พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระสกุลลำพูน

พระเลี่ยงลำพูน


พระเลี่ยงลำพูน


พระเลี่ยงลำพูน

ชื่อพระ :
 พระเลี่ยงลำพูน
รายละเอียด :
 

พระเลี่ยงลำพูนสร้างในสมัยพระนางจามเทวี ครองแคว้นหริภุญไชย ประมาณปีพ.ศ.1260  ซึ่งสมัยนั้นนับถือศาสนาพุทธหินย่นหรือมหายาน เนื้อหาพระค่อนข้างแกร่ง ละเอียดจะเป็นพระเลี่ยงกรุวัดดอนแก้วหรือลำพูน ส่วนเนื้อหาหยาบหน่อยจะเป็นของกรุวัดประตูลี้  องค์นี้สีพิกุล เห็นว่านคล้ายดอกมะขามลอยอยู่เต็ม  ลักษณะจะเป็นรูปว่ากันว่าเป็นรูปพระนางนั่งบนแท่น มีฉัตรกาง นั่งบนหลังช้าง มีบาทบริจานั่งข้างสองฝั่ง 

 
ราคาเปิดประมูล :
 188 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 188 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 181 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 รับประกันเก๊คืนเต็ม

ผู้ตั้งประมูล :
 wichai y.dithee
ที่อยู่ :
 30/90หมู่1 ถนนพระราม2 ซอย 49 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม. thailand (ID LINE : hanuman99)

เบอร์โทรติดต่อ :
  0918849213, 0918849213
E-mail :
 chutchaiy@yahoo.com

ชื่อบัญชี :
 นายอภิชัย แย้มแก้วดิถึ
เลขที่ บัญชี :
 1180342568
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 สีลม

วันที่ :
 Thu 12, Feb 2015 12:35:51
โดย : hanuman2499    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Thu 12, Feb 2015 12:35:51
 








 

เครดิตข้อมูลจากเว็ปหอศิลปพระเครื่องเมืองลำพูนโดยนายโบราณ http://www.naiboran.com/amulet_index.php?cate=4

 
โดย : hanuman2499    [Feedback +0 -0] [+0 -0]     [ 6 ] Thu 12, Feb 2015 14:20:13









 
 
โดย : hanuman2499    [Feedback +0 -0] [+0 -0]     [ 5 ] Thu 12, Feb 2015 14:06:50









 
 
โดย : hanuman2499    [Feedback +0 -0] [+0 -0]     [ 4 ] Thu 12, Feb 2015 14:05:56









 
 
โดย : hanuman2499    [Feedback +0 -0] [+0 -0]     [ 3 ] Thu 12, Feb 2015 14:04:38









 

“ พระเหลี้ยมเล็กพิมพ์นิยมวัดประตูลี้ลำพูน ” (พระเลี่ยง)

มีลำนำ “ ค่าวเครือ ” ซึ่งเป็นบทกลอนโบราณพื้นบ้าน ที่กล่าวถึงการสร้างวัดสี่มุมเมืองของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตรีย์ ผู้ครองนคร “ หริภุญไชย ” ตอนหนึ่งกล่าวถึงการสร้างวัดประตูลี้ที่มีการสร้างพระเลี่ยงเล็กพิมพ์นิยมขึ้นมา ว่าไว้อย่างน่าฟังดังนี้

ด้านศาสนา ศรัทธาเลื่อมใส ทรงพอพระทัย สร้างวัดขึ้นมา

“ วัดสี่มุมเมือง ” ทั้งสี่ทิศา ปราการพุทธา ฮักษาเมืองนี้

หื้อเป็นมิ่งขวัญ จาวเมืองสุขศรี กำลังใจ๋มี ต่อพุทธะท่าน

เป็นที่เคารพ ไหว้บูชากั๋น ทุกคนยึดมั่น ใฝ่หาความดี

บ้านเมืองเรียบร้อย มั่นคงเต็มที่ จาวเมืองเขามี ความสุขถ้วนหน้า

ตางหนวันออก “ ดอนแก้ว ” วัดป่า ชื่อเดิมมีว่า “ อรัญญิกรัมมะการาม ”

