พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

เหรียญเม็ดกระดุม ขวัญถุง ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล เนื้อทองคำ


เหรียญเม็ดกระดุม ขวัญถุง ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล เนื้อทองคำ

   
   
     
โดย : ศิวิไล   [Feedback +55 -0] [+36 -1]   Fri 1, May 2020 01:02:39
 








 
 
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]   [ 1 ] Fri 1, May 2020 01:02:54

 
ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล จ.เชียงใหม่
 
ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร - “ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร” แห่งวัดป่าดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งล้านนา ต้นตำรับการสร้างวัวธนู
 
มีนามเดิมว่า คำแสน เพ็งทัน เกิดเมื่อวันที่ 30 เม.ย.2436 ที่บ้านสันโค้งใหม่ ต.ทรายมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
 
บรรพชาเมื่ออายุ 17 ปี โดยมีพระอธิการโพธิ (ครูบา) วัดสันโค้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ และต่อมาเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดดอนมูลแห่งนี้
 
บวช 3 พรรษา ไปศึกษาต่อกับพระอธิการแก้ว ชยเสโน (ครูบาแก้ว) ที่วัดน้ำจำ ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยได้ศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนกัมมัฏฐาน
 
ก่อนหน้านั้น ทราบข่าวจากชาวบ้านว่าทางราชการได้จับครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มากักขังไว้ที่วัดศรีดอนไชย จ.เชียงใหม่ ครูบาคำแสนมีความเคารพ และเลื่อมใสในครูบาศรีวิชัยเป็นอย่างยิ่ง ได้ชักชวนพระสงฆ์และชาวบ้านให้พากันไปเยี่ยม แต่คนทั้งหลายกลัวจะถูกตำหนิหรือถูกกลั่นแกล้งจากทางราชการ ในที่สุดก็เดินทางไปกับเณรและลูกศิษย์เพียง 2-3 คนเท่านั้นเดินทางประมาณ 15-16 กิโลเมตรกว่าจะถึงวัดศรีดอนไชย เมื่อเข้าไปภายในวิหารนั้นมีพระสงฆ์สูงอายุรูปหนึ่งนั่งอยู่ด้วยอาการสงบ ในลักษณะขัดสมาธิ ห่มผ้าสีกรัก ในขณะที่กราบลงไปนั้นก็เกิดความอ่อนไหว จนร้องไห้ด้วยความสงสารในครูบาศรีวิชัยที่ต้องมาถูกจองจำและจะถูกจับสึกที่ กรุงเทพฯ
 
เสียงร้องไห้ของครูบาคำแสนในขณะนั้น ทำให้ครูบาศรีวิชัยเอื้อมมือมาตบที่ไหล่ พร้อมกล่าวว่า “ท่านเป็นพระจะร้องไห้ไม่ได้ พระเป็นผู้ตัดแล้วซึ่งกิเลส เมื่อเป็นเช่นนั้นต้องระงับอารมณ์ไม่ให้มีการร้องไห้เด็ดขาด” ขณะเดียวกันก็เริ่มสอนให้นั่งขัดสมาธิ เอามือประสานกันวางไว้บนตัก หลับตาพร้อมกับท่องคำว่า “นะโม” ในใจหลายสิบหลายร้อยจบให้ท่องไปเรื่อย
 
ครูบาคำแสนปฏิบัติตามคำสั่ง ท่องไปท่องมาไม่นานอาการสะอึกสะอื้นและน้ำตาก็หายไป ครูบาศรีวิชัยจึงสั่งให้ลืมตาขึ้น
 
ครูบาศรีวิชัยเทศน์อบรมเกี่ยวกับขันติให้ครูบาคำแสนฟัง พร้อมกับแนะนำสั่งสอนให้ศึกษาวิปัสสนา แล้วครูบาคำแสนก็นมัสการลา จึงนับว่าเป็นบทเรียนแรกในชีวิตเกี่ยวกับการศึกษาวิปัสสนา และท่านก็หาทางจะศึกษาในเรื่องนี้ ต่อมาเมื่อท่านเรียนกัมมัฏฐานจากครูบาแก้ว ชัยยะเสโน ท่านก็ขอลาครูบาแก้วออกเดินธุดงค์จาริกไปในที่ต่างๆ เมื่อคราวเข้าพรรษาท่านจึงจะกลับมาอยู่ที่วัดดอนมูล
 
พออายุ 34 ปี พระอธิการธรรมเสนา เจ้าอาวาสวัดดอนมูลมรณภาพ คณะศรัทธาจึงได้นิมนต์ครูบาคำแสนเป็นเจ้าอาวาสสืบมา
 
จนท่านมีอายุ 39 ปี มีพระธุดงค์ชื่อพระอาจารย์แหวน สุจิณโณ เดินธุดงค์มาพักอาศัยอยู่ที่วัดอู่ทรายคำ ในเมืองเชียงใหม่ เมื่อทราบดังนั้นท่านได้ให้โยมคนหนึ่ง ไปนิมนต์พระอาจารย์แหวน ให้มาเผยแผ่พระธรรมและอบรมที่วัดดอนมูล
 
ต่อมาพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มาพำนักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง พระอาจารย์แหวนและครูบาคำแสนได้ไปนมัสการ และได้ถวายเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นตั้งแต่บัดนั้นมา ต่อมาพระอาจารย์แหวนท่านได้จาริกไปมาในเมืองเชียงใหม่ และไปจำพรรษาที่วัดป่าห้วยน้ำริน อ.แม่แตง
 
ส่วนครูบาคำแสน หลังจากได้เรียนพระกัมมัฏฐานจากพระอาจารย์มั่น แล้วท่านก็ได้เดินธุดงค์ไปยังประเทศพม่า ย่างกุ้ง หงสาวดี แล้วเดินย้อนกลับไปสู่ภาคอีสาน ไปอยู่กับท่านอาจารย์สิงห์ที่จังหวัดนครราชสีมา
 
จากนั้นจึงได้เดินทางกลับขึ้นไปทางเหนือ ไปอยู่ถ้ำเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ถ้ำพระ จ.เชียงราย ถ้ำดอกคำพร้าว พระบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่ใดเป็นที่วิเวก เป็นป่าเปลี่ยวท่านก็ได้พักภาวนาเรื่อยไปไม่หยุดไม่หย่อน ตามโอวาทของพระอาจารย์มั่น ที่ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ทำจริงก็คงจะได้ของจริงเท่านั้น” ท่านเป็นลูกศิษย์ที่อยู่ในมหานิกาย ไม่ต้องญัตติใหม่เป็นธรรมยุต
 
ครูบาคำแสนสร้างเครื่องรางของขลังหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตะกรุดโทน ผ้ายันต์มหาสิทธิมงคล มหาสิทธิโชค และเครื่องราง ที่ถือว่าท่านได้สร้างตามหลักโบราณ คือ วัวธนู
 
"ครูบาคำแสน" เป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งหลวงพ่อฤๅษีลิงดำได้เคยพาลูกศิษย์ไปกราบและร่วมบุญกับท่านเสมอ ครับ

 

 
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]   [ 2 ] Fri 1, May 2020 01:12:32

 
เหรียญเม็ดกระดุม ขวัญถุง ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล เนื้อทองคำ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.