พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระสกุลลำพูน

พระลือโขง ลำพูน เนื้อแกร่ง


พระลือโขง ลำพูน เนื้อแกร่ง


พระลือโขง ลำพูน เนื้อแกร่ง

ชื่อพระ :
 พระลือโขง ลำพูน เนื้อแกร่ง
รายละเอียด :
 พระลือโขง ลำพูน กรุสันกู่เหล็ก
 
ราคาเปิดประมูล :
 1000 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 1500 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 500 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 ความพอใจในการตกลง

ผู้ตั้งประมูล :
 นายเจริญ รอบรู้
ที่อยู่ :
 34 ม. 5 ต. บ้านแหวน อ. หางดง จ. เชียงใหม่ ไทย

เบอร์โทรติดต่อ :
  0817644954, 0817644954
E-mail :
 -

ชื่อบัญชี :
 นายเจริญ รอบรู้
เลขที่ บัญชี :
 5662570247
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 คณะแพทย์ฯ

วันที่ :
 Fri 16, Jul 2010 09:54:21
โดย : chareon    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Fri 16, Jul 2010 09:54:21
 
 
พระลือโขง หรือพระเครื่องเนื้อดินเผาที่คุณเชียร ธีระศานต์ ปรมาจารย์พระเครื่องอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้วได้เรียกชื่อให้ใหม่อย่างไพเราะเพราะพริ้งว่า “พระจามเทวีเศรษฐีเรือนแก้ว” ซึ่งก็เป็นชื่อที่ดุจะเหมาะสมมากอยู่แต่ฟังดูออกจะยาวและออกจะกระเดียดไปทางภาษากลางไปสักหน่อย เมื่อฟังให้ดีแล้วชื่อ “พระลือโขง” นั้นรู้สึกจะดีที่สุดเพราะเรียกได้ง่าย กระชับ สื่อความหมายได้ดีมากโดยเฉพาะเป็นภาษาพื้นบ้านพื้นเมืองของจังหวัดลำพูนอันเป็นถิ่นกำเนิดของพระเครื่องชนิดนี้และเป็นภาษาโบราณที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ คำว่า “โขง” กับ “ขง” ไม่เหมือนกัน โขงแปลว่าซุ้ม แตกต่างกับคำว่า “ขง” ที่แปลว่า กรงที่ใช้สำกรับขังคนหรือสัตว์ ดังนั้นจึงอย่าไปเขียนเข้าเลยว่า “พระลือขง” จะหมายถึงพระลือที่อยู่ในกรงขังซึ่งมีผู้ที่เข้าใจผิดเขียนไปเช่นนั้นเข้าบาปกรรมเปล่าๆ ที่ถูกต้องก็คือ “พระลือโขง” อันหมายถึง พระลือที่ประทับอยู่ภายใต้ซุ้มนั่นเองจะเหมาะสมและมีความหมายอย่างน่าประทับใจมากกว่ากันเยอะเลย
พระลือโขงจัดได้ว่าเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาของพระเครื่องชุดสกุลลำพูนเป็นพระเครื่องขนาดกลางไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไปขนาดขององค์พระจะมีขนาดพอ ๆ หรือใกล้เคียงกับพระสามวัดดอนแก้ว พระเปิมพิมพ์ของวัดพระธาตุหริภุญชัยจะเล็กกว่าพระสามท่ากาน พระเหลี้ยมหลวง พระสิบสอง
พระสิบแปดมาก กล่าวได้ว่า พระลือโขง นั้นมีขนาดพอเหมาะซึ่งมีขนาดกว้าง ๒ พ เซนติเมตร สูง ๕ เซนติเมตร หน้า ๑ ผ เซนติเมตร
“พระลือโขง” จัดได้ว่าเป็นพระเครื่องที่หายากเอามาก ๆ องค์ที่สวย ๆ สมบูรณ์ ๆ ได้ถูกอาราธนาย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างจังหวัดนอกเขตเมืองลำพูนไปเกือบหมดแล้วจะมีหลงเหลือให้เห็นภายในเมืองลำพูนจริง ๆ นั้นมีเพียงไม่กี่องค์ จะพูดกันอย่างง่าย ๆ ก็คือตอนนี้จะหาพระรอดแท้ ๆ หรือพระคงแท้ ๆ สักองค์หนึ่งให้ได้นั้นจะหาง่ายกว่าการหาพระลือโขง องค์ที่สวยและสมบูรณ์ให้พบเสียอีก “พระลือโขง” พิมพ์นิยมนั้นมีขึ้นและขุดได้อยู่กรุเดียวเหมือน ๆ กับพระรอด ยอดพระเครื่องและที่แห่งนั้นเป็นที่แห่งเดียวเท่านั้นที่ขุดพบพระเครื่องชนิดนี้นั้นก็คือ “กรุกู่เหล็ก” ของทุ่งกู่ล้าน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดสังฆาราม (ประตูลี้) อำเภอเมืองลำพูนมากนัก ปัจจุบัน “กรุกู่เหล็ก” นั้นจะอยู่ในบริเวณโรงเรียนอรพินพิทยาและวัดกู่เหล็ก ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งรายล้อมไปด้วยชุมชน และบ้านจัดสรร