บรรจุพระเครื่อง “ พระเปิม ” “ พระสาม ” “ พระบางลือนาม ” “ พระป๋วย ” ก็มี

พระเจ้า ต๋นหลวง แป๋งไว้วัดนี้ เป็นหินแกะมี ฝีมืองามกั๋น

ส่วนตางหนใต้ “ สังฆาราม ” นั้น บ่ะ เดี่ยวฮ้องกั๋น “ วัดประตู๋ลี้ ”

มี ” พระเหลี้ยมหน้อย ” แป๋งงามสุดที่ ศิลปะเปิ้นดี สุดยอดแต๊ว่า

เป็นคั่งองค์แทน “ เจ้าแม่ ” เปิ้นนา ลองเอาขึ้นมา แยงผ่อหื้อดี

ตั๊ดองค์กล๋างนั้น ทรงเครื่องเต็มที่ ซุ้มฉัตรเปิ้นมี อย่างกษัตรา

สององค์เคียงข้าง องค์กล๋างเหนือฟ้า ประดับประดา ฉัตรอยู่ตางบน

ซุ้มรัศมี โดยรอบตั๋วต๋น ประดับอยู่บน พระแท่นสองข้าง

ตางลุ่มพระแท่น เป็นรูปหัวช้าง ตั๊ดที่ตั๋วกล๋าง “ ปู้ก่ำงาเขียว

สองข้างช้างทรง สองแฝดแน่เชียว เฮาต้องเฉลียว ไยแป๋งมาอั้น

เป็นสัญญลักษณ์ หื้อหู้ไว้กั๋น พระเหลี้ยมหน้อยนั้น เปิ้นมีความนัย

อันความสำคัญ ของช้างมีไว้ พาหนะเจ้านาย เปิ้นจักต้องมี

หมู่คนจาวบ้าน บ่ มีช้างขี่ สำคัญคนที่ ชั้นสูงตะอั้น

ปอจะเห็นว่า สร้างพระเหลี้ยมนั้น เป็นเกียรติหื้อท่าน “ นางจ๋ามเทวี ”

บ่ มีที่ไหน พระงามอย่างอี้ สุดจะเปรียบมี พระเหลี้ยม “ หละปูน ”

“ พระเหลี้ยมเล็ก ” พิมพ์นิยม หรือที่เรียกกันในวงการพระเครื่องว่า “ พระเลี่ยง ” นั้น หากเรานำองค์พระที่ติดพิมพ์ชัดเจนและมีความสมบูรณ์ ไม่หักบิ่น ชำรุดขึ้นมาพิจารณาดูอย่างถ้วนถี่ ก็จะเห็นว่า “ พระเหลี้ยมเล็กพิมพ์นิยม ” เป็นพระกรุที่มีศิลปะงดงามอลังการ์จริงๆ ชนิดที่ว่ายากจะหาพระกรุอื่นใดมาเปรียบเทียบเคียงได้ ศิลปะต่างๆในองค์พระเลี่ยง จัดได้ว่างดงามเยี่ยมยอด แสดงถึงภูมิปัญญา และอารมณ์ศิลปะของช่างศิลป์ ที่สามารถสร้างสรร พระที่มีความงามพร้อมเช่นนี้ขึ้นมาได้ ถือว่าเป็นยอดฝีมือขั้นเทพ เลยทีเดียว พระเหลี้ยมเล็กพิมพ์นิยมนี้เป็นพระพิมพ์ที่มีเค้าแบบเหมือนกับพระพิมพ์ทางเมืองลพบุรี ซึ่งเมื่อทราบถึงความเกี่ยวพันระหว่างเมืองลพบุรีและลำพูนแล้ว ก็ไม่เป็นข้อสงสัยหรือกังขาใด ๆ

