พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

กะลาตาเดียว แกะราหู ใช่มีแต่หลวงพ่อน้อย และครูบานันตานะครับ


กะลาตาเดียว แกะราหู ใช่มีแต่หลวงพ่อน้อย และครูบานันตานะครับ

   
 

เมื่อ 10 ที่แล้วเจอกะลาแกะราหู เก่าๆหน่อย เขาตีเหมารวมเป็นของหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทองกันนะครับ  มายุคสมัยนี้เขาจะตีเหมารวมเป็นหลวงพ่ออะไรดีครับ

 
     
โดย : toi   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Sat 14, Mar 2009 22:52:43
 








 

ตนนี้ โต รา โม  สระโอ ใช้ไม้ โอ ครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Sat 14, Mar 2009 22:59:47





 

ครูบาแก่นครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Sat 14, Mar 2009 23:02:37





 

พระมหาเมธังกรครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Sat 14, Mar 2009 23:05:05









 

หลวงพ่อน้อยครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Sat 14, Mar 2009 23:08:20









 

ครูบาแก้ว ชยเสโน วัดน้ำจำ เชียงใหม่

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Sat 14, Mar 2009 23:12:46









 

เอกลักษณ์แบบนี้ ลายมือรอยจาร ว่า " ตัง ยะ ตัง " ตามตำราท่านจารว่า "ตัง วะ ตัง" ไม่รู้ว่าเป็นของอาจารย์ไหนครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Sat 14, Mar 2009 23:20:57









 

ส่วนสุริยะ คำว่าโตท่านใช้ทั้ง  โต และ เตา  ส่วนคำว่า โม ท่านใช้ เมา ครับ  คงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนนะครับ  

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Sat 14, Mar 2009 23:27:13

















 

คู่นี้จาร ตัง วะ ตัง แต่ใส่ชื่อ สุริยะ จันทะ สลับฝากันครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Sat 14, Mar 2009 23:30:58





 
 
โดย : แดน ดอนตัน    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Sat 14, Mar 2009 23:34:33

 

เล่นพนันกันเยอะๆ ก็ดีเหมือนกันนะครับ สนุกดี ได้เงินใช้ด้วย ขอบคุณครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Sat 14, Mar 2009 23:42:50





 

จันทรประภา ของพระมหาเมธังกร จะจารว่า

ยะ ถา ตัง มะมะ ตัง ถา ยะ

ตัง วะ ตัง มะมะ ตัง วะ ตัง

เส กา ณา มะมะ  ณา กา เส

ตัง ตัง ยะ มะมะ ยะ ตัง ตัง

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Sat 14, Mar 2009 23:49:11









 

คู่นี้ของครูบานันตา ทุ่งม่านใต้ ท่านจะจาร ฝาจันทรประภาว่า

ยะ ถา ตัง มะมะ ตัง ถา ยะ

ตัง ตัง ตัง มะมะ ตัง ตัง ตัง

เส กา เส  มะม  เส กา เส

ตัง ตัง ยะ มะมะ ยะ ตัง ตัง 

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Sat 14, Mar 2009 23:58:00









 

พระคาถาที่ใช้สำหรับลงยันต์และใช้เสก สุริยประภา และ จันทรประภาครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Sun 15, Mar 2009 00:03:02









 

อาจารย์เฮง ไพรยวัล ท่านก็จารยันต์จันทรประภาเหมือนในตำรา ลงยันต์และเสกครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Sun 15, Mar 2009 00:12:27

















 

พระปลัดวรพจน์  แม่แตง เชียงใหม่  ท่านก็ใช้ลงผ้ายันต์เหมือนในตำรา ลงยันต์และเสกเช่นกันครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 15 ] Sun 15, Mar 2009 00:17:06

 
ข้อมูลแน่นได้ความรู้ครับ
 
โดย : น้อย ไอยรา    [Feedback +28 -1] [+0 -0]   [ 16 ] Sun 15, Mar 2009 00:21:26

 

ข้อมูลแน่นได้ความรู้ครับ

ขอบคุณครับผม

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 17 ] Sun 15, Mar 2009 00:26:36









 

ครูบานันตาท่านจารไม่เหมือนในตำรา ท่านจารไม่เหมือนใคร ท่านลงยันต์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท่านเองครับ

ขออนุญาตท่านเจ้าของราหูคู่นี้ด้วยนะครับ

ยันต์รูปแบบ 16 ช่องตามตำราครับ จะเห็นว่าต่างกันเยอะมาก ดีไปอย่างนึง ทำให้เราแยกแยะของครูบานันตาออกจากหลวงพ่อองค์อื่นๆได้ครับ  

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 18 ] Sun 15, Mar 2009 00:41:32









 

ส่วนเอกลักษณ์ รอยจารอักขระและลายมือหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทองนั้น  ผมเคยคุยกับเซียนกะลาแกะราหู คนกล้ามใหญ่ เมืองลำปาง ท่านว่า  หลวงพ่อน้อยมาเรียนต่อวิชากับครูบานันตา  ซึ่งใช้ตัวเมือง (ขอมลาว) ดังนั้นเวลาจารราหูของหลวงพ่อน้อยเอง จึงจารผสมกัน ทั้งขอมใต้และขอมลาว  ท่านบ่นต่อให้ผมฟังอีกว่า "แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้มันเล่นกันอย่างไร สับสนไปหมด"

