พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

กะลาตาเดียว ทั้งลูก


กะลาตาเดียว ทั้งลูก


กะลาตาเดียว ทั้งลูก

   
 

สังเกตจะมีตะเข็บเพียงสองเส้นครับ

 
     
โดย : toi   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Fri 20, Mar 2009 21:45:23
 








 

ใบลานต้นฉบับกล่าวไว้ว่า ให้เลือกใช้แต่ "กะลาตาเดียวมาแกะเป็นรูปราหูอมจันทร์"

นอกจากนั้นตามคติโบราณของไทยยังได้ใช้กะลาตาเดียวอีก 3 อย่าง คือ

1.ใช้สำหรับตัดต้อที่ตาให้หายขาดได้

2.ใช้สำหรับตักข้าวสารใส่หม้อ ท่านว่า "เพิ่มพูนบริบูรณ์ พูนทรัพย์นับทวี"

3.ใช้สำหรับกันเสนียดจัญไร คุณไสย์ และผีต่างๆได้

 

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Fri 20, Mar 2009 22:06:51









 

นี่ขนาดยังไม่ต้องปลุกเสกนะครับ ยังศักดิ์สิทธิ์ได้ขนาดนี้  ยิ่งได้เอามาลงยันต์จารอักขระและปลุกเสกยิ่งวิเศษใหญ่เลยนะครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Fri 20, Mar 2009 22:11:23









 

องค์นี้ใช้กะลาตาเดียวแกะเช่นกัน เจ้าของเดิมใช้ช้ำมากๆ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Fri 20, Mar 2009 22:19:02









 

คู่นี้เป็นของครูบานันทา วัดทุ่งม่านใต้ ลำปางครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Fri 20, Mar 2009 22:21:48









 

ส่วนแบบนี้เห็นเขาเรียกกันว่ากะลาเผือก คงเป็นเพราะผิวขาวๆนะครับ  ลูกนี้ไม่ใช่กะลาตาเดียวนะ  ผมเอามาถ่ายให้ดูว่ากะลาสองตานั้นเป็นอย่างไรครับ  จะสังเกตเห็นว่ามีตะเข็บรอยต่อสามเส้นครับ  

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Fri 20, Mar 2009 22:31:01









 

ผมลองจารดู เนื้อกะลาอ่อนๆก็จริง แต่จารได้ไม่ลึกเท่าครูบานันทาท่านจารกะลาแก่นะครับ ท่านจารมือหนักกินลงเนื้อกะลาลึกมากครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Fri 20, Mar 2009 22:37:38









 

ส่วนคู่นี้เจ้าของบอกว่าเป็นของครูบานันตา แต่นำมาปิดทองใหม่  เลยทำให้ดูใหม่ๆอยู่  ดูแล้วก็หนักใจนะครับ  

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Fri 20, Mar 2009 22:50:09









 

ถ้าบอกเป็นของหลวงพ่อใหม่ๆ ก็น่าเป็นไปได้นะครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Fri 20, Mar 2009 22:53:13









 

บอกว่าปิดทองใหม่ แต่รอยเหล็กขีดผิวทองหายไปลักษณะที่จารหลังปิดทอง  จารเบาเหล็กจารกินไม่ลึก คำว่าจันทปะภาใส่ไม้หันอากาศ  ส่วนหน้าของตัว มะ สูงส่วนหลังของตัวมะตวัด  ใส้ตัวมะมีหัวและโค้งงอ  ตัว สะของคำว่า เส จะขาดตอน   ตัว ถะ ของคำว่า ถา จารเส้นหงายซะสามตอน  เส้นตารางยันต์หางกันมากๆไม่ติดกันทุกเส้น  พระคาถาคำว่า กุเสโต จารว่า กุอะไรไม่รู้อ่านไม่ออกแล้วก็โต   

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Fri 20, Mar 2009 23:07:55









 

คู่นี้เจ้าของก็ไม่รู้ว่าเป็นของหลวงพ่ออะไร ผมก็เอามาแล้ว จารอักขระเหมือนกันกับของครูบานันทา แต่ลายมือเบาจารตื้นครับ 

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Fri 20, Mar 2009 23:28:18









 

คู่นี้วิจารณ์ได้เต็มทีครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Fri 20, Mar 2009 23:32:17





 
       

  ป๋าต้อย.....น้องๆต้องได้ความรู้ใส่รอยหยักกลับไปทุกที เยี่ยมจริงๆครับป๋า..