พระเหลี้ยมหรือพระเลี่ยงเล็กพิมพ์นิยม เป็นยอดพระกรุของวัดประตูลี้ที่ผู้ที่นิยมในพระกรุ ต่างได้ให้ความสำคัญและเสาะแสวงหากันอย่างแท้จริง แต่พระที่สวยและสมบูรณ์แบบนั้นเป็นของที่หายากในปัจจุบันไม่มีให้พบเห็นในสนามพระ นอกจากจะอยู่ในรังของนักสะสมเท่านั้น จากความหมายในลำนำ “ ค่าวเครือ ” ที่ได้กล่าวถึงการสร้างวัดสี่มุมเมืองขึ้นมาในเมือง ” หริภุญไชย ” เพื่อเป็น “ พุทธปราการ ” อันเป็นการทำให้ขวัญและกำลังใจและเป็นที่เคารพบูชาในพระพุทธศาสนา ของชาวบ้านชาวเมืองยุคนั้นให้มีความมั่งคงและเข้มแข็ง ในทางทิศตะวันออกได้สร้าง ” วัดดอนแก้ว ” บรรจุพระเครื่องต่างๆอาทิ พระเปิม พระสาม พระบาง พระป๋วย และสร้างพระพุทธรูปหินแกะองค์ใหญ่เป็นต้น ทางทิศเหนือให้สร้าง ” วัดพระคงฤาษี ” บรรจุพระคง พระบางไว้เป็นสัญญลักษณ์ของวัด ทางทิศตะวันตก สร้างวัดมหาวัน บรรจุพระรอด พระรอดหลวงเป็นสัญญลักษณ์ของวัด ทางทิศใต้สร้างวัดประตูลี้บรรจุพระลือหน้ามงคล พระลือโขง พระเลี่ยงหลวง พระเลี่ยงเล็กเป็นสัญญลักษณ์ของวัด ด้วยความงดงามในรายละเอียดต่างๆในองค์

พระเลี่ยงเล็กพิมพ์นืยมซึ่งหากเรานำมาพิจารณาให้ดีในความหมายของลวดลายและองค์ประกอบของพุทธศิลป์ในองค์พระที่แปลกแตกต่างและมีความงดงามกว่าพระพิมพ์อื่นใดในพระชุดสกุลลำพูน พอจะอนุมานได้ว่า การสร้างพระเลี่ยงเล็กพิมพ์นิยมขึ้นมานั้น เป็นความตั้งใจสร้าง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความเป็นกษัตรีย์ ของพระนางจามเทวี ซึ่งมีข้อมูลที่เป็นข้อสังเกตหลายประการ โดยพิจารณา จากรูปลักษณะของศิลปะในองค์พระซึ่งมีความแตกต่างจากพระพิมพ์ทั้งหลายทั้งปวง ที่ได้ถูกสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน เป็นต้นว่า องค์พระตรงกลางที่เป็นองค์ประธานนั้นทรงเครื่องแบบพระมหากษัตริย์ อีกทั้งมีฉัตรอันเป็นเครื่องประดับยศชั้นสูงอยู่ข้างบน สองข้างของพระองค์กลาง ไม่ใช่เป็นไปของลักษณะเดียรถีย์ตามที่ว่ากันไว้ มีลักษณะขององค์พระกุมารสององค์มากกว่า การประทับนั่งก็นั่งอยู่ในท่ามหาราชลีลา สังเกตดูตรงรอบเศียรองค์ที่ติดพิมพ์ชัดเจนั้นจะมีซุ้มรัศมีโดยรอบเศียร เหนือเศียรขึ้นไป ก็เป็นฉัตรประดับทั้งสองด้าน แสดงให้เห็นว่าเป็นการประดับเกียรติแก่เจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงค์ ชั้นสูง

