พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระกรุทั่วไป

กราบขออภัยในความผิดพลาดเกี่ยวกับบทความพระกรุจังหวัดตาก ในหนังสือ the Art of Siam เล่มที่ 2

   
 

     ในบทความพระกรุจังหวัดตากที่ลงในหนังสือ AOS ฉบับที่ 2 นี้ เกิดความผิดพลาดในบทความชิ้นนี้ เพราะมีการตกหล่นของรูปภาพ จึงนำมาให้เกิดความสงสัยและไม่เข้าใจในบทความขึ้น ซึ่งผมขอนำบทความมาลงเต็มๆในที่นี้ ส่วนรูปภาพด้วยที่มีรูปภาพกว่ายี่สิบพิมพ์ บางส่วนเป็นภาพถ่ายซึ่งอยู่กับทางสำนักงาน ผมไม่สามารถนำมาลงเพิ่มเติมได้ เพื่อแก้ความผิดพลาดในหนังสือ และจะได้แก้ไขในหนังสือฉบับที่ 3 กันต่อไป กราบขออภัยท่านผู้สนับสนุนในหนังสือ the Art of Siam ทุกท่าน และที่ผมต้องกราบขออภัย ขอโทษเป็นอย่างสูงอีกท่านคือ คุณพี่อาทิตย์ ซึ่งได้กรุณาเขียนบทความให้ด้วยความตั้งใจ แต่ก็เกิดข้อผิดพลาดขึ้นทำให้คุณพี่อาทิตย์ได้รับผลกระทบทั้งๆที่เป็นข้อผิดพลาดจากทางหนังสือ ผมวันชัย มวลชนชนะ หนึ่งในทีมงาน the Art of Siam ต้องขอกราบขอโทษคุณพี่อาทิตย์อีกครั้งครับ พรุ่งนี้จะโทรไปกราบขอโทษด้วยตนเองอีกที ขออภัยจริงๆครับ

 
     
โดย : วันชัย   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Thu 9, Oct 2008 21:58:47
 








 

พระกรุจังหวัดตาก

 

                    นักนิยมพระหลายๆท่านคงเคยได้ยินมาว่า ที่จังหวัดตากนั้นมีพระกรุบ้านตากที่มีชื่อเสียง และหลายท่านก็คงไม่รู้อีกว่า พระกรุท่าแค นั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร  ที่จริงแล้วพระกรุ ท่าแค อ. เมือง ตาก ซึ่งแตกกรุที่เชิงสะพานกิตติขจร ฝั่งตัวจังหวัด หลังข้ามแม่น้ำปิงเข้าสู่ตัวเมืองตาก ซึ่งวัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นคนละสมัยกับ พระกรุบ้านตาก ซึ่งเป็นพระสมัย สุโขทัย และแตกกรุที่ อ. บ้านตาก ซึ่งอยู่เลยตัวเมือง ตาก ขึ้นไปตามเส้นทาง ถนน พหลโยธินสู่ทาง จ.ว. ลำปาง ราว 25 ก.ม.  และมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปยังตัวอำเภอบ้านตาก  และเจดีย์ยุทธหัตถีอีกร่วม 20 ก.ม.  และเนื่องมาจากว่า  พระทั้ง 2 กรุนี้เป็นพระที่แตกกรุในจังหวัดตากเช่นเดียวกัน  จึงทำให้คนที่ไม่รู้รายละเอียด สับสน อีกทั้งพระกรุบ้านตาก ซึ่งแตกกรุเมื่อราวปี 2510 กว่าๆนั้นแตกกรุ ออกมาสู่วงการพระแบบเงียบๆ จึงไม่มีใครรู้ว่านี่คือพระกรุบ้านตาก ตลอดจนพิมพ์ของพระกรุนี้ก็ไม่มีผู้จดบันทึกเป็นหลักฐานไว้ว่ามีพิมพ์อะไรบ้าง  บรรดาเซียนพระที่อื่นที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องพระแตกกรุ เมื่อเจอพระกรุบ้านตากบางพิมพ์ที่มีพุทธลักษณะคล้ายพระสุโขทัย ก็นำไปรวมพิมพ์ส่งประกวด และให้เช่าเป็นพระจังหวัดสุโขทัยเป็นเวลาร่วม 10 กว่าปี จนมีภายหลัง หลายๆท่านที่รู้เรื่องพระกรุนี้ ต่างค่อยๆทยอยกันออกมาให้ข้อมูล ความจริงจึงได้เปิดเผย ซึ่งก็ทำให้ชื่อของพระกรุบ้านตากดังกึกก้องไปทั่ววงการพระทีเดียว

