พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
แอนติคและเครื่องราง

◎ประวัติอาจารย์เเปลก ร้อยบางเเละเรื่องเล่าความขลัง◎


◎ประวัติอาจารย์เเปลก ร้อยบางเเละเรื่องเล่าความขลัง◎


◎ประวัติอาจารย์เเปลก ร้อยบางเเละเรื่องเล่าความขลัง◎

   
 

◎ ประวัติอาจารย์เเปลกเเละเรื่องเล่าความขลัง◎ 
เหนียวขนาดนี้มึงยังไม่พอเหรอ
อาจารย์แปลก ร้อยบาง ก่อนพ.ศ.๒๕๐๐ จะดังมาก อาจารย์ร่วมสมัยกับท่าน มีอยู่หลายท่าน เช่น อ.แก้ว คำวิบูลย์ อ.ฟ้อน ดีสว่าง อ.อยู่เรือลอย อ.เสงี่ยม ใจภารา (ลูกหลวงพ่อหรุ่น ใจภารา) วัตรปฎิบัติของอ.แปลก ตอนเข้าพรรษาท่านต้องมาอยู่ที่วัด ตั้งแต่ท่านสึกไปใหม่ๆ พอเข้าพรรษาท่านจะมาอยู่วัดสะพานตั้งแต่สมัยหลวงปู่กลิ่น สร้างความงุนงงให้ศิษย์หลวงปู่กลิ่นว่า อ.อื่นมาสักที่ว้ด หลวงปู่ไล่ไปหมด มีอ.แปลก ท่านเดียวที่ลงของที่วัดได้ จนวันหนึ่งลูกศิษย์ท่านอดรนทนไม่ได้ ถามหลวงปู่ว่า"ทำไมอาจารย์อื่นมาลงของที่วัด หลวงปู่ไล่ไปหมด พออ.แปลกทำไมหลวงปู่ให้ลงของได้" หลวงปู่กลิ่นท่านตอบสั้นว่า"ไปไล่เขาได้ไง ของเขาของจริง"
อยู่มาสมัยหลวงพ่อทองสุข อ.แปลก ก็มาพักวัดสมัยเข้าพรรษา มีอยู่วันหนึ่ง อ.แปลก ตรวจแล้ววันนี้เป็นฤกษ์ไม่ดี ท่านตั้งใจว่าวันนี้ ท่านจะไม่ลงของให้ใคร ไม่ลงตะกรุด ตอนเช้ามีคนมาหาหลายคน ท่านก็บอกว่า"วันนี้ฤกษ์ไม่ดี วันหลังค่อยมาลงเถิด" พวกนั้นก็ยอมกลับไป
แต่ตอนบ่ายมีหนุ่มคนหนึ่งจัดพานครูมา ขออ.แปลกว่ามาจากกรุงเทพ ขออาจารย์แปลกให้ลงให้หน่่อย หนุ่มคนนี้ตี้ออยูนานไม่ยอมกลับ อ.แปลกอดไม่ได้ จึงว่า"มึงๆจัดพานครูมาเลย เดี๋ยวกูลงให้" หนุ่มคนนั้นจึงยกพานครูถวายอ.แปลก อ.แปลกจึงหยิบดินสอดำมาลงกระหม่อมให้ แต่หนุ่มนั้นจะขออ.แปลกลงหมึกให้ อ.แปลกจึงว่า"ที่ลงไปดีแล้ว" หนุ่มนั้นไม่ยอมอ้างเหตุผลร้อยแปด อ.แปลกจึงว่าอีกว่า"ของที่ลงไปดีแล้ว"หนุ่มนั้นก็ไม่ยอมตื้ออยูนั่น คราวนี้อ.แปลกท่านของขึ้น คราวนี้ไม่พูดพล่ามทำเพลง
อ.แปลกท่านคว้าคอเสื้อได้ ท่านหยิบมีดเหน็บปลายแหลม แทงไม่ยั้งเลย เจ้าหนู่มคนนั้น ทำหน้างงๆจะสบัดหลุด แต่สะบัดอย่างไรก็ไม่หลุด ส่วนอ.แปลกก็ตะโกนว่า"ทำไม แค่นี้ยังเหนียวไม่พอ เหรอ"ลุงนุ่นศิษย์รุ่นโตของอาจารย์แปลก ได้ยินเสียงดังลั่นจึงรีบวิ่งมาดู เห็นอ.แปลก คว้าคอเสื้อหนุ่มคนนั้น เอามีดแทงไม่ยั้ง จึงรีบวิ่งเข้าไปห้าม
***************************************************************
“อาจารย์แปลก ร้อยบาง” เดิมทีท่านบวชที่ไหนไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่ต่อมาท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าเกวียน ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยมาอยู่วัดนี้เป็นเพียงพระลูกวัดธรรมดา ท่านเป็นพระที่มีวิชาพอสมควร ถือได้ว่าเป็นผู้แก่กล้าอาคมท่านหนึ่ง เพียงแต่ว่าท่านมิได้เป็นผู้มีแหล่งกำเนิดในบริเวณนั้น แต่ท่านก็มีลูกศิษย์จำนวนมาก

