิทยาคมกับพระอาจารย์สีจนแตกฉาน พออายุครบ 21 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกาะแก้ว ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ โดยมี พระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ปาน เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และ พระอาจารย์สี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ธัมมปัญโญ

หลวงพ่อทบเทพเจ้าแห่งความเมตตา ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2424 ณ บ้านหัวลม ตำบลนายม เพชรบูรณ์ โยมบิดาชื่อเผือก โยมมารดาชื่ออินทร์ หลวงพ่อทบ ท่านบวชเณรตั้งแต่ พ.ศ.2440 ที่วัดช้างเผือก และอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2445 ที่วัดเกาะแก้ว บ้านนายม เพชรบูรณ์ โดยมีพระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปานเป็น พระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์สีเป็น พระอนุสาวนาจารย์ อุปนิสัยของหลวงพ่อทบ วัดชนแดนท่านเป็นพระที่มีเมตตา สุขุมเยือกเย็น พออายุได้ 10 ขวบ คุณพ่อเผือกก็ได้นำไปฝาก ไว้ที่วัดช้างเผือก เพื่อให้เรียนหนังสือไทย หนังสือขอม พร้อมกับคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กชายทบนั้น ก็ไม่ทำให้คุณพ่อเผือกเสียชื่อ ทั้งเขียน

ทั้งอ่านได้คล่องแคล่ว กว่าเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน จนได้รับคำชมเชยจาก หลวงตากี ซึ่งเป็นครูสอน เด็กชาวบ้าน ในขณะนั้นว่า เป็นเด็กฉลาดว่านอนสอนง่าย เติบใหญ่ไปภายหน้า จะได้ดีกว่าคนอื่นๆ อุปนิสัย ของหลวงพ่อทบ ท่านเป็นคนมีเมตตา เยือกเย็น สุขุม ปรานีต่อสัตว์ทั้งปวง

ดังจะเห็นได้จากเรื่องนี้ ก่อนที่หลวงพ่อทบ จะออกบวชนั้น แถวนายมเมื่อประมาณ หนึ่งร้อยปีที่ผ่านมายัง เรียกว่าเป็นป่าดงดิบ มีแต่ป่าไม้ สัตว์ป่าชนิดต่างๆ ชุกชุมมาก ในสมัยนั้นชาวนา ชนบทต้องดำรงชีวิต ด้วยอาหารจากป่าเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้

หัวเผือก หัวมัน ผลไม้ชนิดต่างๆ ป่าไม้ไม่ถูกทำลาย มนุษย์ก็ยังมีไม่มากเหมือนปัจจุบัน ทุกอย่าง อุดมสมบูรณ์ไปหมด ถ้าหากว่าออกไปหาอาหารเพียงชั่วครู่ก็จะได้อาหาร ติดมือมา ทำกับข้าวทันที คนในสมัยก่อนโน้นฝากปากฝากท้อง ไว้กับธรรมชาติ คือป่าเขาลำเนาไพร

e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-a7-e0-b8-87-e0-b8-9e-e0-b9-88-e0-b8-ad-e0-b8-97-e0-b8-9a2-jpg.jpg
ซึ่งผิดกับคนในสมัยนี้อย่างลิบลับ ที่ฝากปากฝากท้องไว้กับร้านอาหาร ดูมันง่ายและสะดวกดี ภายในครอบครัวของหลวงพ่อทบ ก็เช่นกัน นายทบ ม่วงดี อายุขณะนั้นได้ 16 ปี ก็บังเกิดความเบื่อหน่าย ชีวิตในการครองเรือนที่เห็นว่าไม่มี สาะแก่นสารอันใด หวังเอาพระนิพพานเป็นที่พึ่ง

หลวงพ่อทบ จึงขออนุญาต จากคุณพ่อเผือก และคุณแม่อินทร์ ซึ่งท่านทั้งสองก็มองเห็นความตั้งใจอันดี ของลูกชายจึงออกปากอนุญาต และได้นำนายทบ ม่วงดี ลูกชายไปบรรพชาที่ วัดช้างเผือก โดยมี พระอาจารย์สี เจ้าอาวาสวัดช้างเผือกในขณะนั้น เป็นผู้บรรพชาให้