ส่วนตรงฐานชั้นล่างถัดลงไป ทำเป็นหัวช้างซึ่งเป็นเครื่องประดับยศที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง กล่าวคือในสมัยโบราณนั้น ช้างจะมีไว้สำหรับเจ้านายชั้นสูง หรือบรรดาข้าราชการที่มียศตำแหน่งเท่านั้น คนธรรมดาสามัญ ไม่มีสิ่งเหล่านี้ และในเวลานั้นช้างเผือกคู่บารมีก็ได้เข้ามาสู่พระนครคือ “ ช้างปู้ก่ำงาเขียว ” จึงเป็นการเหมาะอย่างยิ่งที่จะประกาศเกียรติคุณแห่งพระนางและราชโอรสแฝดให้เป็นที่ประจักษ์แก่ทวยประชาราษฎร์ทั้งปวง ด้วยเหตุดังกล่าว พระเลี่ยงเล็กพิมพ์นิยมนี้น่าจะมีความหมายถึง พระนางจามเทวีและองค์ราชบุตรฝาแฝด ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

พระเลี่ยงขึ้นอยู่หลายกรุ หลายแห่ง แต่สุดยอดของพระเลี่ยงก็คือกรุของวัดประตูลี้นั่นเอง สำหรับเรื่องพิมพ์ทรงของพระเลี่ยงนั้นมีกันหลายพิมพ์ และมีหลายขนาด ลวดลายหรือความแตกต่างก็มีให้ได้เห็นในแต่ละแบบและแต่ละชนิด ในครั้งนี้จะขอพูดถึงพระเลี่ยงพิมพ์นิยมกันก่อน สำหรับพิมพ์อื่นๆหากมีโอกาสก็จะนำมาเสนอต่อไป พระเลี่ยงพิมพ์นิยมนั้นมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด รายละเอียดของพิมพ์ทรงก็มีแตกต่างกันบ้าง

แต่ภาพโดยรวมก็ จะคล้ายคลึงกัน จะมีแตกต่างบ้างก็คือฝีมือเชิงช่างในแต่ละบล๊อกเท่านั้น เป็นที่น่าเสียดายอย่างหนึ่งก็คือ ตรงส่วนที่เป็นปลายแหลมของพระเลี่ยงนั้น จะชำรุดและแตกหักเสียหายเป็นส่วนใหญ่ เพราะตรงปลายที่แหลมจะยาวและมีขนาดเล็กมาก จึงเป็นการยากที่จะต้องระมัดระวังในเวลาที่ทำการขุดหาซึ่งจะมีผลเสียหายเกิดขึ้นถ้าหากไม่ ระวังในการขุดให้ดี ดังนั้นการที่จะพบเห็นพระเลี่ยงที่มีความงามและสมบูรณ์พร้อมจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะยาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีให้ได้พบเห็นเลย ผู้เขียนจึงได้นำองค์พระที่สมบูรณ์และงามพร้อมพอที่จะเป็นต้นแบบของพระเลี่ยงแท้ๆมาเสนอให้ได้ชื่นชมกัน จะได้รู้ว่า พระเลี่ยงที่สมบูรณ์พร้อมมีความงดงามและน่าเก็บสะสมไว้แค่ไหน

พระเลี่ยงเป็นพระเนื้อดินเผา ขนาดกลาง ไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป มีกันหลายสีตามสภาพของเนื้อดินที่ถูกเผา เช่น สีแดง สีขาว สีเนื้อ สีเทา สีดำ สีเขียวหินครก เป็นต้น พระเลี่ยงนั้นมีทั้งชนิดเนื้อหยาบ และเนื้อละเอียด สีของพระเลี่ยงที่ให้รายละเอียดมากที่สุดก็คือสีเขียวหินครก ทั้งนี้เป็นเพราะพระเลี่ยงสีนี้จะถูกไฟเผาในอุณหภูมิสูง จึงทำให้เนื้อขององค์พระแข็งแกร่งมาก การคงสภาพเดิมๆจึงมีมากกว่าพระในสีอื่นๆแม้ว่าจะจมอยู่ในน้ำหรือดินโคลนชนิดใดก็ตาม ความแข็งแกร่งของเนื้อหินครกนี้ จะคงความสมบูรณ์ของรายละเอียดขององค์พระได้เป็นอย่างดีพระเลี่ยงของกรูวัดประตูลี้ส่วนใหญ่มีเนื้อที่ค่อนข้างจะหยาบ แต่ที่เป็นเนื้อละเอียดก็มีให้ได้เห็นเช่นเดียวกับพระลือหน้ามงคล ซึ่งเป็นพระกรุเดียวกัน