 
โดย : พรหมาจักรโก    [Feedback +26 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Sat 21, Mar 2009 03:41:50









 

ขอบคุณ คุณพรหมมจักรโกครับผม

สระ อุ ลากต่อมาจากปลายหางตัว สะ ครับ

เส้นโค้งที่ประกอบกันเป็นตัว ถะ ของคำว่า ถา คว่ำลงทุกเส้นครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Sat 21, Mar 2009 08:17:51









 

ลายมือครูบานันทา ข้อมูลจากตาอิน บ้านก๋ง  หลานครูบานันทา

ก่อนแกะครูบาท่านจะเอากะลาตาเดียวแช่น้ำไว้สองคืน  ทำให้กะลานิ่มแกะง่าย และจารได้ลึกชัดเจน  ตัว มะ มองคล้าย ง.งู นะครับผมว่า

ใส้ตัว มะ ไม่มีหัว เริ่มต้นเล็กๆ ปลายใหญ่ๆและลึก ไม่งอมากนักครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Sat 21, Mar 2009 08:32:31





 

ขอบข้างราหูอมจันทร์ของครูบานันทา ต้องไม่มีรอยเลื่อยฉลุครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 15 ] Sat 21, Mar 2009 09:07:48

 

สุดยอดเลยครับ คู่ที่ให้วิจารณ์ก็อยากได้จัง น่าจะใหญ่พอดูนะครับ ศิลป์ทรงเครื่องอีกต่างหาก

กะลาครูบานันตาฯ ของดีที่คนไม่กล้าเล่น ราคาร่วงเพราะเก๊เยอะ ยัดกันสนั่นเมือง ผมเองก็เล่นหาเฉพาะลายมือแบบนี้แบบเดียว แบบอื่นก็มองๆ ถ้าไม่จัดจริงๆ ก็จะวางไว้ก่อน

แต่ถ้ามีกระทู้ดีๆ แบบนี้ ของยากก็กลายเป็นของง่าย คนก็จะได้มีโอกาสมีของดี แท้ๆ ไว้ใช้

สุดยอดเลยครับผม

 
โดย : TahLampang    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 16 ] Sat 21, Mar 2009 16:01:31









 

คู่ที่ว่านั้นกว้าง 70 ม.ม. กว่า คูณ 80 ม.ม.กว่าครับ  เมื่อก่อนผมก็ชอบครับ แต่พอได้เห็นคู่ที่ตาอินรับจากครูบานันทา ก่อนปี 2500 แล้ว จืดไปเยอะเลยครับ  คุณ Tah ฉลาดเล่นนะครับ ผมก็ชอบศิลป์นี้และรอยจารอักขระแบบนี้เหมือนกัน เสียเงินเยอะหน่อยแต่สบายใจดีครับ  ราหูดีใช้ได้เหมือนเครื่องรางอื่นๆแหละครับ แต่พิเศษตรงที่ เสริมแก้ตอนดวงตกได้นี่ซิเยี่ยมครับ

ตัว ตะ ต่อหางจากวงกลมครับต่อชนก๊มี ไม่ชนก็มี 

  เส้นของตัว ถะ ของคำว่าถา คว่ำเกือบทั้งหมดครับ  

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 17 ] Sat 21, Mar 2009 19:37:30









 

อย่างคู่นี้ ฝาที่ชื่อสุริยะประภา แต่พระคาถาเป็น จันทรประภาคือ ยะ ถา ตัง ไปซะนี่

ส่วนฝาที่ชื่อ จันทรประภา แต่พระคาถากลับเป็น ของสุริประภาไปซะอีก  ต้องจำให้ดีดีครับว่า ของที่ครูบานันทาท่านจารนี้น ชื่อไม่น่าจะสลับกัน คู่เขาเป็นอย่างนี้ครับ

สุริยะประภา พระคาถาสามคำแรกคือ กู เส โต

จันทรประภา พระคาถาสามคำแรกคือ ยะ ถา ตัง

แต่ที่ใส่ชื่อสับกันไว้อย่างนี้น่ะ เวลาใครถามว่าทำไมชื่อกลับกันล่ะ ?