 

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Thu 9, Oct 2008 22:23:16





 

มาพูดถึงกรุวัดท่าแค กันเสียก่อน  พระกรุวัดท่าแคนั้น แตกกรุ เนื่องมาจากทางการสร้างถนน พหลโยธินจากกรุงเทพ ขึ้นไปยัง จ.ว. เชียงใหม่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2498 และเพื่อให้การข้ามแม่น้ำปิงเข้าสู่ ตัวเมือง จ.ว. ตาก ทำได้สะดวก จึงได้มีการสร้างสะพาน กิตติขจรเพื่อข้ามแม่น้ำ เข้าสู่ตัวจังหวัด ที่เชิงสะพานกิตติขจรด้านทิศตะวันออก ก่อนข้ามสะพานเข้าตัวจังหวัด มีศาลหลักเมืองสี่มหาราชซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2535 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ สี่มหาราชของชาวไทย ที่ได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้  อันมีพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ได้กระทำยุทธหัตถี กับ ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด  , สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ได้ประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกรง ซึ่งขากลับได้กรีฑาทัพผ่านเมืองตากนี้ , สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ทรงนำทัพยกไปตี หัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ไว้ที่เชิงสะพานกิติขจรนี้ ส่วน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยได้รับพระบรมราชโองการ เป็นเจ้าเมืองตากนี้

 

                   วัดท่าแค นี้อยู่ฝั่งตัวจังหวัด ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดชัยชนะสงคราม ซึ่งในตอนที่จะสร้างสะพานนั้น เจดีย์ของวัดกินอาณาเขตเข้ามาในบริเวณที่จะสร้างสะพาน จึงต้องทำการรื้อเจดีย์ออก  ในครั้งนั้นจึงได้พบพระเครื่อง และพระบูชาขึ้น   ในส่วนของพระเครื่องนั้นมีพระเนื้อ ชินตะกั่วสนิมแดง กับพระเนื้อชิน ออกจากกรุ มาหลายแบบพิมพ์ด้วยกัน ที่รู้จักกันดีก็คือพิมพ์ งบน้ำอ้อย และพิมพ์พิจิตรใบข้าว มีทั้งขนาดเล็ก และใหญ่ และมีทั้งที่เป็นแบบ แผง และเดี่ยว รวมทั้งพิมพ์อื่นๆอีกจำนวนไม่มากนัก  พระกรุนี้มักจะมีตุ่มสนิมไขขาว และตุ่มสนิมแดง มากและเห็นได้ชัด ทั้งนี้คงจะเพราะกรุพระอยู่ใกล้กับแม่น้ำปิง จึงได้รับความชื้นจากไอของแม่น้ำตลอดเวลา

 

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Thu 9, Oct 2008 22:26:06









 

                      ส่วนพระกรุบ้านตากนั้น อยู่เลยตัวจังหวัดปัจจุบัน ขึ้นไปตามถนน พหลโยธินทางที่จะไปยัง จังหวัด ลำปาง อีกราว 25  ก.ม. แล้วยังมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปยังตัว อำเภอ บ้านตาก ซึ่งสามารถเข้าไปยัง ต. เกาะตะเภา  สู่เจดีย์ ยุทธหัตถี และพระบรมธาตุเจดีย์บ้านตาก อีกร่วม 20 ก.ม.

 

                      ทั้งเจดีย์ ยุทธหัตถี , เจดีย์พระบรมธาตุบ้านตาก รวมทั้งกรุพระบ้านตาก ล้วนอยู่ในละแวก เดียวกันที่ ต. เกาะตะเภา ซึ่งอยู่บริเวณปากถนน จากบ้าน เกาะตะเภา อ. บ้านตาก ที่จะวิ่งไปยัง อ. แม่ระมาศ และยังสามารถวิ่งไปถึงถนนเลียบชายแดน ริมแม่น้ำเมยได้ 

 

                       สำหรับเจดีย์ ยุทธหัตถีที่ อ.บ้านตากนี้ เป็นเจดีย์ที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จประพาศ จ.ว. เชียงใหม่แล้วขากลับจึงได้ล่องเรือเสด็จมาเยี่ยมชม เมื่อ พ.ศ. 2464 และได้ทรงสันนิฐานไว้ว่า คงจะเป็นเจดีย์ที่สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พ่อขุนรามคำแหง ทรงขับช้างเข้าขวางช้างของขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดที่ขับช้างไล่ชนช้างของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่เสียทีเพลี่ยงพล้ำในการกระทำยุทธหัตถีกัน แล้วแตกพ่ายหนีมา พ่อขุนรามคำแหงซึ่งในตอนนั้นมีชันษาได้ 19 ปีได้ท้าให้ขุนสามชนมาทำยุทธหัตถีกันแทน จนสุดท้ายช้างของขุนสามชนก็ต้องพ่ายแพ้ แล้วแตกพ่ายหนีไป  ทำให้เมืองสุโขทัย ร่มเย็น ไม่มีข้าศึกมารุกรานอีกนานในรัชสมัยของพระองค์  ส่วนเจดีย์นี้จะสร้างขึ้นเมื่อใดสมัยใดนั้นไม่มีหลักฐานอ้างอิง ชาวเกาะตะเภา นั้นหวงแหนเจดีย์ยุทธหัตถีนี้มาก ต่างคนต่างก็เฝ้าระวัง ไม่ยอมที่จะให้นักขุดสมบัติต่างถิ่นเข้าไปแตะต้องได้เลย

 

 

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Thu 9, Oct 2008 22:29:22





 
 มองจากรูปที่ 1 ซึ่งถ่ายจากถนนที่ผ่านบ้าน เกาะตะเภา ผ่านทุ่งนา ไปยัง วัดพระบรมธาตุเจดีย์บ้านตาก ในดงไม้ด้านขวามือ ซึ่งถัดไปทางขวามืออีกเล็กน้อย ซึ่งมองไม่เห็นนั้นเป็นหัวถนนทางแยกที่จะเลี้ยวซ้ายไปยัง อ. แม่ระมาศ และ อ. ท่าสองยางได้  
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Thu 9, Oct 2008 22:34:32









 

                        ท้องทุ่งนาที่วิ่งไปถึงเนินดินลึกเข้าไปจนก่อนถึงวัดพระบรมธาตุเจดีย์ และมีอาณาเขตยาวออกไปทางซ้ายมือของรูปนั้น ทั้งในทุ่งนา ชายเนิน ตลอดขึ้นไปบนเนินดินนั้น เป็นซากโบราณสถานที่ชำรุด หักฝังจมดิน ที่ไม่เหลือทรากแล้ว ซึ่งชาวบ้านต่างเรียกส่วนที่เป็นเนินที่ยกสูงจากชายนาบริเวณนี้ว่า เนินเจดีย์ ซึ่งบริเวณนี้นั่นเองที่พบกรุพระที่มีทั้งพระเครื่อง และพระบูชาฝังอยู่  ปะปนไปกับทรากโบราณสถานบางส่วนที่หักพังจมอยู่ในดิน ซึ่งประกอบด้วยพระหลายๆกรุเช่นในทุ่งนามีกรุหนองช้างเผือก ที่ขึ้นไปบนเนินดินก็มีพระกรุนาอุโมงค์หรือ นาโองโมง และกรุเจดีย์อัสดง แล้วก็ยังมีกรุเล็กกรุน้อยที่ไม่มีชื่ออีกส่วนหนึ่งเป็นต้น พระที่พบจากบริเวณนี้ วงการพระเครื่องเรียกรวมๆกันว่า  พระกรุบ้านตาก

 

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Thu 9, Oct 2008 22:36:02









 

                 แบบพิมพ์ของพระที่ออกจากกรุหนองช้างเผือกซึ่งได้พระมากที่สุดนั้น ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อชินเงิน และมีพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงบ้างเล็กน้อย พิมพ์ที่พบและคนรู้จักกันดีก็คือพระร่วงนั่งเข่าลอยซึ่งมีพิมพ์คล้าย พระร่วงนั่งเข่าลอยกรุ บางขลัง สุโขทัย ซึ่งตอนที่แตกกรุใหม่ๆไม่มีใครรู้ว่านี่คือพระกรุบ้านตาก  เวลานำไปให้เช่า หรือส่งประกวด พระร่วงนั่งบางขลังสุโขทัย มักจะมีพระร่วงนั่งบ้านตากหลายๆองค์ ปลอมตัวเป็นพระร่วงนั่งบางขลัง ติดรางวัลกันบ่อยๆไป ดังรูปพระติดรางวัลงานประกวดที่ผมนำมาให้ดูประกอบกันนี้ อนึ่งพระร่วงนั่งพิมพ์เข่าลอยของกรุบ้านตากนี้มีทั้งพิมพ์ใหญ่  พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็กด้วย