“พระลือโขง” เท่าที่ได้มีการขุดพบนั้นมีอยู่หลายพิมพ์และมีหลากหลายสี เช่นเดียวกับพระในชุดสกุลลำพูนแบบชนิดอื่น ๆ สำหรับในด้านเนื้อหานั้นพระลือโขงมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พระเนื้อหยาบจะมีเม็ดแร่ขึ้นพราวอยู่ทั่วทั้งองค์พระพราวไปทั่วเนื้อจะเป็นรูพรุนด้วยศิลาแลงที่จับเกาะติดแน่นอยู่ เมื่อใช้กล้องจับตาดูจะดูงดงามและมีเสน่ห์ไปอีกแบบหนึ่งในความมีอายุเก่าแก่ขององค์พระ สำหรับพระที่มีเนื้อละเอียดนั้นจะมีเนื้อที่พอ ๆ กับพระคงหรือพระเปิมแต่ไม่ละเอียดเท่ากับเนื้อของพระรอดแห่งวัดมหาวัน เนื้อหาของพระลือโขงโดยส่วนใหญ่ที่ทำการขุดได้จะมีขี้กรุแน่นหนามากล้างออกยากล้างไม่ค่อยจะออกง่ายๆ ขี้กรุที่ติดอยู่แน่นนั้นจะมีลักษณะเป็นสนิมเหล็กสี
น้ำตาลหรือสีแดง ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “น้ำฮาก” ซึ่งน้ำฮากนี้เอาติดแน่นกับดินขี้กรุล้างออกยากมาก
“พระลือโขง” ก็ได้ขึ้นจากกรุแห่งนี้เป็นจำนวนมากในปี พ.ศ.๒๕๒๓ นั้นศิลปกรรมอันงดงามของพระลือโขงก็ได้ออกมาปรากฏโฉมให้โลกได้รับรู้ซึ่งก็เป็นที่ฮือฮากันอย่างมากในวงการนักนิยมพระเครื่องที่งดงามอลังการมากกว่าพระเครื่องของยุคใด ๆ ซึ่งจะหามาเปรียบได้ยากมาก พระลือโขงเป็นที่ยอมรับของนักเล่นพระในส่วนกลางคืนกรุงเทพฯ ว่าสวยงามที่สุดมีอายุเก่าแก่สมค่ามากที่สุด พระลือโขงจึงเป็นพระเครื่องที่เป็นที่ต้องการของนักเล่นพระที่ตาถึงโดยแท้เสียแต่ว่าออกจะหายากมากไปสักหน่อย
“พระลือโขง” เท่าที่ได้พบเห็นนั้นแบ่งออกได้เป็น ๒ พิมพ์คือ พระลือโขง พิมพ์เกศ และอีกพิมพ์หนึ่งก็คือ พระลือโขง พิมพ์เศียรกลม พระลือโขงทั้ง ๒ พิมพ์นี้มีอยู่หลายขนาดและมีความแกต่างกันไปตามรูปแบบเราจะมาคุยกัน พระลือโขงพิมพ์มีเกศกันก่อน
๑. พระลือโขง พิมพ์มีเกศนั้นแบ่งออกเป็น พระลือโขงมีเกศแบบตัดขอบเรียบร้อยไม่มีปีกข้างหรือดินเหลือยื่นออกมาด้านข้าง ด้านหลังจะบางไม่นูนมากและมีฐานไม่ใหญ่มากจนเกินไปจะดุพอดีและงดงามเรียบร้อยพอตักจัดเป็นพิมพ์ที่ดูพิมพ์สมบูรณ์แบบและลงตัวอย่างเรียบร้อยผิดกับพิมพ์มีเกศที่ไม่ตัดขอบข้ามีดินเหลือมากล้นเป็นปีกยื่นออกมาเหมือนกับว่า ช่างไม่มีความตั้งใจในการทำพิมพ์ล้ามากจนเกินงามไป สำหรับพระลือโขงพิมพ์มีเกศนี้เกศขององค์พระจะมีลักษณะเป็นเกศตุ้มไม่ได้เป็นเกศรัศมีเปลวเพลิงอย่างที่บางคนเข้าใจและให้ข้อมูลไปอย่างผิด ๆ เกศจะเป็นการรวบเกล้าเป็นมวยมุ่นขึ้นไปเหมือนเกศโยคี หากเราจะดุเกศรัศมีเปลวเพลิงนั้นจะเป็นเกศของพระในรุ่นหลัง ๆ เช่น เกศ
ของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่มีอายุรุ่นหลังกว่าพระพุทธรูปหรือพระเครื่องศิลปหริภุญไชยหากจะนับเป็นระยะเวลาก็จะห่างกันกว่า ๗๐๐-๘๐๐ ปีเลยทีเดียว