 
โดย : hanuman2499    [Feedback +0 -0] [+0 -0]     [ 2 ] Thu 12, Feb 2015 14:03:44









 

เราจะมา พูดถึงส่วนต่างๆของพระเลี่ยงพิมพ์นิยมว่าจะมีลักษณะเช่นใด

1. พระเลี่ยงเป็นพระที่ทรงสวมมงกุฏ ทรงเทริดขนนก ที่บ่งบอกถึงความเป็นพุทธมหายานไว้อย่างเต็มตัว เป็นพระเครื่องที่มีรายละเอียดโดยรวมที่ไม่เหมือนพระชนิดอื่นๆที่มีขนาดเดียวกันและเป็นพระกรุที่มีอายุยาวนับพันปี

2. มงกุฎที่สวมใส่ ของพระเลี่ยงเล็กพิมพ์นิยมนี้ จะมีความแตกต่างของแต่ละพิมพ์ ซึ่งจะต้องสังเกตพระในแต่ละองค์ ก็จะเห็นความแตกต่างนั้นๆ ลักษณะของมงกุฎเป็นแบบมีกลีบ 3. กลีบแบบเดียวกับมงกุฎของพระสิบสอง ดูแปลกตาและสวยงามดี

3.วงหน้าขององค์พระจะยาวตรงส่วนคางจะแหลมนิดๆพองามสมลักษณะ ภาพโดยรวมเมื่อมีมงกุฎสวมอยู่ ก็ดูสง่าเหมาะสมกับความเป็นพระพิมพ์อันล้ำค่า

4. พระเลี่ยงมีดวงตาที่กลม โต นูนสูงออกมา ดวงตาเป็นตาเนื้อ แม้องค์พระจะมีขนาดเล็กแต่ก็ได้ให้รายละเอียดในทุกส่วนได้อย่างน่าทึ่งในฝีมือของเชิงช่างชั้นสูงได้เป็นอย่างยิ่ง

5 . หูทั้งสองข้างของพระเลี่ยงประดับด้วยกุณฑล คือต่างหู ที่ยาวห้อยย้อยลงมาพาดตรงบ่าอย่างแนบเนียนกลายเป็นส่วนหนึ่งของลายประดับได้อย่างน่านิยม ความละเอียดของฝีมือนั้นทำให้เราได้เห็นแม้กระทั่งร่องของกุณฑลเป็นร่องยาวอย่างน่ารัก

6.ส่วนที่เป็นหน้าอกของพระเลี่ยงซึ่งเป็นพระแบบทรงเครื่อง อย่างกษัตริย์นั้น มีกรองศอหรือสร้อยคอประดับอยู่อย่างเห็นได้ชัด ตรงไหล่ซ้ายและขวา จะมองเห็นส่วนปลายของต่างหูที่ห้อยลงมาพาดบ่าทั้งสอง เป็นส่วนประกอบให้ลวดลายบนหน้าอกดูเด่นยิ่งขึ้นมีความลงตัวในส่วนนี้ได้อย่างเหมาะเจาะ

7. ลำองค์หรือลำตัว ของพระเลี่ยงนั้นงามได้สัดส่วนดี เรียกได้ว่าสมส่วนด้วยประการทั้งปวง ลักษณะเป็นรูปตัววี ซึ่งพระแท้ของศิลปะหริภุญไชยจะมี ความเป็นเอกในเรื่องโครงสร้างให้ลองพิจารณาพระชนิดอื่นประกอบด้วยก็จะมีความเข้าใจในแง่นี้

