พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

อาจารย์เฮง ไพรวัลย์


อาจารย์เฮง ไพรวัลย์


อาจารย์เฮง ไพรวัลย์

   
  อาจารย์ฆราวาสผู้กระเดื่องนามและเป็นเจ้าของเหรียญพรหม อันลือลั่น ข้าพเจ้าขอนำประวัติและเกียรติคุณของท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์มาเล่าเสนอแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาหรือผู้ที่ริเริ่มสนใจ ในวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังของท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ เพื่อเป็นสาระความรู้ที่มีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับท่านที่สละเวลาอันมี ค่าของท่านมานั่งอ่าน ก่อนอื่นขอยกประวัติอาจารย์เฮง ไพรวัลย์มากล่าวก่อน แม้ประวัติความเป็นมาของท่านค่อนข้างจะไม่ละเอียดมากนักข้าพเจ้าก็ได้ศึกษา และค้นคว้าติดตามเรื่องราวของท่านจากเกร็ดประวัติบ้างหรือคำบอกเล่าจากผู้ ที่เคยได้พบเห็น ท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ครั้งยังมีชีวิตอยู่ซึ่งแต่ละท่านก็ได้ทยอยลมหายตายจากไปเสียเป็น ส่วนมาก อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ นั้นท่านเป็นคนบ้านหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาของท่านเป็นนายตรวจ นายตรวจในที่นี้ก็คือ คนตรวจคุกนั่นเอง อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ท่านเกิดเมื่อปี ๒๔๒๘ ในสมัยรัชกาลที่๕ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์นั้นท่านมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับท่าน พระยาเพชรปรีชา และมีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน สำหรับตัวอาจารย์เฮง เองนั้นบิดาของท่านได้ส่งไปเรียนที่ ปีนัง สิงคโปร์ แต่ท่านเรียนไม่สำเร็จเพราะท่านเป็นคนชอบในวิชาไสยศาสตร์ท่านได้ท่องเที่ยว เดินทางเสาะหาร่ำเรียนวิชามาจากทางภาคใต้เหมือนกันบ้าง และเมื่อคราวท่านเดินทางกลับมาถึง บ้านที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาท่านก็ได้อุปสมบท โดยการอุปสมบทของท่านนั้นท่านได้อุปสมบท ๒ ครั้งด้วยกันโดยครั้งแรกท่านได้อุปสมบท ที่วัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเข้าใจว่าท่านบวชตามประเพณีอายุครบบวช แต่ในครั้งหลังท่านได้บวชอีกที่วัดพระญาติการาม โดยมีพระอุปัชฌาย์กลั่น ธรรมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในการบวชครานี้ท่านได้ศึกษาศิลปะศาสตร์วิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อกลั่นมาหลาย แขนงวิชาด้วยกันอาทิเช่นวิชาฝังเข็ม และวิชาชักยันต์เก้าเฮ ซึ่งท่านได้เคยศึกษามาก่อนกับแขกก่อนแล้วครั้งหนึ่งเมื่อครั้งอยู่ที่ภาคใต้ และอาจมาต่อกับหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติอีกก็เป็นได้ และอนึ่งการอุปสมบทในครั้งหลังนี้เข้าใจว่าท่านคงบวชเพื่อประสงค์จะศึกษา วิทยายุทธพุทธาคมกับหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติก็เป็นได้ในคราวที่อุปสมบทท่านก็ เป็นพระภิกษุที่ให้ความสนใจท่านได้ศึกษาตำราทางไสยศาสตร์อันว่าด้วยเวทมนต์ คาถาอักขระเลขยันต์ต่างๆจากจารึกวัดประดู่โรงธรมอย่างแตกฉาน ซึ่งท่านโบราณจารสมัยอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในในสมัยสมเด็จพระวันรัตน์วัดป่าแก้ว หรือรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช(พ.ศ.๒๑๓๓-๒๑๔๘) นั้นได้มีการรวบรวมสรรพวิชาไสยศาสตร์โดยนำมาจารึกไว้ที่วัดประดู่โรงธรรม ซึ่งเป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วย เวทมนต์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ท่านอาจารย์เฮง ท่านได้ศึกษาวิชาตามตำราคัมภีร์รัตนมาลาอย่างแตกฉานและเจนจบมาก คัมภีร์รัตนมาลา หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระคาถามหาพุทธาธิคุณ หรือคาถาอิติปิโสเต็มสูตร โดยตามปกติเราจะคุ้นเคยกับการสวดอิติปิโสตามบทสรรเสริญ พระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ซึ่งในบทพุทธคุณ ๕๖ บทธรรมคุณ๓๘ บทสังฆคุณ๑๔ รวมกันได้๑๐๘ พระคาถา แต่ในคัมภีร์รัตนมาลานี้ได้นำเอาพระคาถาของแต่ล่ะบทหรือแต่ละตัวมาแจก แจงอย่างละเอียดเช่น บทอิติปิโส มาแจกเป็น อิ อิฐโฐ สัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโตอาสะวักขะยัง อิฐธัมมังอนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง จงหมั่นภาวนา ป้องกันศาสตราห่อนต้องอินทรีย์ทั้งให้แคล้วคลาดนิราศไพรี ศิริย่อมมีแก่ผู้ภาวนา ติ ติณโณโยวัฏฏทุกขัมหาหิ ติณณังโลกานมุตตโม ติสโสภูมิอติกันโต ติณณังโอฆังนะมามิหัง ปิ ปิโยเทวมนุสสานัง ปิโยพรหมมานมุตโม ปิโยนาคสุปัณณาณัง ปิณิณทรียังนะมามิหัง ภานานึก สติตรึกตรองอย่าทำใจร้อน สารพัดเมตตาอย่าได้อาวรณ์ ครูแต่เก่าก่อนเคยได้ใช้มาเสกหมากรับประทาน แป้งหอมตระการน้ำมันหอมอันเสกแล้วประพรหมให้ทั่วกายาเป็นที่เสน่หาแก่ชนทั้ง หลาย โส โสภา วิระตะจิตโตโย โสภะมาโนสะเทวะเก โสกัปปัตเต ปโมเทนโต โสภะวัณณังนะมามิหัง ภาวนาทุกวันตามกำลังวัน ป้องกันอันตรายทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าร้ายศัตรูทั้งหลายแคล้วคลาดห่างไกล นี่จะเห็นได้ว่าพระคาถาในคัมภีร์รัตนมาลานั้นได้นำเอาพระคาถาแต่ละตัวมา สาธยายขยายความออกซึ่งแต่ละตัวล้วนมีคุณวิเศษมากมายดังที่ได้ยกตัวอย่างข้าง ต้น อนึ่งการเรียนคาถาอาคมหรือวิชาพุทธาคมต่างๆนั้นจะต้องร่ำเรียนกันอย่างจริง จังไม่มีการลังเลสงสัย และจำต้องท่องจำคาถาให้คล่องแคล้วและชำนาญ คำภีร์รัตนมาลานี้ถือเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาพุทธาคมและใช้เป็นสูตรในการ ลงอักขระแต่ละตัวอีกด้วย และคาถาในคัมภีร์รัตนมาลานี่เองท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์และพระคณาจารย์ตั้งแต่ครั้งโบราณได้นำมาดัดแปลงเป็นช่องตารางโดยการ นำพระคาถาแต่ละตัวมาสรอดแทรกลงในช่องตาราง ซึ่งมีปรากฏในตำราการสร้างตะกรุดหรือผ้ายันต์ ที่มีชื่อเรียกว่า ตะกรุดมหาจักรพรรดิตราธิราช เป็นของสูงที่เหมาะแก่พระมหากษัตริย์หรือเจ้าพระยาแม่ทัพนายกอง พระยันต์นี้เป็นยันต์๑๐๘ ตา(ยันต์ตารางสี่เหลี่ยม) ลงด้วยคาถาอิติปิโสรัตนมาลา ท่านอาจารย์เฮงไพรวัลย์ท่านได้เคยประกอบพิธีนี้ขึ้นเมื่อคราวท่านมีอายุครบ๕ รอบ ๖๐ปี ราวปี๒๔๘๒ ซึ่งพิธีกรรมการสร้างตะกรุดมหาจักรพรรดิตราธิราชนั้น ทำยากมากโดยจะต้องตั้งประรำพิธีในพระอุโบสถ ทำอาสนะยกเป็นชั้นไปพอที่พระสงฆ์นั่งได้๑๐๘องค์ขณะที่ลงพระสงฆ์แต่ละรูปจะ สวดพระคาถาอิติปิโสรัตนมาลาแต่ละบทจนครบ๑๐๘จบ แค่นี้ก็เรียกว่ายากพอสมควรแล้ว และหลังจากที่ท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์สึกจากเพศบรรพชิตแล้วนั้น ท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ก็เริ่มมีชื่อเสียงปรากฏในเพศฆราวาส มีชื่อเสียงและเกียรติคุณกระเดื่องนามในเรื่องของความขลังเริ่มต้นด้วยการ เป็นอาจารย์สักยันต์ ซึ่งอาจารย์เฮง ท่านจะใช้หมึกแดงในการสัก ลูกศิษย์ของท่านจึงมีชื่อเรียกว่านักเลงยันต์แดงมาก หรือเรียกว่าศิษย์อาจารย์เรือลอย เพราะท่านได้ล่องเรือไปทั่วในกรุงเทพมหานครราวปี๒๔๗๖ ซึ่งในปีนั้นได้มีกบฏบวรเดชจึงมีข้าราชการทหารตำรวจในพระนครมาให้ท่าสักเป็น จำนวนมาก และจากครั้งนั้นท่านอาจารย์เฮง ได้มีการตั้งพิธีการสักยันต์ที่วัดหันตรา โดยท่านได้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสัก ในสมัยนั้นในท้องที่อยุธยาหาพระที่จะสวดพุทธมนต์และสวดพุทธาภิเษกยากมาก ยกเว้นท่านอาจารย์สี เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่วัดเลียบพระนครและมีความเจนจบใน เรื่องนี้อยู่ด้วย สืบต่อมาว่าหากท่านอาจารย์เฮง จะประกอบพิธีครั้งใดจะต้องอาราธนาหลวงปู่สีมาร่วมพิธีฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ ท่านอาจารย์เฮงและหลวงปู่สีจึงมีความใกล้ชิดสนิทสนมโดยอาจารย์เฮงมีอายุ มากกว่าหลวงปู่สีราว๑๐ปี โดยพื้นฐานอาจารย์เฮง ไพรวัลย์นั้นเป็นผู้มีมีฐานะดีคนหนึ่งท่านมีบ้านเป็นหลักแหล่งอยูที่ทุ้ง หันตรา มีไร่นาและบ้านอยู่ที่วังน้อยด้วยและเมื่อท่านมีลูกศิษย์ทางกรุงเทพมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้แก่บรรดาลูกศิษย์จึงได้เชิญ ท่านมาเช่าบ้านอยู่ที่สวนมะลิและย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวหน้าสมาคมวาย .เอ็ม.ซี.