เมื่อ เมื่อได้บรรพชา เป็นสามเณรแล้ว ก็ได้ศึกษาหาความรู้ต่างๆ ในสำนักของพระอาจารย์สี ไม่ว่าจะเป็น พระธรรม พระวินัย สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ตลอดจนหัดเทศน์ เรียกได้ว่าท่านไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์อย่างแท้จริงจนถึงปี พ.ศ.2445

สามเณรทบ มีอายุครบ 21 ปี ทางคุณพ่อเผือ และคุณแม่อินทร์ ก็ได้นำสามเณรทบไปทำการอุปสมบทที่ วัดศิลาโมง บ้านนายม ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี ท่านพระครูเมือง เป็นพระอุปัชณาย์ พระอาจารย์ปาน

เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สีท่านนั้น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมปัญโญภิกขุหลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือก 2 พรรษา ในระหว่างนี้หลวงพ่อทบก็ได้ใช้เวลาทั้งหมดศึกษาวิปัสสนา

เมื่อครั้งหนึ่ง ท่านได้เดินธุดง ค์ผ่านไปพบกองกระดูกอยู่กับกองผ้าเหลืองเปื่อยๆ ผุๆ พร้อมกับกลด และบาตรที่สิ้นสภาพ หลวงพ่อทบจึงรู้ในขณะนั้นว่าพระธุงดงค์รูปที่มานอนมรณภาพ อยู่ตรงหน้านี้ต้อง อาบัติในธุดงค์วัตร มีวัตรอันไม่บริสุทธิ์

จึงต้องเอาชีวิตมาทิ้งไว้อย่างน่าอนาถ ท่านจึงได้รวบรวมผ้าเหลือง กระดูก กลด และบาตรเข้าด้วยกัน แล้วนำไปฝังอย่างเรียบร้อย พร้อมกับสวดมาติกาบังสุกุลให้เป็นที่เรียบร้อย จึงตกลงใจปักกลดค้างคืนอยู่ ที่ตรงนั้น พอตกดึกในคืนนั้นเอง ขณะที่ท่านกำลังทำสมาธิภาวนา พลันก็มีสิ่งแปลกปลอมเดินเข้ามาใกล้กลด

กลิ่นสาบสางคละคลุ้งโชยเข้าจมูก แทบจะสำลัก หลวงพ่อทบยังคงนั่งสมาธิภาวนาอย่างแน่วแน่ ไม่ยอมขยับเขยื้อน เจ้าเสือพานกลอนขนาดใหญ่เห็นท่าน ไม่เกรงกลัวมัน มันจึงแยกเขี้ยวขู่คำรามอย่างดุร้ายหมายจะกัดกินท่านเป็นอาหาร ท่านจึงรวบรวมจิตแผ่เมตตาออกไปให้กับเสือ พร้อมปากก็พูดว่า

e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-a7-e0-b8-87-e0-b8-9e-e0-b9-88-e0-b8-ad-e0-b8-97-e0-b8-9a4-jpg.jpg
เอ็งหากินของเอ็ง ข้าก็ออกธุดงค์เพื่ออยู่ในทางธรรม เอ็งอาศัยสัตว์น้อยใหญ่ต่อชีวิต ข้าก็อาศัยภัตตาหารดำรงชีวิต เอ็งมาข้าก็ดีใจ ไม่มีอะไรก็นอนเสียเถิดหลังจากกล่าวจบแล้วหลวงพ่อทบก็น้อมชีวิตเป็นพุทธบูชา โดยอธิษฐานว่า

หากเสือกับท่านมิได้เคยผูกพยาบาท อาฆาตจองเวรต่อกันในชาติปางก่อน ก็ขอให้เสือหลีกทางให้ ถ้าเคยผูกเวรกันมา ก็ขอให้เอาท่านไปกินเพื่อชดใช้กรรม เป็น ที่อัศจรรย์ปรากฏว่า เสือตัวนั้นหยุดคำราม และทำตามคำสั่งของท่านอย่างว่าง่าย เหมือนพูดกับนักเรียน

มันลดความดุร้ายลง และค่อยๆ ล้มตัวลงนอนข้างๆ กลดของท่าน ส่วนท่านก็ได้เจริญสมาธิภาวนาจนรุ่งเช้า พอท่านลืมตาขึ้นมาดูอีกครั้ง ก็พบว่าเสือสมิงได้หายไปจากที่มันล้มตัวนอนเมื่อคืนนี้ คงเหลือแต่รอยเท้าของมันที่ทิ้งร่องรอยเอาไว้

หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินธุดงค์ต่อไป จนกระทั่งได้พบกับพระธุดงค์อีกรูปหนึ่ง จึงได้ชักชวนกันเดินธุดงค์ ไปจนทะลุถึงเขตชายแดนพม่า ณที่นั้นเอง หลวงพ่อทบและพระธุดงค์รูปนั้นก็ได้แสดงอภินิหารซึ่งกันและกัน และได้แลกเปลี่ยนวิทยาคม

จนเป็นที่พอใจแล้วต่างก็แยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง หลวงพ่อทบได้เดินธุดงค์ต่อไปจนถึงประเทศลาว ท่านได้เคยรู้จักคุ้นเคยกับพระเณรที่เวียงจันทร์หลายรูปด้วยกัน เมื่ออยู่ที่นครเวียงจันทร์ ท่านได้ช่วยเหลือพระเณรที่นั่นก่อสร้างสิ่งต่างๆ จนสำเร็จหลายแห่ง

จนเป็นที่ชื่นชอบอัธยาศัยของ พระเณรในเวียงจันทร์มาก ถึงกับนิมนต์ให้ท่านประจำวัด อยู่ด้วยกันตลอดไป แต่ท่านได้ปฏิเสธไป เพราะท่านยังมีภาระที่จะต้องทำอีกมาก เมื่อหลวงพ่อได้ปฏิเสธ ในการอยู่เวียงจันทร์แล้ว

ช่วงเวลาก่อน มรณภาพ
ท่านออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ มากมายหลังจากนั้นท่านก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศิลาโมง วัดเสาธงทองเจริญธรรม วัดเกาะแก้ว วัดสว่างอรุณ วัดพระพุทธบาทเขาน้อย และวัดช้างเผือก เป็นต้น และทุกวัดที่หลวงพ่อทบท่านจำพรรษาอยู่ท่านจะบูรณปฏิสังขรณ์ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองทุกวัด

e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-a7-e0-b8-87-e0-b8-9e-e0-b9-88-e0-b8-ad-e0-b8-97-e0-b8-9a6-jpg.jpg
หลวงพ่อทบ ท่านมรณภาพในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2519 ปัจจุบันสังขารของหลวงพ่อทบนั้นไม่เน่าไม่เปื่อยเป็น ที่ฮือฮาของคนเพชรบูรณ์ยิ่งนัก ยังเก็บรักษาไว้ในโลงแก้วภายในวัด ตามเจตนาของ ท่าน ตั้งแต่อดีตจวบถึงปัจุบัน มีประชาชนมามนัสการ เป็นประจำมิได้ขาดสายเลยแห่กันมาทั่วศ้าเมืองไทยมากราบท่านซึ่งร่างกายท่านไม่เน่าไม่เปื่อย ใส่อยู่ในโลงแก้วคาถาบูชาหลวงพ่อท่องก่อนออกจากบ้าน นะติตันโต นโมตันติ นะคือพ่อ โมคือแม่ มาอยู่หัว นี่คือประวัติคร่าวๆของเกจิแห่งเมืองเพชรบูรณ์เทพเจ้าแห่งความเมตตาหลวงพ่อทบ

ขอขอบคุณบทความประวัติเกจิชื่อดังดีๆจาก ufabet.com
 
ราคาเปิดประมูล :
 100 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 100 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 100 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 

ผู้ตั้งประมูล :
 วันศีล โกวัง
ที่อยู่ :
 323/332 ม.12 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ไทย

เบอร์โทรติดต่อ :
  0861936900, 0861936900
E-mail :
 

ชื่อบัญชี :
 นายวันศีล โกวัง
เลขที่ บัญชี :
 8922097432
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 สาขาย่อยเทสโก้ โลตัส เชียงใหม่ - กาดคำเที่ยง

วันที่ :
 Sat 21, May 2022 19:28:45
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]   Sat 21, May 2022 19:28:45
 
 
ประมูล รูปหล่อจิ๊กโก๋หลวงพ่อทบ ปี 2517 : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.