 

               พิมพ์พระเชตุพนหน้าโหนกบัวสองชั้น ปางสมาธิ ของกรุหนองช้างเผือกก็เช่นกัน เป็นพิมพ์ที่มีผู้นิยม จึงมีผู้นำไปทำราคาในฐานะของพระเชตุพนหน้าโหนกบัวสองชั้น ของสุโขทัยบ้าง ของกรุวัดบรมธาตุกำแพงเพชรบ้าง ด้วยความที่รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง  ซึ่งที่จริงแล้วพระเชตุพนหน้าโหนกบัวสองชั้นของสุโขทัยหายากกว่า พระเชตุพนหน้าโหนกบัวสองชั้นของกรุหนองช้างเผือกมาก เรียกได้ว่า  1 : 50 เห็นจะได้ และยังแตกต่างกันที่หน้าตา  และบัวคู่กลางของกรุบ้านตากจะเล็กกว่าบัวขนาบข้างอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งบัวของพระเชตุพนหน้าโหนกบัวสองชั้น พิมพ์เล็ก ของสุโขทัย ขนาดของบัว  จะกว้างกว่าขนาดของหัวเข่า  และยื่นนูนออกมาด้านหน้ามากกว่า พระเชตุพนหน้าโหนกบัวสองชั้นของกรุบ้านตาก อย่างชัดเจนดังรูปพระติดรางวัลงานประกวด

 

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Thu 9, Oct 2008 22:39:41









 

นอกจากนั้นพระกรุหนองช้างเผือกก็ยังมี พิมพ์พระร่วงนั่ง หลายๆพิมพ์ พิมพ์ซุ้มยอ พิมพ์ซุ้มยอซุ้มเรือนแก้ว พิมพ์พระร่วงยืน พิมพ์พระร่วงนั่งลพบุรี และหลายพิมพ์ซึ่งไปเหมือนกันกับพระเนื้อดินของ จ.ว. ลำพูน เช่นพิมพ์ซุ้มกระรอกกระแต พิมพ์พระสาม พิมพ์พระเลี่ยง แต่พระของกรุหนองช้างเผือกเป็นพระเนื้อชินเงินเป็นส่วนใหญ่ เนื้อตะกั่วสนิมแดงนั้นมีบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย  ตามข้อสันนิฐานของผมคาดว่า ไม่ได้เจาะจงเทเป็นพระเนื้อตะกั่วโดยตรง  แต่คงเป็นเนื้อโลหะส่วนก้นกระทะที่นำมาเทพิมพ์พระ ในตอนท้ายๆแล้ว จึงมีส่วนผสมของตะกั่วซึ่งมีน้ำหนักมาก นอนก้นอยู่

 

                      ส่วนของกรุเจดีย์อัสดง และกรุนาโองโมงจะพบเจอพระเนื้อดิน พิมพ์นางท่ามะปรางค์ และพิมพ์พระร่วงนั่ง อีกหลายขนาด อนึ่งพระเนื้อดินของ อ. บ้านตากนี้ เป็นพระที่มีกรวดทรายปนอยู่ในเนื้อบ้าง จึงไม่ค่อยมีความหนึกนุ่มแบบพระกำแพง แต่ค่อนข้างแกร่งแห้ง มีส่วนน้อยกว่าน้อยเท่านั้นที่มีเนื้อละเอียดนุ่มบ้าง ต้องห้อยจนได้ไอเหงื่อ เนื้อจึงจะน่าดูบ้าง  พระเนื้อดินของกรุนี้จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก ที่เป็นเนื้อชินเงินนั้น แทบไม่พบเลย ตามข้อสันนิฐานของผมคาดว่า อาจจะมีสร้างไว้ แต่โดนความชื้น จากสภาพกรุที่น้ำท่วมถึง จนผุกร่อน ชำรุด สูญสิ้นสภาพไป เหลือไว้แต่ส่วนที่เป็น พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ซึ่งเป็นโลหะหนักก้นกะทะนั้นมีน้อย จนแทบจะนับองค์ได้

 

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Thu 9, Oct 2008 22:41:32









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Thu 9, Oct 2008 22:42:33









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Thu 9, Oct 2008 22:43:19









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Thu 9, Oct 2008 22:44:07









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Thu 9, Oct 2008 22:44:42









 
องค์นี้กรุสะพานกิติขจร
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Thu 9, Oct 2008 22:45:41