เรื่องหลวงพ่อน้อยจารตัวขอมผสมกันทั้งสองแบบนี้ ผมก็เห็นด้วยกับท่านครับ เท่าที่ผมศึกษามา เหมือนกับที่เซียนกะลาท่านนี้บอกเลยครับ  สังเกตตัว ยะ กับตัว นะ ที่เป็นขอมใต้ที่ผมทำเครื่องหมายไว้ซิครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 19 ] Sun 15, Mar 2009 07:47:41









 

สองคู่นี้ศิลป์คล้ายๆกัน มีขาคล้ายกัน (ตามตำนาน พระราหูไม่มีขา) เอกลักษณ์การใช้ตัวขอมไม่เหมือนกันเลย แต่เขาว่าเป็นของพระมหาเมธังกรทั้งคู่ ไม่รู้ว่าตีเหมารวมรึเปล่า  หรือพระอาจารย์องค์เดียวแต่จารสองมาตรฐานกระมัง

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 20 ] Sun 15, Mar 2009 08:07:44

 

ขอขอบคุณผู้ใหญ่ท่านนี้ ผู้มีนามว่า ป๋าต๋อย มาก ๆ ครับ

ที่มีข้อมูลมาให้เด็ก ๆ รุ่นหลังได้ศึกษา

 
โดย : thanaphan2888    [Feedback +22 -0] [+0 -0]   [ 21 ] Sun 15, Mar 2009 11:55:21

 

 ดีมาก ๆ และขอบคุณมาก ๆ ครับผมได้ความรู้อีกเยอะเลยครับ

 
โดย : ดาบดิศแม่ใจ    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 22 ] Sun 15, Mar 2009 17:13:57

 

ขอบคุณ คุณthannaphan 2888 ครับ

ขอบคุณ คุณดาบดิศแม่ใจครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 23 ] Sun 15, Mar 2009 19:09:07





 
 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 24 ] Sun 15, Mar 2009 19:11:01





 

แน่นจริงๆเลยครับป๋า ทำหนังสือเลยครับป๋า ผมเชียร์อยู่ อิอิ

 
โดย : พรหมาจักรโก    [Feedback +26 -0] [+0 -0]   [ 25 ] Sun 15, Mar 2009 20:02:09

 

มิกล้าๆ ขอบคุณครับผม

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 26 ] Mon 16, Mar 2009 18:34:32

 

ครูบาเจ้านันทา  นนฺโท เป็นบุตรของพ่อเฒ่าคำปา และแม่เฒ่าอินตา พรหมปิงเปา เกิดที่บ้านทุ่งม่านใต้ ต.บ้านเป้า อ.เมือง จ.ลำปาง เกิดเมื่อ พ.ศ.2415 จ.ศ. 1234 ปีเต่าสัน เดือน 10 ขึ้น 10 ค่ำ วันเสาร์ยามกองแลง เวลา 19.30 น. เมื่ออายุได้ 5 ปี บิดามารดาได้บอกว่าลูกนี้ได้อยู่ในครรภ์ของมารดาได้ทศมาส คือ 10 เดือนครบ  เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้ขอกราบลาบิดามารดาไปเป็นศิษย์วัด บิดาได้มอบให้ท่านเจ้าไชยสารเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งม่านใต้ เป็นเด็กวัดได้หนึ่งพรรษา อายุได้ 13 ปี ได้บรรพชา (บวช) เมื่อ พ.ศ. 2427 ปี จ.ศ. 1246 ปีกาบสัน (ปีวอก) เดือน 8 ขึ้น 13 ค่ำ ได้ท่านเจ้าธรรมวัฒ วัดหนองร่อง บรรพชา คือครองผ้า ให้ศีล ครูบาธิ วัดบ้านแคร่เป็นพระอุปัชฌายะ  เป็นสามเณรได้ 9 พรรษา อายุได้ 21 ปี  ได้อุปสมบท ปีเต่าสี พ.ศ. 2435 จ.ศ. 1254  ครูบาสิทธิวังโส วัดหนองหล่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์  ครูบาเจ้าพรหมสโร วัดหลิ่งก้าน เป็นอนุสาวนาจารย์ ครูบาขัตติโย วัดหนองร่อง เป็นพระอุปัชฌายะ  ได้เปลี่ยนฉายาว่า  นันทาภิกขุ แต่นั้นมาได้เป็นภิกขุได้ 3 พรรษา ท่านเจ้าปัญญาได้ลาสิกขา  แล้วท่านมอบภาระให้รักษาการแทนเจ้าอาวาสต่อไปตั้งแต่นั้นมาได้เป็นเจ้าอาวาส และได้สืบกองวัตรอนุสติ 10 และ สติปัฏฐาน 4 พรหมวิหาร 4 จากท่านครูบาอโณชัย วัดปงสนุกด้านเหนือ ก็ได้ปฏิบับิติมาเป็นลำดับ ด้วยอาศัยท่านครูบามีวิริยะอุสาหะประกอบพร้อมด้วยชาคริยานุโยค  ประกอบเพื่อชำระใจไม่ให้โกสัชชํ ความเกียจคร้านเข้ามาครอบงำได้ตลอดจนอวสานกาลที่สุดนี้  ครูบาเจ้านันทา นนฺโท มรณะภาพเมื่อ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2504 อายุได้ 90 ปี  

