พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
อู้ได้ซะป๊ะเรื่อง

อัศจรรย์


อัศจรรย์


อัศจรรย์

   
  งูจงอางขนาดใหญ่ เลื้อยพันคอ รูปเหมือน สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่วัดชื่อดังลำปาง ไม่ยอมหนีไหน พร้อมชูหัว แผ่แม่เบี้ย บนศรีษะรูปเหมือน สร้างความประหลาดใจแก่เชื่อเป็นบารมีสมเด็จพุฒาจารย์โต ที่สร้างปาฏิหการแก่ผู้พบเห็น

ผู้สื่อข่าวรับแจ้งจาก พระวิศาล ถาวโร อายุ 47 ปี เจ้าอาวาสวัดถ้ำผางาม 3 พระโพธิสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่สำนักปฎิบัติธรรม พรหมรังสี เขตป่า ต.พระบาทวังตวง อ.แม่พริก จ.ลำปาง ติดถนนพหลโยธินสายลำปาง-ตาก กลางดึก วันที่ 27 สิงหาคม ว่า ได้เกิดสิ่งปฏิหารและมหัศจรรย์ขึ้นภายในวัด โดยมี งูจงอางขนาดใหญ่ เลื้อยอยู่ที่เหมือนขนาดใหญ่ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และรูปเหมือนของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหม รังสี และแผ่แม่เบี้ย บนศรีษะรูปเหมือน และไม่ยอมไปไหน จากนั้นผู้สื้อข่าวจึงเดินทางไปยังวัดถ้ำผางาม 3 พระโพธิสัตว์ เพื่อพิสูจน์ ทันที
เมื่อไปถึงบริเวณรูปเหมือน ก็พบงูจงอางขนาดใหญ่สีดำ ลายปล่องสีน้ำตาลเข้ม ความยาวกว่า 3 เมตร เลื้อยอยู่บริเวณรูปเหมือนขนาดใหญ่ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และรูปเหมือนของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหม รังสี ซึ่งเลื้อยและพันลำคอรูปเหมือนไม่ยอมไปไหน นอกจากนี้งูตัวดังกล่าว ได้แผ่แม่เบี้ย อยู่บนศรีษะรูปเหมือน ตลอดเวลา ซึ่งสร้างความแปลกใจอย่างมาก
พระวิศาล กล่าวว่า ก่อนที่จะพบงูตัวดังกล่าวกำลังเดินจงกลมบริเวณรูปเหมือนขนาดใหญ่ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และรูปเหมือนของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหม รังสี รูปเหมือนหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ และรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิจัย ซึ่งรูปเหมือนทั้งหมดมีขนาดใหญ่สูงกว่า 3 เมตร ประดิษฐานอยู่บริเวณหน้าวัด ก็พบงูได้เลี้อยวนไปมา และพยายามจะเลื้อยขึ้นไปบนรูปเหมือนขนาดใหญ่ของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหม รังสี แต่เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับพื้นดิน จึงทำให้งูตัวดังกล่าวไม่สามารถขึ้นไปได้ สร้างความแตกตื่นแก่พระสงฆ์ และแม่ชี ที่กำลังปฎิบัติธรรม นั่งสมาธิ และเดินจงกลม


จากนั้นงูได้เลี้อยขึ้นรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหม รังสี องค์เล็ก ที่อยู่บริเวณรูปเหมือนองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นที่กราบไหว้ และสักการะของประชาชน ก่อนจะพันบริเวณลำคอของรูปเหมือนองค์เล็กสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหม รังสี และที่สำคัญได้แผ่แม่เบี้ย ที่บนศรีษะ ยิ่งสร้างความแตกตื่นอย่างมาก และไม่เคยเห็นงูตัวดังกล่าวมากก่อน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งประหลาดใจแก่ผู้พบเห็นอย่างมาก พอข่าวแพร่สะพัดออกไป ทำให้ประชาชนที่บ้านเรือนตั้งอยู่ใกล้วัด ได้เดินทางมาดูอย่างไม่ขาดสาย
นอกจากนี้ยังมีคน นำไม้มาไล่งูให้ออกไปจากคอรูปเหมือนองค์เล็กสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหม รังสี แต่งูจงอางตัวดังกล่าว ก็ไม่ยอมหนีไป และ ไม่ทำอันตรายใด ๆ เพียงแต่เลี้อยพันคออยู่ไปมา พร้อมแผ่แม่เบี้ย ยิ่งทำให้ผู้พบเห็นเกิดขนลุกในความน่าอัศจจรย์ใจ และเป็นปฎิหารในสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมาก ว่าเป็นงูศักดิ์สิทธิ์ ที่มาแสดงปฎิหารให้ประชาชนได้พบเห็น

พระวิศาล ถาวโร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนได้บุกเบิกตั้งสำนักปฎิบัติธรรมแห่งนี้มานานตั้งแต่ปี 2547 ยังไม่เคยเห็นงูจงอางตัวดังกล่าวมาก่อน โดยเฉพาะการเลี้อยมาพันคอรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหม รังสี และพื้นที่ป่าแห่งนี้ ก็ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยของงูจงอาง จึงเกิดความประหลาดใจอย่างมาก อาจจะเป็นงูศักดิ์สิทธิ์ ที่มาโปรดให้ประชาชนได้เห็น รวมถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ปฎิบัติธรรม โดยเฉพาะรูปเหมือนองค์เล็กสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
สำหรับสำนักปฎิบัติธรรมแห่งนี้ เป็นสถานที่ เพื่อเผยแพร่พระคาถาชินบัญชรในภาคเหนือ โดยในอดีต ตนเป็นพระในคณะ 9 วัดระฆัง มาก่อน กระทั่งเกิดความเลื่อมใส จึงได้เดินทางมายังจังหวัดลำปาง เพื่อตั้งสำนักปฎิบัติธรรม พรหมรังสี ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้มาศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และศึกษาพระคาถาชินบัญชร กระทั่งมาเกิดความน่าอัศจจรย์ และปฎิหารในครั้งนี้


ส่วนงูจงอางตัวนี้ ได้เลื้อยพันคออยู่นานประมาณ 7 ชั่วโมงตลอดทั้งคืน และช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา งูตัวดังกล่าว จะได้เลี้อยลง แล้วเลื้อยเข้าไปในต้นโพธิ์ใหญ่ บริเวณหน้าวัด แล้วหายไป โดยที่ไม่มีใครพบเห็นอีกเลย หลังจาก ข่าวยิ่งแพร่สะพัด ออกไป ทำให้มีประชาชน และคณะศรัทธาเดินทางมาที่วัดเป็นจำนวนมาก เพื่อสอบถามถึงสิ่งมหัศจจรรย์ และปฎิหารที่เกิดขึ้นนี้ ซึ่งทางวัดก็ได้มีการบันทึกภาพไว้ได้ จึงได้นำมาให้ประชาชนได้ชม โดยที่ทางวัด จะได้ขยายภาพให้ใหญ่มากขึ้น เพื่อติดให้ประชาชนได้รับชมภาพสำคัญนี้ ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ขั้น เดือน 9 ที่ผ่านวันพระใหญ่ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เพียงวันเดียว


แหล่งที่มา
__________________
。◕‿◕。 。◕‿◕。
 
     
โดย : sankrubsan   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Sat 28, Aug 2010 12:41:24
 
 
อัศจรรย์ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.