8.ส่วนท้องของพระเลี่ยง ไม่ป่องและไม่เรียบแบนจนเกินไป ไม่ปรากฎรอยของสะดือ ตรงส่วนท้องนี้จะมีเส้นเล็กๆพาดยาว แสดงถึงขอบของสบง หรือเครื่องนุ่งห่มส่วนล่าง

9 .หน้าตักหรือพระเพลา งามเหมาะพอตัว มีสัดส่วนที่ดี ประทับนั่งในท่าสมาธิเพชร เท้าขวาทับเท้าซ้าย

10. ส่วนแขนหรือพระพาหา แขนขวาขององค์พระ กางออกจากลำตัวเล็กน้อย วางทอดตัวลงมาจากบ่าขวา พาดลงมาตรงบริเวณเข่าขวา ฝ่ามือจะแบออก นิ้วจะแตะกับพื้นบัลลังก์ แขนซ้ายขององค์พระ วางทอดลงมาจากไหล่ซ้าย ลำแขนจะกางออกจากองค์พระเล็กน้อย วางทอดลงมา เป็นจังหวะ 3.จังหวะ วางพาดลงบนหน้าตัก

เช่นเดียวกับการวางแขนของพระรอด ฝ่ามือจะแบออกวางอยู่ตรงเหนือ ส้นเท้าซ้ายที่โผล่ให้เห็น ตรงกลางของลำแขนซ้าย จะเห็นชายจีวร วางพาดลงมายังส่วนของหน้าขาซ้ายด้านใน

11.ส่วนฐานที่ประทับนั่งนั้น ทำขึ้นมาด้วยความปราณีตบรรจง มองดูสวยงามและแปลกตากว่าฐานของพระชนิดอื่นใดองค์พระเลี่ยงไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่โตอะไรมากนัก แต่เส้นสายรายละเอียดในองค์พระนั้นมีมากมายและงดงามอย่างน่าทึ่ง แสดงถึงความทุ่มเทเพื่อจะสร้างพระเลี่ยงนี้ให้เป็นสุดยอดของพระเครื่องโดยแท้จริง

ฐานของพระเลี่ยงแบ่งออกเป็นสามชั้น ฐานชั้นบนจะมีอยู่สองแบบ คือแบบที่หนึ่งจะเป็นแบบฐานบัวเม็ดกลมซึ่งเป็นฐานที่มีบัวลูกแก้วเป็นตัวประดับที่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ เรียงรายกันทั้งบนและล่างตลอดแนวของฐานที่ประทับ ซึ่งจะแยกเป็นลักษณะของพระเลี่ยงพิมพ์หนึ่ง ส่วนฐานที่ประทับอีกแบบหนึ่งนั้นคือพระเลี่ยงแบบฐานเป็นลักษณะบัวเหลี่ยมที่วางซ้อนกันทั้งบนและล่างตลอดแนวของฐาน นี่ก็เป็นพระเลี่ยงอีกพิมพ์หนึ่ง