หากเราจะพิจารณาดูลักษณะเกศตุ้มของพระลือโขง พิมพ์จะมีเกศนั้นจะเห็นได้ว่ามีลักษณะของเกศเหมือน ๆ กับเกศของพระรอดพิมพ์ตื้นและพระรอดพิมพ์ต้อและจะเปรียบเทียบได้กับเกศของพระเสตังคมณีหรือพระแก้วขาวที่ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดเชียงมั่น เชียงใหม่และเหมือน ๆ กับเกศของแม่พระรอด หรือพระสิกขีปฏิมาในพระวิหารวัดมหาวัน ซึ่งจากการพิจารณาดูแล้วก็พอที่จะยืนยันได้ถึงความเกี่ยวพันทางศิลปะของกันและกันอันเป็นแนวร่วมขององค์ศิลปะในแนวทางเดียวกันอย่างเห็นได้ชัดลักษณะโดยรวมตลอดจนหน้าตาของพระลือโขง พิมพ์มีเกศนั้นจะดูแตกต่างกับพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมอย่างมากมายพระลือโขง พิมพ์มีเกศนั้นไม่มีเม็ดพระศกให้เห็น ใบหน้าจะดูดุดัน เคร่งขรึม ตาจะเป็นเม็ดนูนโปนออกมาอย่างเด่นชัด คิวจะเป็นรูปปีกกาตามลักษณะของคิ้วขอม หน้าผากจะอูมเด่น จะเห็นไรพระศกเป็นวงโค้งอย่างชัดเจน จมูกจะบานใหญ่ ปากจะเป็นฟื้นจนดูน่าเกรงขามเย็นยะเยือก หูทั้งสองข้างจะยาวจรดบ่า หูข้างซ้ายจะยาวกว่าหูข้างขวา การห่มจีวรจะเป็นการห่มดองมีสังฆาฏิพาดบ่าลงมาเกือบจะถึงท้องซึ่งจะมีเส้นรัดประคดยาวลาดผ่านท้องด้านล่างไปสุดตรงกลางช่องแขนขวา องค์กระลือโขงพิมพ์นี้จะยึดตัวตั้งตรงอย่างเป็นสง่า เอวจะกิ่วคอดอย่างได้สัดส่วนงดงาม การประทับนั่งขององค์กระจะประทับนั่งดูเด่น เป็นสง่าดูน่าเกรงขามประทับนั่งในท่าของปางมารวิชัยโดยมีมือขวาวางอยู่บนเข่าขวาให้เห็น หัวเข่าด้านขวายื่นออกมาอย่างเด่นชัด มือซ้ายวางพาดตักอย่างสบายประทับนั่งอยู่บนบัลลังก์ซึ่งมีผ้าทิพย์เป็นรูปโงครึ่งวงกลมอยู่ตรงกลางระหว่างขาทั้งสองที่ขัดกัน ด้านล่างของบัลลังก์ก็เป็นแอ่งโดยรอบซึ่งเว้าตรงกลางระหว่างกลางตรงด้านข้างบนจะเป็นรูปดอกบัวโยรอบ
ด้านล่างจะเป็นเม็ดลุกแก้วกลม ๆ ทำเป็นแถวเป็นแนวอย่างมีระเบียบดูงดงามยิ่ง ตรงข้าม ๒ ข้างขององค์พระจะทำเป็นลายกนกดอกบัวตั้งและดอกบัวตูมหักงอพับโค้งลงมาเรียกว่าตัวเหงาชูโชว์โค้งมนลงมาดูอ่อนช้อยงดงามยิ่งเป็นตัวลายประกอบที่ชูองค์พระให้ดูเด่นเป็นสง่ายิ่งขึ้น องค์พระนั้นทรงประทับนั่งภายใต้ซุ้มโค้งหรือโขงหรือซุ้มปราสาทที่สองข้างทำเป็นลวดลายหัวพระยานาคผงกหัวงอนอ่อนช้อยดูขลังมาก เหนือซุ้มโค้งด้านบนจะเห็นเป็นก้านดอกบัวซึ่งเป็นดอกบัวตูมชูช่อพลิ้วไหวไปมาอย่างเริงร่าเมื่อคราต้องลมอันเป็นชีวิตชีวาที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในพระโพธิญาณแห่งพระพุทธองค์ทำให้เกิดความรู้สึกทึ่งในความมีจินตนาการของจิตวิญญาณในเชิงศิลป์ของเชิงช่างสมัยหริภุญไชยเป็นอย่างมาก หากท่านผู้อ่านได้เห็นและสัมผัสกับองค์พระจริง ๆ แล้วจะรู้สึกว่าพระลือโขงพิมพ์มีเกศนั้นสวยงาม สง่าเหนือรูปภาพและคำบรรยายจริง ๆ