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 27 ] Tue 17, Mar 2009 19:23:23









 

ผมเคยคิดว่า รอยจารบนหลังพระราหู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จะต้องจารตัวขอมลาวผสมขอมใต้แบบนี้ซะอีก เพราะเคยเห็นในหนังสือ ในเว็บ และที่ติดรางวัล ศิลป์และรอยจารจะเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น  ศรทึ่ชี้เป็นตัว ยะ กับตัว นะ ขอมใต้ครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 28 ] Sun 27, Dec 2009 10:43:12









 

ส่วนชิ้นนี้เป็นของผมเอง จารลักษณะเดียวกันครับ 

ตัวขอมบนสุด ตัวที่ 2 ศรชี้จะมีขมวดกลมๆ คล้าย ม.ม้า   ศรล่างสุดจะเป็น สามเหลี่ยม

 

 

เก็บตกจากวงเหล้าตอนเกือบได้ที่แล้วหละครับ เอาเป็นว่าลองเอาไปตรองดูก็แล้วกันนะครับ

 

1.กะลาหลวงพ่อน้อยให้ดูความเก่าของเนื้อกะลาเป็นเกณฑ์ตัดสินเช่นรอยแห้งของเสี้ยนในเนื้อกะลา ความเก่าที่เป็นธรรมชาติที่ของเลียนแบบยังทำได้ไม่เนียน

 

2.การแกะกะลายุคเก่ายุคเก่าๆส่วนใหญ่จะเป็นพระลูกวัดที่บวชในยุคหลวงพ่อน้อยเกือบแทบทั้งสิ้นเป็นผู้แกะศิลป์ในการแกะจะเป็นมาตราฐานกันไม่กี่ท่าน ที่โดนอ้างอิงบ่อยๆเช่นตาสี,ตาคล้อย,ตาพุก,ตาสม เป็นต้นที่บวชในยุคหลวงพ่อ

 

3.การแกะกะลาและการลงอักขระด้านหลังส่วนใหญ่จะเป็นพระที่ได้ครอบครูกับหลวงพ่อน้อยแทบทั้งสิ้นจะเป็นคนทำ ส่วนใหญ่จะลงตามตำราที่เขากล่าวเล่าอ้างกันเช่น นะ12โม21ที่จะลงตามตำราที่ได้ครอบมาจากหลวงพ่อน้อย ร้อยละเก้าสิบจะเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อลงอักขระทั้งสิ้น

 

4.ลูกศิษย์ที่ได้ครอบครูกับหลวงพ่อน้อยจะนำกะลาที่ได้แกะและลงจารอักขระไว้ไปให้หลวงพ่อน้อยปรุกเสกกำกับอีกทีในวันครอบครูใหญ่ หรือตอนในฤกษ์ขณะมีสุริยุปราคาและจันทรุปราคา

 

5.กะลาแกะราหูยุคนั้นไม่มีเลี่ยมทอง นาค หรือเงินจากวัดทั้งสิ้นการเลี่ยมจะไปให้ที่ร้านทำซะเป็นส่วนใหญ่

 

เอวัง... ก็เมาด้วยประการฉะนี้

 

 

พอเริ่มสร่างๆพอจำได้มาอีกหน่อยนะครับ

6.กะลาฝีมือช่างสีจะมีสีเล็กกับสืใหญ่นะครับ(คือสีคนพ่อกับสีคนลูก)คนละยุคกัน

7.กะลาแกะยุคท่านอาจารย์ปิ่นรอยจารจะมีเอกลักษณ์อยู่หนึ่งอักขระคือ

รอยจารคล้ายๆรูปใบพัดสามแฉกอยู่ด้านล่างของรอยจารด้านหลังเสมอ

8.กะลาแกะราหูยุคเก่าๆส่วนใหญ่จะใช้ปลายมีดจักตอกแกะลายละเอียดของกะลา

ขอบของชิ้นงานจะเป็นรอยถากหรือเกลาจากมีดซะเป็นส่วนใหญ่ส่วนรูที่ร้อยห่วงจะใช้ปลายมีดคว้านหมุนเอาทั้งสองด้านหรือบางทีเคยเจอแบบที่ใช้โลหะลนไฟแล้วไชเอาแต่ส่วนใหญ่จะใช้ปลายมีดคว้านเอานะครับ

บทความของคุณยาหอม ที่เขียนไว้ได้น่าศึกษามากครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 29 ] Sun 27, Dec 2009 10:49:02

 
กะลาตาเดียว แกะราหู ใช่มีแต่หลวงพ่อน้อย และครูบานันตานะครับ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.