เอ ย่านวรจักรจนกระทั่งเกิดสงครามหาเอเซียบูรพาขึ้นที่พระนคร ท่านจึงได้พาครอบครัวย้ายกลับไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังเดิมโดยได้ซื้อ เรือยนต์ลำหนึ่งขนาดย่อม แล่นสัญจรขึ้นไปอย่างสะดวก เนื่องเดินการเดินทางทางน้ำในสมัยนั้นจะสะดวกกว่าทางบกที่มีสภาพทุรกันดาร ในเรือของท่านใช้เป็นที่อาศัยซึ่งพร้อมไปด้วยปัจจัยในการดำรงชีวิตอย่างมี ความสุข โดยท่านจะไม่อยู่เป็นที่เป็นทางนึกอยากไปที่ใดท่านก็จะล่องเรือไป แต่ท่านก็จะแวะเวียนมาจอดที่ต้นสะตือหน้าวัดสะแกเป็นเสมอๆ **จากคำบอกเล่าของคุณลุงท่านหนึ่งที่วัดสะแก ท่านได้บอกว่าตาเฮง แกชอบมาจอดเรืออยู่ที่หน้าวัด จอดทีหนึ่งก็นานหลายวันตาเฮง แกไม่ชอบใส่เสื้อตัวเล็กรูปร่างท้วมสันทัด นุ่งผ้าขาวม้าเอาผ้าพาดบ่า มียายเชื้อ(ภรรยาท่านอยู่ด้วย)ตาเฮง แกชอบกินกาแฟหรือไม่ก็โอเลี้ยงโดยใช้เด็กที่วิ่งผ่านไปมาให้ไปซื้อให้ เป็นคนใจดี มีนิสัยค่อนข้างนักเลงพูดจาโพงผางเสียงดังในแต่ละวันจะมีลูกศิษย์แวะเวียน กันมาที่เรือมาขอผ้ายันต์บ้าง ซึ่งบางครั้งก็ขึ้นมานั่งปั๊มกันที่วัดสะแกเลย หรือบางทีก็มาสัก ขอตะกรุด ส่วนมาที่เห็นแกจะแจกตะกรุดสีเงินซะมากกว่าเท่าที่จำได้ ซึ่งคุณลุงที่เล่าตอนนั้นแกอายุประมาณ๑๐ขวบ**แม้ท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์จะเป็นอาจารย์สักที่มีชื่อเสียงโด่งดังในการลงอักขระเลขยันต์ในสมัย ที่อั้งยี่รุ่งเรืองแต่ชื่อเสียงของท่านก็ไม่แพร่หลายเหมือนกับอาจารย์ในยุค เดียวกันเช่น อาจารย์ยัง วัดปทุมคงคาซึ่งจะสักหนุมาน อาจารย์บู๋ ลักกั๊ก อาจารย์หรุ่นเก้ายอด อาจารย์ปั๋ง วัดสังเวชที่ใช้ปูนเสกคาดคอ เป็นเพราะอาจารย์เฮงไพรวัลย์ท่านพิถีพิถันในการรับศิษย์เพราะท่านได้เล็ง เห็นว่า “การที่จะมอบของดีให้กับคนที่ไม่ดีนั้นจะก่อความเดือดร้อนและเป็นปาปกรรมตก ไปถึงครูบาอาจารย์” แต่ก้ไม่วายมีลูกศิษย์ของท่านที่ตั้งตัวเป็นนักเลงอันธพาลจนบางงครั้งตำรวจ ได้มาขอร้องให้ทานเลิกสักเพราะลูกศษย์ของท่านมีหนังคงทนต่อศราศตราวุธยากแก่ การปราบปราม แต่ส่วนมากลูกศิษย์ของท่านจะเป็นผู้อาวุโสในกลุ่มของครูอาจารย์ เช่นครูฟู พุทธินัน อดีตศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบ หรือแม้แต่นักการธนาคารข้าราชการผู้ใหญ่เป็นต้น อาจารย์เฮงไพรวัลย์ท่านเป็นฆราวาสที่โด่งดังและสามารถเสกของขลังได้ ศักดิ์สิทธิ์จนกระทั่งท่านได้เสียชีวิตบนกุฏิหลวงปู่สีพินทสุวรรโณ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๒ สิริอายุได้๗๕ปีด้วยอาการสงบบนอ้อมแขนของครูฟู ที่วัดสะแก ปัจจุบันนี้อัฐิของท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดขนอน ต.หนองน้ำส้ม อ.อุทัยจ.พระนครศีรอยุธยา หากท่านใดว่างและอยากเดินทางไปทำบุญก็เรียนเชิญนะครับเพราะท่านนั้นเป็นสุด ยอดฆราวาสเมืองกรุงเก่าและยังเป็นเจ้าของเหรียญพรหมอันลือลั่นมีสนนราคาแพง ที่สุดในบรรดาเหรียญพรหมเลยก็ว่าได้..อ่านแล้วเห็นมีประโชยน์ดีขออนุญาติเจ้าของเดิมเพื่อเป็นการเผยแพร่  
     
โดย : TUI FM 2012   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Sat 9, Apr 2011 20:26:47
 
 
อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.