๒. สำหรับพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมนั้นแบ่งออกเป็นหลายพิมพ์เป็นต้นว่า พิมพ์หัวเอียง พิมพ์ตัวตรง พิมพ์หน้ายิ้ม พิมพ์หน้าดุ และพิมพ์เล็ก พระลือโขงพิมพ์เศียรกลมนี้เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาที่จัดได้ว่าสวยงามมากที่สุดกว่าพระพิมพ์ชนิดใดๆ ทั้งสิ้น มีความวิจิตอลังการเป็นที่ยิ่งจัดได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างมากถือได้ว่าเป็นงานชิ้นโบว์แดงของศิลปหริภุญไชยแท้ ๆ เลยทีเดียว ในหน้าอันแย้มยิ้มขององค์พระได้แสดงถึงความเมตตา กรุณา ความสมบูรณ์พูนสุข ความร่มเย็นในร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี พระลือโขงพิมพ์นี้จึงเป็นพระเครื่องที่มีเสน่ห์พร้อมมูล เป็นพระเครื่องที่ดีเยี่ยมในด้านเมตตามหานิยมทางค้าขาย ความสมบูรณ์พูนสุขในชีวิตความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่ราชการงานธุรกิจ ถือได้ว่าเป็นยอดแห่งพระเครื่องโดยแท้มีผู้ที่ได้รับความเจริญรุ่งเรืองและอานิสงส์จากการเป็นเจ้าของพระลือโขงนี้อย่างมาก รายจนปรมาจารย์ทางพระเครื่องอาวุโสที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ
พระเครื่องสกุลลำพูนถึงกับยอมรับและให้ชื่อพระลือโขงนี้ใหม่ด้วยความเคารพศรัทธาว่า “พระจามเทวีเศรษฐีเรือนแก้ว”
เรามาพิจารณาในรายละเอียดของพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมกันดีกว่า พระเศียรจะเป็นเศียรกลมเหมือนกับลูกมะตูมมองดูผาด ๆ เหมือนกับว่าเศียรกระจะโล้น แต่เมื่อดูให้ดีจะเห็นมีเม็ดพระศกเป็นตุ่มกลมอย่างเห็นได้ชัด หากจะไม่นับพระเปิมเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องสกุลลำพูนแล้วพระลือโขง เศียรกลมนี้จะเป็นพระเครื่องที่มีเม็ดพระศกเด่นชัดอย่างที่สุด ยิ่งกว่าพระเครื่องใด ๆ ไรพระสกของพระลือโขงพิมพ์นี้ไมได้เป็นเส้นวาดโค้งเป็นแนวเหมือนกับพระชนิดอื่นๆ เป็นเพราะด้วยฝีมือของช่างหริภุญไชยได้จัดทำให้เม็ดพระศกเรียงเป็นแนวไรพระศกมองดูงดงามมาก รูปลักษณ์ของใบหน้าจะกลมแบนปรางจะดูอิ่ม แก้มจะยุ้ย ดวงตาทั้ง ๒ ข้างจะเป็นตาแบบมนุษย์จริง เป็นเม็ดนูนงามไม่โปนเหมือนกับของพระคง ตาของพระลือโขงพิมพ์นี้จะต่างกับตาของพิมพ์มีเกศอย่างเห็นไม่เหมือนกันเลย จมูกไม่ใหญ่มากนักจมูกคล้ายกับคนธรรมดาดูเรียบร้อย ส่วนปากจะมีปากที่พอดีปากไม่กว้างไม่ยื่นออกมาไม่เป็นปื้นใหญ่เหมือนกับของพิมพ์มีเกศปากเชิดนิด ๆ ลักษณะปากจะเป็นแบบนิดจมูกหน่อยภาพโดยรวมของใบหน้าจะแสดงให้เห็นถึงความเมตตากรุณามุฑิตาและอุเบกขาอย่างเต็มเปี่ยม ใบหูของพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมนี้ซึ่งจะทำให้หูได้งามมากไม่ได้ทำเป็นหูเดี่ยวๆ หรือทำเป็นเส้นนูนเฉย ๆ หอของพระลือโขงพิมพ์นี้จะทำเป็นนูนคู่โค้งแนบแก้วและตวัดออก ตอนปลายของติ่งหูดูงดงามอ่อนช้อยในเชิงศิลปะอย่างยอดเยี่ยม ใบหูทั้งสองดูจะเป็นใบหูของพระพุทธรูปบุชาอย่างแท้จริงจึงดูขลังมาก
ลำคอของพระลือโขงไม่ได้ทำเป็นลำเหมือนคอคนธรรมดา ด้วยเชิงศิลปะอันสูงส่งจึงวางเศียรได้เหมาะเจาะให้มีช่องกว้างระหว่างใต้คางและยอดอก
จึงทำให้มองเห็นเป็นลำคอได้อย่างลงตัว หน้าอกของพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมดูนูนเด่นอกจะตั้งสวยงามน่ารักมากอกรับกับท้องที่คอดกิ่งกลมกลึงเหมือนกับเอาของเด็กสาว การครองจีวรเป็นแบบห่อดองไม่ใช่ห่มคลุมเหมือนกับพระคงหรือพระบางทำให้เห็นแนวสังฆาฏิของเส้นอย่างขัดเจน เส้นสังฆาฏินั้นได้ทำไว้อย่างอ่อนช้อยดูพลิ้วโค้งอย่างสวยงาม ขอบจีวรด้านบนจะทำเป็นเส้นนูนคมโค้งมนตลอดใต้ราวนมด้านขวาขององค์พระโดยมีด้านปลายข้างหนึ่งจรดสังฆาฏิโดยมีอีกด้านหนึ่งชอนเข้าไปในซอกแขนขวาขององค์พระ แขนขวาขององค์พระจะทิ้งตรงลงมาจากไหล่ขวาลงมาถึงศอกซึ่งวางอยู่บนตักแล้วพาดออกไปวางมือบนปลายเข่าขวาในทางสบาย ๆ นิ้วมือทั้งหมดชี้ลงด้านล่างเกือบจรดฐานบัลลังก์ เห็นนิ้วทั้ง ๕ ได้อย่างขัดเจน แขนซ้ายจะทิ้งดิ่งลงมาโดยกางแขนออกเล็กน้อยข้อศอกนิด ๆ เข้าหาตักวางมือพาดตักเข้ามาด้านใน อุ้งมือนั้นหงายขึ้นมองด้านตรงจะเห็นเป็นข้างมือ ที่ข้อมือจะเห็นเป็นเส้นจีวร ๓ เส้นจะเห็นเป็นเส้นนูนกลมคมเล็กและโค้งมนอย่างสวยงามดูคล้ายกำไรแขนแต่ไม่ใช่ สำหรับหน้าตักของพระลือโขง พิมพ์เศียรโล้นนี้จะประทับนั่งในลักษณะสมาธิเพชรตามความนิยมของศิลปะในยุคนั้นด้วยความลงตัวขององค์ประกอบแห่งศิลปะและลักษณะขององค์พระที่ได้สัดส่วนจึงทำให้ดูองค์พระจะโดดเด่นเป็นสง่านาซึ้งตาซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง
หากจะพูดโดยรวมแล้วพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมนี้มีความงามโดดเด่นอลังการมากที่สุดยิ่งกว่าพระพิมพ์ชนิดใดๆ ทั้งสิ้นจากขนาดองค์พระซึ่งมีความกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ความสูง ๔.๕ เซนติเมตร ส่วนหนา ๑.๕ เซนติเมตร ช่างหริภุญไชยได้บรรจุลวดลายต่าง ๆ ซึ่งเป็นลวดลายกนกที่งดงามอ่อนช้อยลงไปให้งามพร้อมได้อย่างน่าอัศจรรย์ในฝีมือ ภาพลักษณ์โดยรวมของพระลือโขงนั้นจะมีรูปลักษณะเหมือนกับรูปนิ้วหัวแม่มือขนาดใหญ่ ตรงด้านปลายบนสุด
จะเรียวแหลมนิด ๆ เหนือสุดขององค์พระจะเป็นลวดลายของก้านดอกบัวตูมที่ชูช่อบานไสวพลิ้วไปมาเริงร่าราวกับจะท้าสายลมและแสงแดดว่าความสำเร็จหลุดพ้นนั้นได้บังเกิดขึ้นแล้วเปรียบเสมือนว่าดอกบัวได้ผุดโผล่พ้นขึ้นมาจากโคลนตมอันดำมืดสนิท ก้านบัวและดอกบัวถูกวางไว้ได้อย่างลงตัวและเหมาะเจาะดูไม่ขัดตาทำให้ดูเด่นสวยงาม ซุ้มโค้งหรือเรือนแก้วนั้นสองข้างเป็นลายกนกหัวพระยานาคที่ชูคอเด่นเป็นสง่าออกไปทั้งสองข้างราวกับจะเป็นการปกป้ององค์พระให้ปราศจากเภทภัยใด ๆ มาแผ้วพาน เหนือขึ้นไปตรงบนเศียรของพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมจะต่างกับพระลือโขง พิมพ์เกศ คือจะมีลายเมฆคลุมโค้งหลายชั้นเพื่อทำให้ไมเกิดช่องว่างมากเกินไปดูอลังการไปอีกแบบหนึ่ง ด้านสองข้างขององค์พระนั้นด้านบนจะทำเป็นบัวหักงอห้อยหัวลงมาเรียกว่า ตัวเหงาทำอย่างมีศิลป์ดูอ่อนช้อยบนเสาตรงด้านล่างจะเป็นตัวตั้งชูหัวรองรับตัวเหงาด้านบนได้อย่างเหมาะเจาะลงตัวใต้ขาที่ขัดสมาธิเพชรนั้นจะมีผ้าทิพย์โค้งมนกลมรองรับดูสวยงามกว่าของพระพิมพ์อื่น ๆ
ฐานที่ประทับเป็นลวดลายดอกกลีบบัวค่ำบัวหงายสลับกันเป็นลักษณะของบัวเล็บข้างทำเป็นเส้นนูนเด่นคมชัดดูมีชีวิตชีวา เมื่อเราได้พิจารณาองค์จริงของพระลือโขง พิมพ์มีเกศและพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมนั้นดูแล้วจะเกิดความรู้สึกอัศจรรย์ใจ ในความเป็นเอกทางศิลปของเชิงช่างศิลป์ หริภุญไชยอย่างเหลือเกิน แต่เนื่องด้วยความเป็นพระเครื่องที่มีจำนวนไม่มากและออกจะหาได้ยากมากจึงทำให้พระเครื่องชนิดนี้มีให้เห็นและนิยมชมชอบกันเพียงแค่ผู้รู้คุณค่าในวงแคบ ๆ เท่านั้น ถึงอย่างไรก็ตามการเสาะแสวงหาพระกรุทุกชนิดนี้มีให้เห็นและนิยมชมชอบพระเครื่องที่สวยงามและมีคุณค่าอย่างแท้จริงนั้นพระเครื่องและกรุที่ได้มานั้นจะมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งและมีโฆษณาด้วยอภินิหารต่างๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารพระเครื่องที่ออกมากันแกร่อคุณค่าของพระ
