พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระกรุทั่วไป

มาดู คราบตะกรัน ที่เกาะอยู่บน ผิวเนื้อพระสนิมแดง


มาดู คราบตะกรัน ที่เกาะอยู่บน ผิวเนื้อพระสนิมแดง


มาดู คราบตะกรัน ที่เกาะอยู่บน ผิวเนื้อพระสนิมแดง

   
 

 

      หลายคนที่สะสมพระสนิมแดง คงเคยพบเจอกับ คราบตะกรัน หรือคราบแคลเซียม ที่มักจับอยู่บนผิวหรือตามซอกผิวของพระสนิมแดง   คราบตะกรันนี้ ก็คือหินปูนที่ละลายอยู่ในนํ้า และเป็นอย่างเดียวกันกับ ตะกรันที่จับอยู่ในหม้อต้มนํ้า หรือท่านที่ใช้เตารีดไอนํ้า  ก็จะพบตะกรันที่ว่านี้หลุดร่วงออกมา เป็นเกร็ดแข็งๆขุ่น เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง
      การที่พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง มีคราบตะกรันนี้จับบนผิว อย่างแนบแน่น สีของตะกรันเองค่อนข้างขุ่นครึ่งใส จะช่วยให้ พระองค์นั้นดูว่าแท้ได้ง่ายขึ้น  ถ้าเป็นแผ่นโต คงยอมให้แสงสว่างผ่านไปได้บ้าง  ธรรมดาการจะเอาตะกรันนี้ออกจากกาต้มนํ้า มักจะใช้นํ้าส้มสายชู เทใส่แช่เอาไว้สักคืน ตะกรันนี้ก็จะอ่อนตัว หลุดร่วงออกจากกาได้ไม่ยาก  แต่สำหรับพระแล้ว ไม่ควรล้างออกเสีย แต่นิยมเก็บเจ้าตะกรันนี้ไว้ เพื่อจะได้เห็นธรรมชาติที่หินปูนในกรุมาจับผิวพระไว้ ย่อมแสดงว่ากว่าจะเป็นเช่นนั้นได้  พระจะต้องผ่านกาลเวลาจากในกรุมาขนาดไหน
       การที่พระกรุเดียวกัน บางองค์ไม่มีตะกรันแบบนี้มาจับ อาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นความลึกของกรุที่ฝังพระไว้  ระดับของนํ้าเวลาเอ่อท่วม ถึงองค์พระนั้นหรือไม่ เพราะคราบแคลเซียมนี้จะมาพร้อมกับนํ้าที่ท่วมถึง จากใต้ดิน  หรืออาจจะมาจากหินปูนทีใช้สร้างเจดีย์ละลายปนกับนํ้าฝนมาก็อาจเป็นได้ องค์ที่นํ้าท่วมไม่ถึง  ก็แน่นอนว่าตะกรันที่จะมากับนํ้าที่จะมาท่วมนี้ จึงไม่มีทางจะมาเคลือบผิวพระไว้ได้
        อีกปัจจัยก็คือ เมื่อพระขึ้นจากกรุแล้ว ในองค์ที่มีคราบตะกรันนี้จับตามผิวพระอยู่ มากบ้างน้อยบ้าง  คนที่ได้พระมาเห็นว่าเป็นพระตะกั่วสนิมแดง และพระที่เพิ่งขึ้นจากกรุ ผิวคงสกปรก มีดินทรายขี้กรุจับอยู่เต็ม  ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็เอา
พระนั้นมาทำความสะอาด ด้วยการใช้นํ้ายาเคมี พวกที่กัดหินปูน เช่นนํ้ายาวิกซอล หรือเป็ด สำหรับใช้ล้างห้องนํ้า มาแช่พระไว้   คราบตะกรัน รวมทั้งสิ่งสกปรก ที่พอกอยู่บนผิวพระ ก็จะหลุดละลายออกมาจนหมด  และก็ไม่มีทางที่ จะเอากลับคืนมาได้อีกเลย
         พระองค์แรกที่เอามาให้ดูกันนี้ เพื่อที่จะให้เห็นคราบได้ชัดเจน จึงตัดแบ่งครึ่งองค์  จะเห็นได้ว่า มีคราบตะกรัน จับอยู่บนผิวพระโดยทั่วไป เมื่อส่องกล้องดู จะเห็นตะกรันนี้เป็นแผ่นคราบบางๆ  ผิดกับตะกรันที่หลุดร่วง ออกมาจากกาต้มนํ้า ที่จะ
เป็นก้อน เป็นเกล็ดเล็กๆ สะท้อนแสง เป็นเงา สีออกนํ้าตาลอ่อนเช่นเดียวกัน
 
     
โดย : อาทิตย์   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Tue 24, Jul 2012 18:41:12
 








 

 

         องค์ที่ 2 นี้ จะเห็นได้ว่าตามซอกผิวของพระ โดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คราบตะกรัน หรือ แคลเซียมนี้ จับเป็นแผ่นที่
ค่อนข้างจะมีความหนาพอสมควร  ซึ่งเมื่อดูผิวพระที่แห้งผากอมความเก่าแล้ว ก็จะรู้ว่าพระองค์นี้ยังไม่โดนสัมผัสมา หรือจะ
เรียกว่าสภาพเดิมๆ ก็คงจะได้
 
โดย : อาทิตย์    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Tue 24, Jul 2012 18:43:25

 

ช้อบ ชอบ

 
โดย : bonex    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Wed 25, Jul 2012 20:28:43

 

emo_12 มาบ่อยๆ นะครับแบบนี้่

 
โดย : meemoodang    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Thu 26, Jul 2012 01:46:58

 

มาศึกษาครับemo_14

 
โดย : บิ๊กเสี่ย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Thu 26, Jul 2012 09:05:30

 

ป๋า มาให้ความรู้ กับ เพื่อนๆ อีกละ แจ่มๆ ทั้งสององค์เลย ครับ

 
โดย : alkj    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Sat 4, Aug 2012 05:16:15









 

 

อาจารย์ครับ พระของผมเป็นแบบนี้คือมีสะเก็ดเล็กๆสีดำ มองเหมือนเกล็ดผงกาแฟ เกาะอยู่ชั้นบนของไขขาว(ตามลูกศรชี้ )ผมว่าจะล้างออก อาจารย์ว่าควรใช้อะไรล้างดีครับ และจะเป็นผลเสียหรือไม่ครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
 
 
 
โดย : อ้วนจัง    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Thu 18, Oct 2012 15:22:56

 
มาดู คราบตะกรัน ที่เกาะอยู่บน ผิวเนื้อพระสนิมแดง : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.