ฐานชั้นที่สอง ซึ่งเป็นฐานชั้นตรงกลาง ฐานชั้นนี้มีความแปลกและมีความหมายสำคัญที่บ่งบอกถึงสถานะภาพขององค์พระที่ประทับนั่งอยู่เหนือขึ้นไป ว่าอยู่ในฐานะที่สูงส่ง ถึงชั้นของพระมหากษัตรืย์เลยทีเดียว ฐานชั้นนี้ทำเป็นรูปหัวช้าง เรียงกันถึงสามหัว ระหว่างหัวช้างแต่ละหัวนั้นจะถูกคั่นด้วยช่องเล็กๆ ที่อยู่ลึกลงไป สองช่อง ในแต่ละช่องให้สังเกตดูก็จะเห็น มีขีดเล็กๆ 2 ขีดรวมสองช่องก็ จะเป็น 4 ขีด ขีดที่มีอยู่ในแต่ละช่องนั้น จะไม่ขีดจนเต็มเนื้อที่ แต่จะเป็นขีดที่ยาวเพียง 3/4 ฃองช่อง ด้านล่างจะเป็นรอยบุ๋มลึกลงไป จึงทำให้ขีดที่มีอยู่ดูลอยตัวขึ้นมาด้านบนดูมีมิติ ขีดทั้งสองนั้นก็คือ “ หูช้าง ” ของหัวช้างทั้งสามนั่นเอง ให้พิจารณาดู หัวช้างตรงกลางจะมีสองหูคือทางซ้ายและขวา ที่เหลือคือใบหูของหัวช้างทางด้านซ้ายและทางขวา หัวช้างทั้งสามหัวของ พระเลี่ยงองค์ที่ติดพิมพ์ชัดเจน จะเห็น ตะพองหัว ตา หู งวง งา ครบถ้วน งวงช้างทางด้านขวานั้นจะม้วนงวงไปทางด้านขวา หัวช้างทางด้านซ้าย จะม้วนงวงไปทางด้านซ้าย สำหรับหัวช้างตรงกลางจะม้วนงวงไปทางด้านซ้าย เป็นจุดสังเกตจุดหนึ่งของพระเลี่ยงเล็กพิมพ์นิยม

ฐานชั้นที่สาม เป็นฐานรองรับฐานด้านบน เป็นการทำให้องค์พระมีความลงตัวและเรียบร้อยไม่ขัดต่อสายตาฐานชั้นนี้ทำเป็นเส้นที่ไม่นูนหนามาก แต่ก็มีความเหมาะสมดีไม่น่าเกลียด ถัดจากฐานชั้นนี้ก็จะเป็นก้นฐานที่พับขึ้นมาทางด้านหน้าใกล้เคียงกันฐานของพระรอด

12 .บังสูรย์หรือซุ้มรัศมีของพระเลี่ยง ดูงามเด่นเป็นสง่าและมีความชัดเจนกว่าพระชนิดอื่นใด ช่างศิลป์ได้ทำเป็นรูปกลีบบัวปลายแหลม เส้นซุ้มรัศมีนี้จะเป็นเส้นที่เล็กแหลมคมงดงามดูมีมิติ เริ่มต้นจากตรงริมสุดของหัวไหล่ทั้งสองข้าง โค้งขึ้นไปจรดกับซุ้มด้านบนสุด เหนือยอดมงกุฎที่เป็นยอดปลายแหลม การโค้งขึ้นไปของเส้นซุ้มรัศมีนี้ ทั้งสองด้านได้สัดส่วนสวยงาม ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป สังเกตตรงส่วนของปลายมงกุฎที่แหลม จะอยู่ตรงจุดที่พอดีกับปลายแหลมของซุ้ม ทำให้ดูไม่ขัดตา เพราะเส้นซุ้มมีความชัดเจนดี จึงทำให้เศียรของพระดูโดดเด่นและงดงามยิ่ง

13. เหนือขึ้นไปด้านบนของซุ้มรัศมี จะทำเป็นฉัตร 5.ชั้น ฉัตรนี้เป็นของสูงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีคุณูประการต่อเหล่าปวงประชา เรียกว่าเป็นฉัตรยอด คือเศวตรฉัตรเหนือบัลลังก์