ในขณะที่ท่านได้อยู่วัดท่าเกวียนนี้ ได้สร้างอนุสรณ์ที่ยังคงอยู่คู่วัดท่าเกวียนมาจนถึงทุกวันนี้อย่างหนึ่งก็คือ รอยพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนี้แล้วยังได้นำโลหะที่เหลือจากการหล่อท่านนำมาหล่อพระศรีอริยเมตไตรยขึ้นอีก ๑ องค์ เป็นพระบูชาองค์ไม่ใหญ่มากนัก สูงประมาณ ๑ ศอก พระองค์ดังกล่าวเป็นพระบูชาที่ท่านจะนำติดตัวไว้ตลอดเวลา

หลังจากท่านหล่อพระพุทธบาทจำลองแล้วเสร็จ ท่านได้จัดให้มีการปิดทองประจำปีขึ้น ปีละ ๒ ครั้ง วิธีการของท่านแปลกมาก คือ ท่านจะนำไม้ไผ่ที่มีอยู่ในบริเวณวัดมาผ่าแล้วสานเป็นฝาแฝกทำทางเป็นแบบเขาวงกตกั้นทางเดินสลับไปสลับมาเป็นค่ายกล โดยพระพุทธบาทจำลองตั้งไว้ตรงกลาง ผู้ที่จะเข้าไปปิดทองต้องหาทางเข้าไปถูกบ้างผิดบ้าง เหตุที่ทำเช่นนี้ เข้าใจว่าน่าจะเป็นปริศนาธรรมของท่านอย่างหนึ่ง ความหมายน่าจะเป็นการสอนให้คนรู้ว่า การเข้าถึงพระธรรมนั้น ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย อยู่ที่สมาธิ สติ และปัญญา ก็จะถึงซึ่งพระธรรมนั่นเอง

ในเวลาต่อมา สมภารวัดมรณภาพลง ในขณะนั้นเห็นจะมีแต่อาจารย์แปลกองค์เดียวเท่านั้นที่มีอาวุโส วัยวุฒิ คุณวุฒิ วิชาอาคมก็แก่กล้า สามารถที่จะปกครองวัดได้อย่างแน่นอน เสียแต่ว่าท่านมิใช่ผู้ที่มีแหล่งกำเนิด ณ ที่นั้น จึงได้รับการต่อต้านจากผู้มี่อิทธิพลในพื้นที่นั้นไม่ให้ขึ้นปกครองวัด ด้วยเหตุดังกล่าวท่านจึงได้ย้ายไปจำวัดอยู่ที่ย่านคลองสอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน โดยในสมัยนั้นมีสภาพทุรกันดาร เป็นวัดเล็กๆ มีพระจำพรรษาน้อยองค์

เหตุที่ท่านอาจารย์แปลกต้องสึกจากสงฆ์ เกิดจากสมภารในสมัยนั้นนำสิ่งของล้ำค่าของวัดไปขายนำเงินมาใช้ส่วนตัว อาจารย์แปลกท่านเห็นเป็นสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่ง จึงลุกขึ้นคัดค้าน เพราะท่านถือว่าของในวัดทุกชิ้นเป็นสมบัติของสงฆ์ มิใช่ขององค์ใดองค์หนึ่ง จนสร้างความไม่พอใจให้แก่สมภาร ถึงกับออกปากไล่ ถ้าอยู่ได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็ออกไป

เมื่อท่านได้ยินคำหยามเช่นนั้น ท่านก็คิดว่า ถ้าอยู่ต่อไปก็คงจะทำอะไรไม่ได้ ท่านจึงตัดสินใจสึกออกมาสู้ทางโลก ผลปรากฏว่าสมภารวัดกระทำความผิดจริง จำต้องสึกออกไปรับโทษตามกฎเมือง

ท่านอาจารย์แปลกเองก็มิได้กลับมาบวชอีก คงใช้ชีวิตอย่างสันโดษอยู่แต่ในเรือประทุนลำน้อย ลอยเรือไปตามแม่น้ำลำคลอง ไปอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ค่ำไหนนอนนั่น ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณหน้าวัด ที่เรือท่านลอยผ่าน เรือของอาจารย์แปลกจะไม่มีพาย มีแต่ไม้ไผ่สำหรับไว้ใช้ปักเป็นหลักผูกเรือเท่านั้น ทำให้มีการเรียกชื่ออาจารย์อีกอย่างหนึ่งว่า "อ.แปลก เรือลอย"

เหตุการณ์ครั้งหนึ่ง ช่วงนั้นเป็นช่วงเข้าพรรษา อยู่ดีๆ เรืออาจารย์เเปลกก็มาจอดหน้าวัดสะพานสูง ทันทีที่อาจารย์เเปลกถึงวัด ก็เดินตรงเข้ามาที่กุฏิหลวงปู่กลิ่นทันที เเล้วตรงเข้ามากราบหลวงปู่กลิ่นอย่างนอบน้อม แล้วเอ่ยถามหลวงปู่กลิ่นว่า “อาจารย์ลากเรือผมมาที่วัดทำไมครับ” หลวงปู่กลิ่นท่านยิ้ม เเล้วตอบว่า “น้ำปีนี้จะมีมาก อยากให้มาอยู่ที่วัดเสียด้วยกัน”

เเละเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ในปีนั้นเอง เกิดมีน้ำมากจริงๆ เหตุการณ์ครั้งนี้เเสดงให้เห็นว่าหลวงปู่กลิ่นท่านรับรู้ด้วยญาณก่อนเเล้ว อาจารย์แปลก อยู่ที่วัดสะพานสูง ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า “หลวงปู่กลิ่น กับ อ.แปลก สามารถสนทนากันได้อย่างผู้รู้ ผู้ถึง ไม่ต้องกล่าวสาธยายให้มากความ พูดกันง่ายๆ คือ รู้เขารู้เรา รู้ระดับ รู้ชั้น รู้วรรณะ วางตัวได้อย่างเหมาะเจาะ เหมาะสม ไม่ก้าวล่วง ไม่เกินเลย มีแต่ความเคารพศรัทธาให้กันและกัน"