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 15 ] Thu 9, Oct 2008 22:46:16









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 16 ] Thu 9, Oct 2008 22:49:56









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 17 ] Thu 9, Oct 2008 22:50:34









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 18 ] Thu 9, Oct 2008 22:51:18









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 19 ] Thu 9, Oct 2008 22:51:51









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 20 ] Thu 9, Oct 2008 22:52:59









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 21 ] Thu 9, Oct 2008 22:55:00









 
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 22 ] Thu 9, Oct 2008 22:55:36

 

เอาเท่านี้ก่อนนะครับ เพราะยังมีอีกเกือบ 10 พิมพ์ที่ตอนนี้อยู่ที่สำนักงาน ในหนังสือเนื้อที่จำกัดจึงลงได้เพียง 10 พิมพ์ ส่วนรูปที่ตกหล่นในหนังสือ เพราะบทความอ้างถึงแต่ไม่มีรูป ผมได้นำมาลงไว้ในนี้หมดแล้วครับ(รูปแผนที่, รูปดงไม้ที่ข้างหลังเป็นเจดีย์พระบรมธาตุ, รูปพระงานประกวด) ไว้มีโอกาสผมจะกลับมาแก้ไขส่วนที่ผิดพลาดนี้ในหนังสือปกแข็งเล่มที่กำลังดำเนินการอยู่ครับ)

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 23 ] Thu 9, Oct 2008 23:04:15

 
จะรอครับป๋า ไม่มีปัญหา ครับ   







 
โดย : บ้านเหนือ    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 24 ] Fri 10, Oct 2008 01:14:34

 
ไม่เป็นไรครับ คุณ วันชัย  ผมก็กำลังคิดว่าจะเอารูปที่ขาดมาใส่ไว้ให้ดูใน Web เหมือนกัน  การตั้งใจจะทำงานให้ออกมาให้ดีที่สุด นั้น เหนื่อยมากจริงๆ  ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้  กลัวก็แต่  ผู้อุดหนุนจะตำหนิเอาว่าอ่านไม่เข้าใจ ก็เท่านั้นครับ
 
โดย : อาทิตย์    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 25 ] Fri 10, Oct 2008 07:46:33

 

เท่าที่รู้ๆ กลุ่มที่ทำหนังสือเล่มนี้ ทำด้วยความจริงใจ นับถือ นับถือ

 
โดย : นำกิจ    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 26 ] Fri 10, Oct 2008 08:36:25

 
เยี่ยมครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลย....
 
โดย : พลร้อยเอ็ด    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 27 ] Fri 10, Oct 2008 09:50:56

 
อ่านซะเมื่อยเลย
 
โดย : pongsakorn    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 28 ] Fri 10, Oct 2008 11:15:11

 

ส่งต้นฉบับให้เค้าไม่ครบหรือเปล่า...ป๋าน้อย อิอิอิ

 
โดย : โชค มอชอ    [Feedback +21 -0] [+0 -0]   [ 29 ] Fri 10, Oct 2008 13:51:12

 
เยี่ยมครับ ได้ทั้งความรู้และดูพระแท้ๆ
 
โดย : สมภาร    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 30 ] Fri 10, Oct 2008 16:53:50

 
 แบบนี้ชอบมาก
 
โดย : bonex    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 31 ] Fri 10, Oct 2008 20:48:32

 

รอหนังสืออยู่ครับ  ไม่เห็นที่แผงเลย  วันนี้เย็นๆไปดูใหม่ครับ 

 

 
โดย : bb    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 32 ] Sat 11, Oct 2008 12:40:55

 
เล่มสองเนื้อหาแน่นดีครับ
 
โดย : น้อย ไอยรา    [Feedback +28 -1] [+0 -0]   [ 33 ] Sun 12, Oct 2008 00:46:22

 
ขอบพระคุณอ.น้อยด้วยเช่นกันครับ ที่ทำให้หนังสือมีเนื้อหาที่น่าอ่าน มีเนื้อหาที่ทำให้หนังสือดูมีคุณค่าขึ้นเยอะครับ
 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 34 ] Sun 12, Oct 2008 07:02:07

 
กราบขออภัยในความผิดพลาดเกี่ยวกับบทความพระกรุจังหวัดตาก ในหนังสือ the Art of Siam เล่มที่ 2 : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.