เจ้าของจะตอบโจทย์ว่าไงดีล่ะครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 18 ] Fri 27, Mar 2009 18:13:38









 

จารชื่อไม่กลับกันเป็นอย่างนี้ครับ

ซ้ายมือเรา สุริยะปะภา     /    ขวามือเรา จันทะปะภา

ซ้ายมือเรา กุ เส โต โต  /   ขวามือเรา ยะ ถา ตัง ตัง 

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 19 ] Fri 27, Mar 2009 18:35:55





 

สุริยะปะภา

จาร กุ เส โต โต ครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 20 ] Fri 27, Mar 2009 18:41:51





 

จันทะปะภา

จาร ยะ ถา ตัง ตัง ครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 21 ] Fri 27, Mar 2009 18:43:54

 

เก็บตกจากวงเหล้าตอนเกือบได้ที่แล้วหละครับ เอาเป็นว่าลองเอาไปตรองดูก็แล้วกันนะครับ

1.กะลาหลวงพ่อน้อยให้ดูความเก่าของเนื้อกะลาเป็นเกณฑ์ตัดสินเช่นรอยแห้งของเสี้ยนในเนื้อกะลา ความเก่าที่เป็นธรรมชาติที่ของเลียนแบบยังทำได้ไม่เนียน

 

2.การแกะกะลายุคเก่ายุคเก่าๆส่วนใหญ่จะเป็นพระลูกวัดที่บวชในยุคหลวงพ่อน้อยเกือบแทบทั้งสิ้นเป็นผู้แกะศิลป์ในการแกะจะเป็นมาตราฐานกันไม่กี่ท่าน ที่โดนอ้างอิงบ่อยๆเช่นตาสี,ตาคล้อย,ตาพุก,ตาสม เป็นต้นที่บวชในยุคหลวงพ่อ

 

3.การแกะกะลาและการลงอักขระด้านหลังส่วนใหญ่จะเป็นพระที่ได้ครอบครูกับหลวงพ่อน้อยแทบทั้งสิ้นจะเป็นคนทำ ส่วนใหญ่จะลงตามตำราที่เขากล่าวเล่าอ้างกันเช่น นะ12โม21ที่จะลงตามตำราที่ได้ครอบมาจากหลวงพ่อน้อย ร้อยละเก้าสิบจะเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อลงอักขระทั้งสิ้น

 

4.ลูกศิษย์ที่ได้ครอบครูกับหลวงพ่อน้อยจะนำกะลาที่ได้แกะและลงจารอักขระไว้ไปให้หลวงพ่อน้อยปรุกเสกกำกับอีกทีในวันครอบครูใหญ่ หรือตอนในฤกษ์ขณะมีสุริยุปราคาและจันทรุปราคา

 

5.กะลาแกะราหูยุคนั้นไม่มีเลี่ยมทอง นาค หรือเงินจากวัดทั้งสิ้นการเลี่ยมจะไปให้ที่ร้านทำซะเป็นส่วนใหญ่

 

เอวัง... ก็เมาด้วยประการฉะนี้

 

พอเริ่มสร่างๆพอจำได้มาอีกหน่อยนะครับ

6.กะลาฝีมือช่างสีจะมีสีเล็กกับสืใหญ่นะครับ(คือสีคนพ่อกับสีคนลูก)คนละยุคกัน

7.กะลาแกะยุคท่านอาจารย์ปิ่นรอยจารจะมีเอกลักษณ์อยู่หนึ่งอักขระคือ

รอยจารคล้ายๆรูปใบพัดสามแฉกอยู่ด้านล่างของรอยจารด้านหลังเสมอ

8.กะลาแกะราหูยุคเก่าๆส่วนใหญ่จะใช้ปลายมีดจักตอกแกะลายละเอียดของกะลา

ขอบของชิ้นงานจะเป็นรอยถากหรือเกลาจากมีดซะเป็นส่วนใหญ่ส่วนรูที่ร้อยห่วงจะใช้ปลายมีดคว้านหมุนเอาทั้งสองด้านหรือบางทีเคยเจอแบบที่ใช้โลหะลนไฟแล้วไชเอาแต่ส่วนใหญ่จะใช้ปลายมีดคว้านเอานะครับ

บทความของคุณยาหอม ที่เขียนไว้ได้น่าศึกษามากครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 22 ] Sun 27, Dec 2009 09:57:26

 
กะลาตาเดียว ทั้งลูก : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.