อ.แปลก ท่านจะให้ความเคารพหลวงปู่กลิ่น ที่เป็นทั้งศิษย์พี่และเป็นทั้งอาจารย์มาก ทั้งนี้ท่านจะเรียกหลวงปู่กลิ่นว่า ท่านอาจารย์ทุกคำ จึงอาจพูดได้ว่า อ.แปลกเป็นศิษย์ฆราวาส ได้ร่ำเรียนวิชาการทำตะกรุดโสฬสมหามงคลมาจากหลวงปู่กลิ่นอย่างชนิดเต็มเปี่ยม ในฐานะศิษย์สายตรง คนเดียวเท่านั้นที่เป็นฆราวาส และต้องถือเป็นฆราวาสจอมขมังเวทแห่งวัดสะพานสูงขนานแท้ นักเลงนักเล่นตะกรุดในยุคนั้นต่างแห่แหนเดินทางมาหาอาจารย์แปลก ร้อยบาง เพื่อให้ช่วยจารตะกรุดโสฬสมหามงคล เพื่อไว้ป้องกันตัวและเพื่อความเป็นสิริมงคล

วัตถุมงคลของท่านอาจารย์แปลกนั้น โด่งดังเรื่องเครื่องรางของขลัง ท่านได้ปลุกเสกเอาไว้ด้วยกับหลายอย่าง เช่น ลูกอมผงพุทธคุณ ผ้ายันต์กันภัย ตะกรุดโสฬสมหามงคล ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมที่สุด และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ ตะกรุดโสฬสมหามงคลที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากสายสำนักวัดสะพานสูง โดยมีอาจารย์คือ หลวงปู่กลิ่น เป็นผู้ถ่ายทอดให้ความรู้จนแก่กล้าวิชา อักขระเลขยันต์ที่ลงไว้ในตะกรุดเป็นยันต์โสฬสมหามงคล ดังเช่นตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม และหลวงปู่กลิ่นทุกประการ

ลักษณะที่แตกต่างในการสร้างตะกรุดของท่านอาจารย์แปลก คือ ท่านจะทุบโลหะแล้วรีดค่อนข้างหนากว่าตะกรุดของหลวงปู่เอี่ยม และหลวงปู่กลิ่น มีขนาดหนา บาง หนึ่งเท่าตัว หรือสองเท่าตัวเลยทีเดียว และลักษณะม้วนตะกรุดจะม้วนให้มีรูร้อยตะกรุดกว้างใหญ่กว่า มองด้วยตาเห็นได้ชัดเจน ส่วนการลงรักถักเชือก ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะถักขึ้นทางขวามือเช่นเดียวกันกับหลวงปู่เอี่ยมทุกประการ มีทั้งที่พอกผงและไม่พอกผง เชือกที่ใช้ถักมีทั้งด้ายสายสิญจน์ และเชือกปอแบบเส้นใหญ่ รวมแล้วตะกรุดของท่านอาจารย์แปลกเป็นเครื่องรางที่นำมาใช้ติดตัวแทนอาจารย์ท่านอื่นในสำนักวัดสะพานสูงได้เลย มีเอกลักษณ์ที่แน่นอน ดูง่าย พุทธคุณครบทุกด้าน ยอดเยี่ยมมาก เรียกได้ว่า ครอบจักรวาล

ชีวิตในบั้นปลายของอาจารย์เเปลก ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่ปากคลองบางซื่อ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามวัดแก้วฟ้า โดยการชักชวนจาก จ่ายูร ลูกศิษย์ที่เป็นทหารเรือ ชวนให้อาจารย์แปลกย้ายมาพักเป็นลักษณะกึ่งถาวร เพื่อทำพิธีในงานไหว้ครู และลงกระหม่อมเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมามีลูกศิษย์มอบที่ดินให้ท่านใช้เป็นที่ปลูกบ้าน ย้ายจากที่เดิมมาอยู่ที่บริเวณใกล้วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ และได้สิ้นบุญ ณ ที่แห่งนั้น โดยท่านเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ อายุประมาณ ๘๐ ปีเศษ

 

 
     
โดย : TUI FM 2012   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Tue 23, Feb 2016 18:00:01
 
 
◎ประวัติอาจารย์เเปลก ร้อยบางเเละเรื่องเล่าความขลัง◎ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.