พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จ. น่าน ปี 2533


พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จ. น่าน ปี 2533

   
 
พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จ. น่าน ปี 2533
องค์พระสูง 11 นิ้ว เฉพาะฐานสูง 2.5 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลางฐานวงกลม 3.5 นิ้ว
สูงรวมฐานทั้งสิ้น 13.5 นิ้ว
จัดสร้างในปริมาณจำกัดเพื่อเป็นที่ระลึกงานบูรณะปฏิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก และปรับปรุงเป็นวิหารที่ประดิษฐาน "พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี"
น่าน เดิมชื่อ นันทบุรี เป็นจังหวัดที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนสุดขอบฟ้าล้านนาตะวันออก นอกจากจะเป็นเมืองแห่งศิลปะวัฒนธรรมอันเก่าแก่แล้ว ยังเต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์จากความสวยงามทางธรรมชาติ และด้วยความที่ตัวเมืองน่านอุดมไปด้วยวัดวาอารามที่เก่าแก่มากมาย
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวัดหลวงประจำเมืองที่เจ้าเมืองใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา และพิธีสำคัญของบ้านเมือง "พระธาตุเจดีย์วัดช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ" นับเป็นปูชนียสถานสำคัญ โดยเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะจากเจดีย์ทรงลังกา
พงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า เจ้าผู้ครองนครน่าน ชื่อพญาภูเข่ง หรือภูเข็ง เป็นผู้สร้างวัดนี้เมื่อปีจุลศักราช 768 ตรงกับ พ.ศ. 1949 เรียกชื่อในครั้งนั้นว่า วัดหลวง ตามหลักฐานดังกล่าวนี้ อายุของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร นับถึงปัจจุบัน ก็จะมีอายุถึง 612 ปี (ถึง พ.ศ. 2561)
พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี คือพระพุทธรูปลีลาสมัยสุโขทัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์อย่างดี มีส่วนผสมของทองคำประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสูง 145 เซนติเมตร
มีข้อความจารึกไว้ที่ฐานว่าพระเจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ภูคา เป็นผู้สร้างเมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ เดือน 8 ใต้ จุลศักราช 788 พ.ศ. 1969 คำนวณอายุได้ 592 ปีล่วงมาแล้ว เดิมลงรักพอกปูนหุ้มไว้ทั่วองค์ และประดิษฐานอยู่ภายในโขงพระเจดีย์ทิพย์ทางด้านทิศตะวันออก เพิ่งค้นพบเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 โดยนายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ และนายอเล็กซานเดอร์ เบราว์ กริสโวสด์ นักโบราณคดีชาวอเมริกัน ซึ่งมาศึกษาและค้นคว้าศิลปกรรมในจังหวัดน่าน วินิจฉัยว่าไม่ใช่พระปูนปั้น จึงใช้ฆ้อนกระเทาะปูนที่หุ้มแตกออก ปรากฏว่าพระวรกายทารักทับไว้อีกชั้นหนึ่ง เมื่อขูดดูจึงเห็นเนื้อทองสุกปลั่ง ได้เคาะเอาปูนออกหมดทั้งองค์ แล้วตกแต่งขัดผิวใหม่จนเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณ์งดงามมาก
เจ้าอาวาสสมัยนั้นคือ "พระชยานันทมุนี" (พรหม) จึงได้ถวายพระนาม สันนิษฐานว่าตามชื่อเมืองน่านในอดีต (ตามที่กล่าวไว้เบื้องต้น) หรืออีกนัยยะหนึ่งตามตำแหน่งสมณศักดิ์ของเจ้าคณะจังหวัดน่านว่า
" พ ร ะ พุ ท ธ นั น ท บุ รี ศ รี ศ า ก ย มุ นี "
ปัจจุบันประดิษฐานไว้ในหอพระไตรปิฎก ซึ่งได้บูรณะปรับปรุงให้เป็นวิหารพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ถือเป็นพระอันศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองน่าน เลยทีเดียว
แต่เนื่องจากพระเกตุโมลีของพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนีถูกตัดมาแต่เดิม ต่อมาใน พ.ศ. 2522 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท โดยนายอนันต์ สงวนนาม เลขาธิการเร่งรัดฯ รับพระราชทานกฐินพระราชทานมาทอดถวาย ณ ที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ได้ปรารภถึงยอดพระโมลีควรจะได้หล่อสวมให้สมบูรณ์ ได้ฝากกับ พ.ท.อุดม เพชรศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมกับข้าราชการแผนกต่างๆ ด้วยศรัทธาประชาชนในจังหวัดได้ร่วมกันบริจาคทองเพื่อหล่อพระเมาลี โดยมาร่วมพิธีหล่อพระเมาลีและพุทธาภิเศกพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พร้อมด้วยเหรียญจำลองขึ้น ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ในวันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2523
เมื่อหล่อพระเมาลีเสร็จเรียบร้อยแล้วทางผู้ว่าราชการจังหวัดน่านได้นำยอดเมาลีไปเก็บรักษาไว้ที่ธนาคารกสิกรไทย ทางผู้ว่าฯจังหวัดน่านได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร (ในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินสวมพระเมาลีพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี แทนพระองค์ ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524
เมื่อทรงสวมพระเมาลีเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้นำไปประดิษฐาน ณ ห้องพระที่สร้างขึ้นใหม่ติดกับกุฎิเจ้าอาวาส ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะหอพระไตรปิฎก และปรับปรุงเป็นวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี
ที่มาของข้อมูลเวปไซด์โอเคเนชั่น
 
     
โดย : พรมารดา   [Feedback +72 -1] [+0 -0]   Wed 12, Jan 2022 14:41:24
 








 
 
โดย : พรมารดา    [Feedback +72 -1] [+0 -0]   [ 1 ] Wed 12, Jan 2022 14:43:41









 
 
โดย : พรมารดา    [Feedback +72 -1] [+0 -0]   [ 2 ] Wed 12, Jan 2022 15:06:53

 
พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จ. น่าน ปี 2533 : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.