กรุนั้นมีคุณค่าสูงส่งทั้งในพระพุทธานุภาพ พุทธศิลป์ซึ่งเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวอย่างพร้อมมูลเราควรจะมีหลักการในการแสวงหากันให้ถูกต้องจึงจะเป็นการเชิดชูและอนุรักษ์พระกรุได้อย่างแท้จริง
ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า พระลือโขง พิมพ์เศียรกลมนั้นมีอยู่ ๕ พิมพ์คือ ๑. พิมพ์หัวเอียง ๒. พิมพ์หัวตรง ๓. พิมพ์หน้ายิ้ม ๔. พิมพ์หน้าดุ ๕. พิมพ์เล็กนั้น ลักษณะพิมพ์ทรงของพระลือโขงทั้ง ๕ พิมพ์นั้น จะมีลักษณะพิมพ์ทรงที่ใกล้เคียงกันมากในส่วนรายละเอียดต่าง ๆ นั้นจะมีเหมือนกันหมดจะแตกต่างกันก็แต่รูปลักษณะโดยรวมขององค์พระการพิมพ์ปีกขอบโดยรอบขององค์พระตลอดจนด้านหน้าด้านหลัง ฐานล่าง มุมบนจะนูนหนาหรือบางแตกต่างกันไปตามสภาพและความสวยงามของพระแต่ละองค์
พระลือโขง พิมพ์หัวเอียง จะเป็นพระลือโขง เศียรกลมที่สวยงามมากที่สุด ดวงหน้าจะอมยิ้มและหัวจะเอียงไปทางด้านขวามือเล็กน้อย รูปลักษณ์จะเหมือนกับคนแก่ที่กำลังครุ่นคิดและเต็มไปด้วยความเมตตาปรานีเป็นที่ยิ่ง การตัดขอบของพระพิมพ์นี้จะตัดขอบขององค์พระได้อย่างเรียบร้อยสม่ำเสมอไม่มีเนื้อเหลือนูนเป็นส่วนเกินองค์พระจะดูเรียบร้อยเอามาก ๆ องค์พระจะชัดเจนดูนูนเด่นเป็นสง่าสมบูรณ์งามพร้อมจริง ๆ เนื้อพระจะดูละเอียดมีคราบขี้กรุและคราบของสนิมเหล็กเกาะติดอยู่ซึ่งเป็นความงดงามไปอีกแบบหนึ่ง เพื่อพระจะแห้งมีความเก่าแก่อยู่ในตัวพร้อม พิมพ์นี้จะเป็นพระลือโขงที่นิยมกันเป็นอย่างมากองค์ที่สวยงามพร้อมจะนับราคาได้เป็นเรือนแสนขึ้นไปเลยทีเดียว
พระลือโขง พิมพ์ตัวตรง รูปลักษณ์โดยรวมจะเหมือน ๆ กับพระลือโขงพิมพ์อื่นๆ แต่การประทับนั่งนั้นจะดูเป็นว่านั่งตรง หัวจะตั้งตรงไม่เอียงซ้ายหรือขวา วงหน้าจะวางเฉย ดวงตาจะมองตรงไปด้านหน้าเหลือบลงต่ำเล็กน้อยดูสงบเยือกเย็น หู ตา ปาก จมูกติดชัดเจนดูน่าเกรงขามยิ่ง ผิวพระจะมีขี้กรุ
คราบกรุติดแน่นขี้กรุนั้นจะเป็นผงอิฐสีแดงเนื้อผางอิฐสีแดงเกาะอยู่เต็มดูงดงามไปอีกแบบหนึ่ง ขี้กรุที่ติดอยู่นี้บางคนนิยมมากเพราะเห็นว่ามีความสวยงามซึ้งดูจะมีความเก่าแก่จึงไม่นิยมที่จะเอาออกปล่อยให้ติดอยู่กับองค์พระเช่นนั้นโดยเขาบอกว่า มันจะดูเก๋าดี ซึ่งเป็นตามความชอบของนานาจิตตังและมันก็เป็นการคงสภาพของเดิม ๆ ให้เห็นเป็นของที่เก่าแก่ได้อย่างโดยแท้จริงซึ่งไม่มีใครที่จะทำขึ้นมาและเลียนแบบได้อย่างธรรมชาติ
พระลือโขง พิมพ์หน้ายิ้ม พระลือโขงพิมพ์นี้ใบหน้าจะเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ดวงตาจะอ่อนโยน การวางท่าจะอยู่ในท่าที่สบายดูจะไม่เคร่งเครียดและจริงจังมาก ดูลักษณะเขององค์พระเต็มไปด้วยพระเมตตาคุณพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งดูแล้วทำให้เกิดความชื่นชมในองค์ศิลปะที่ได้บงเกิดขึ้นอย่างเปี่ยมล้นเกิดความรู้สึกศรัทธาและเย็นใจภายใต้ร่มเงาแห่งพระบวรพุทธศาสนาอย่างมากมายอันถือได้ว่าเป็นพระเครื่องแห่งเมตตามหานิยมโดยแท้จริง