14.ฉัตรที่อยู่ถัดลงมาคือฉัตรกลาง จะเห็นอยู่ตรงสองข้างของซุ้มรัศมีที่อยู่ด้านข้างตรงแนวของมงกุฎ ฉัตรนี้เริ่มจากส่วนบนของปลายยอดฉัตรล่าง โค้งไปตามแนวของเส้นบังสูรย์ ส่วนปลายของฉัตรกลางนี้จรดกับชั้นล่างสุดของฉัตรยอด รูปร่างของฉัตรชั้นกลางนี้ทำเป็นลวดลายกลมๆเล็กๆวางเรียงขึ้นไปข้างละสามอัน ถัดขึ้นไปจะเป็นส่วนปลายที่ทำเป็นสามเหลี่ยมก้นมนปลายแหลม ทั้งสองด้านทำเป็นแบบเดียวกันคือให้มองดูลงตัวเหมาะสม ที่ต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะเนื้อที่มีจำกัด และเนื้อที่ตรงส่วนนี้แคบมาก จึงต้องประดิษฐ์คิดทำให้ดูดี ส่วนตรงปลายบนจะมีลักษณะเรียวแหลม แสดงให้เห็นเป็นส่วนของยอดฉัตร พิจารณาอย่างละเอียดจะเห็นความคมชัดของลวดลายของฉัตรชั้นนี้ ซึ่งตรงจุดนี้ของปลอมจะเบลอไม่มีความชัดเจนและมีความเทอะทะ เป็นจุดสังเกตอีกจุดหนึ่ง

15. ฉัตรล่างนั้นจะเริ่มจาก เหนือซุ้มรัศมีของพระกุมารขึ้นไป เป็นลักษณะของฉัตร สี่ชั้นทั้งสองข้าง ในบางพิมพ์ก็มีเพียงสามชั้นแตกต่างกันไป ฉัตรที่อยู่ด้านบนสุดของฉัตรกลุ่มนี้จะมีส่วนปลายแหลมมีความคมและชัดเจนดี

16.วงนอกของฉัตร จะมีเส้นเป็นขอบปริมณฑล เป็นเส้นเล็กๆที่กั้นส่วนของฉัตรไว้ภายใน เป็นเส้นนูนที่มีความชัดเจนมาก เส้นนี้จะเดิ นรอบฉัตรด้านนอก วิ่งขึ้นไปจรดปลายแหลมส่วนบนสุด หากเส้นนี้ใหญ่ ไม่คมชัดมีลักษณะเหมือนหวายผ่าซีก ให้ตัดสินว่าไม่ใช่ของแท้

17. นอกจากจะมีเส้นขอบปริมณฑลแล้ว โดยรอบของเส้นขอบปริมณฑล ยังทำลวดลายเป็นเม็ดบัวเล็กๆเรียงรายขึ้นไปโดยรอบจะเรียกว่าบัวเม็ดไข่ปลาอีกชั้นหนึ่ง ลวดลายของบัวเม็ดไข่ปลาที่เรียงรายขึ้นไปทั้งสองด้านดังกล่าวทำอย่างงามเรียบร้อยเสมอกันหมด ตั้งแต่ส่วนล่างริมขอบสุดของฐานไปจนถึงปลายแหลมด้านบน ทั้งสองข้างจะทำเหมือนกัน เป็นความตั้งใจของฝีมือเชิงช่าง ที่มีความคิดในการประดิษฐ์ลวดลายใส่ไว้ในองค์พระปฏิมาขนาดเล็กได้อย่างน่าทึ่งและน่าประทับใจ

18.สองข้างขององค์พระที่เป็นองค์ประธานนั้น จะเป็นพระกุมารตัวน้อยๆนั่งชันเข่าในท่าที่สบาย เหนือเศียรขององค์กุมารทั้งสององค์ที่ติดพิมพ์ชัดเจนจะเห็นซุ้มรัศมีประดับโดยรอบ แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีบุญ และเหนือซุ้มรัศมีขึ้นไปก็จะเป็นฉัตรประดับอยู่ แสดงถึงสถานะของผู้ที่ประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้นว่าอยู่ในสถานะใดมี ความสำคัญระดับไหน ให้ท่านตั้งข้อสังเกตดู

 
โดย : hanuman2499    [Feedback +0 -0] [+0 -0]     [ 1 ] Thu 12, Feb 2015 14:01:00

 
ประมูล พระเลี่ยงลำพูน : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.