พระลือโขง พิมพ์หน้าดุ พระลือโขงนี้ห้าจะดูดุดันดูแล้วจะเป็นลักษณะหน้าขอมดวงตาโปนใหญ่ จมูกบาน ปากจะดูหนาดูเหมือนกับว่าจะเป็นแบบแสยะปาก การประทับนั่งดูขึงขังรับกับใบหน้าที่ดุจริงจังขึงขังแต่ก็เต็มไปด้วยความหนักแน่นไม่หวั่นไหวหรือสั่นคลอดจนในบรรดาสรรพสิ่งทุก ๆ อย่างที่จะมีมาแผ้วพาน พระพิมพ์นี้มีพระพุทธานุภาพทางข่ามคง คงกระพันชาตรี แกล้วกล้า มั่นคง หนักแน่นแต่ก็เพียบพร้อมไปด้วยพลังแก่งพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงส่งแฝงอยู่ พระลือโขงพิมพ์นี้หากจะมีสีเขียวหินครกหรือสีดำจะเป็นพระเครื่องที่มีเสน่ห์และมีอำนาจอย่างมากที่สุดซึ่งดูน่าเกรงขามเป็นที่ต้องการของบรรดาเซียนพระเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าหน้าดุเป็นหน้าขอมอันเป็นที่นิยมของชายชาตรี ที่จะต้องโลดแล่นในวงชีวิตที่ใช้กำลังอย่างกล้าแกร่ง
พระลือโขง พิมพ์เล็ก พระลือโขงพิมพ์นี้มีขนาดเล็กที่สุด จริง ๆ แล้วพระลือโขงนั้นมีหลายขนาดทั้งใหญ่และเล็ก เนื่องด้วยพระเครื่องชนิดนี้มีให้เห็นน้อยมาก จึงทำให้เข้าใจว่ามีพระพิมพ์นี้อยู่เพียงพิมพ์สองพิมพ์เท่านั้น ผู้เขียนได้พบเห็นพระเครื่องชนิดนี้มามากมายมีอยู่ในความครอบครองหลายต่อหลายองค์จึงสามารถยืนยันและเปรียบเทียบให้ท่านผู้อ่านได้รู้ได้เห็นอย่างเต็มปากเต็มคำไม่ได้เขียนด้วยยกเมฆหรือนั่งเทียนเขียนเอาโดยไม่มีหลักฐานให้เห็น ผู้เขียนได้นำเสนอให้ท่านผูอ่านได้รู้ได้เห็นกันอย่างเต็มตาในหนังสือเล่มนี้แล้ว สำหรับพระลือโขงพิมพ์เล็กนี้มีขนาดย่อมกว่าพิมพ์ใหญ่มากลักษณะรูปร่างโดยรวมนั้นดูเล็ก กะทัดรัดพอสมควรเป็นพิมพ์ที่มีขนาดพิเศษแตกต่างจากพิมพ์ทั่วไปไม่ใช่เป็นเพราะว่าองค์พระหดตัวหรือกดพิมพ์ซ้ำนำไปทำใหม่แต่เป็นพิมพ์โดยเฉพาะที่มีพบได้น้อยมากมีขนาดกว้าง ๒ เซนติเมตร สูง ๔.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑ เซนติเมตร ดูก็สวยงามกะทัดรัดมากรูปลักษณะของพระลือโขงพิมพ์นี้เหมือน ๆ เช่นเดียวกันกับพระลือโขงพิมพ์ใหญ่ทั้ง ๔ พิมพ์เพราะเหมือน ๆ กันกับพระเครื่องในชุดสกุลลำพูนทุก ๆ พิมพ์ซึ่งได้ทำออกมาอย่างมากมายหลายร้อยหลายพันชนิดและหลายต่อหลายขนาด
พระเครื่องที่พบร่วมกรุ
พระบางที่พบที่กรุวัดกู่เหล็กนั้นจะดูด้อยเรื่องความเรียบร้อย ขนาด ความสวยงาม และความคมชัดตลอดจนถึงเม็ดแร่
พระลือแผง เป็นพระเนื้อดินที่ทำเป็นรูปพระลือหน้ามงคลเล็กๆ เรียงรายรวมอยู่ในรูปวงกลมขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ – ๓๐ ซม. หนาประมาณ ๒ – ๓ ซม ปัจจุบันหาพบน้อยมากถูกตัดแบ่งออกจากพระลือแผงเพื่อใช้ติดตัวในการตัด ทำให้เสียงองค์พระรอบไปด้วย เนื่องใช้เลื่อนในการตัด เป็นที่หน้าเสียอย่างยิ่ง
พระหูยานแผง เป็นพระเนื้อดินที่ทำเป็นรูปพระพระหูยานเล็กๆ เรียงรายรวมกัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ – ๓๐ ซม. หนาประมาณ ๓ – ๔ ซม ปัจจุบันหาพบน้อยมาก ถูกตัดแบ่งออกจากพระหูยานแผงเพื่อใช้ติดตัวในการตัด ทำให้เสียงองค์พระรอบไปด้วย เนื่องใช้เลื่อนในการตัด เป็นที่หน้าเสียอย่างยิ่ง แต่เป็นที่หน้าสังเกตว่าพระหูยานที่พบมีลักษณะใกล้ เคียงกับพระหูยานในจังหวัดลพบุรีใน อาณาจักรละโว้
พระลือหน้ามงคลเป็นพระเนื้อดินมีขนาดกว้าง ๒.๕ ซม สูง ๓.๕ ซม.
พระลือหน้ายักษ์ เป็นพระเนื้อดินเผาศีลปหริภุญชัย ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ ซม.สูงประมาณ ๕ ซม.หนาประมาท ๓ ซม. มีหน้าตาดุดัน
พระสิบสอง เป็นพระเนื้อดินเผา ขนาดกว้างประมาณ ๘ ซม.สูงประมาณ ๑๑ ซม.
พลิกฟืนวัดร้าง
ที่บริเวณนี้เป็นเนินดินอยู่กลางทุ่งนา มีโบราณสถาน มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐและศิลาแลงหินทราย ฐานกว้างประมาณ ๑๐ ศอก สูงประมาณ ๓๐ ศอก เศษอิฐของเจดีย์ล้มไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๑๐ เมตรมีพระพุทธรูปหินทรายใต้ฐานเจดีย์ ขุดลงไป ประมาณ ๑.๕ เมตร พบหม้อดินเผาบรรจุกระดูก ๕ ลูก ลูกใหญ่ อยู่ตรงกลาง เป็นหม้อดินเผา ๒ ชั้น ชั้นนอก มีลวดลาย ชั้นใน เป็นแบบผิวเกลี้ยง และเครื่องมือ แกะสลักทำจากเหล็ก พบหินทรายศิลาแลง ก้อนขนาดใหญ่ ขนาดยาว ๑ เมตร กว้าง ๒๐ ซม. หนา ๓๐ ซม มีฐานที่เชื่อได้ว่าเป็นฐานกำแพง และฐานวิหาร แต่ฐานถูกทำลายจากการขุดหาพระลือโขง และพระต่างๆ
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ ได้มีรับเมตตาจาก เจ้าสายใจ ณ ลำพูน ได้มอบที่ดินเนื้อที่ – ไร่ ๓ งาน ๘๙ เศษหกส่วนสิบตารางวา ให้สร้างวัด จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์ วัดกู่เหล็ก (ร้าง) ขึ้นมาอีกครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมีท่านพระครูโสภิตปุญญาคม (บุญมา สิกฺขาสโภ) เจ้าอาวาสวัดช้างรองและพระใบฏีบุญญรัตน์ ปญฺญาวุฑฺโฒ(จากวัดช้างรอง เป็นผู้ที่มาริเริ่มก่อตั้งวัดกู่เหล็ก (ร้าง) ขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญบุญกุศลของคณะศรัทธาบ้านริมกวง ๆ และอบรมนักเรียนโรงเรียนอรภาพินทยาด้วย ซึ่งคุณอรภา เลาห์รอดพันธ์ พร้อมด้วยคณะครูบางส่วนได้มาซื้อที่ดินเพื่อจะทำการก่อสร้างโรงเรียนอรภาพิทยา (หรือโรงเรียนอรพินพิทยาในปัจจุบัน) อยู่ติดกับ
วัดกู่เหล็ก และได้ร่วมกับคณะศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดกู่เหล็ก
ได้กราบอาราธนาและแต่งตั้ง ท่านพระใบฎีกาบุญญรัตน์ ปญฺญาวุฑฺโฒ จากวัดช้างรองมาเป็นเจ้าสำนักสงฆ์ ดูแลการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ เช่น กุฏิสงฆ์ศาลาการเปรียญ หอระฆัง-หอกลอง กำแพง โรงอาหาร ห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ ห้องน้ำ ห้องส้วมเป็นต้น
ตลอดทั้งเป็นผู้ที่อบรมสั่งสอนศีลธรรมให้แก่คณะศรัทธาบ้านริมกวงและศรัทธาสาธุชนพุทธบริษัททั่วไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ทางคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ได้มีมติและได้กราบอาราธนาให้ท่านได้ไปดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และได้แต่งตั้งพระศักดา ธมฺมิโก เป็นผู้รักษาแทนเจ้าอาวาสวัดกู่เหล็ก (ร้าง)
 
โดย : chareon    [Feedback +0 -0] [+0 -0]     [ 2 ] Thu 22, Jul 2010 10:54:39

 
หากมีหลักออกจากกรุถึงปีไหนค่ะ
 
ราคาประมูล : 1500 บาท
 
โดย : หละอ่อนหละปูน    [Feedback +36 -0] [+4 -0]     [ 1 ] Thu 22, Jul 2010 00:05:32

 
ประมูล พระลือโขง ลำพูน เนื้อแกร่ง : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.