พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

!! ชินราชอินโดจีน สังฆาฏิยาว หน้านาง ตอกโค้ด !!


!! ชินราชอินโดจีน สังฆาฏิยาว หน้านาง ตอกโค้ด !!


!! ชินราชอินโดจีน สังฆาฏิยาว หน้านาง ตอกโค้ด !!

   
 

พิธีใหญ่เกจิดังทั่วประเทศ สุดยอดพระเครื่องหล่อโบราณอีกรุ่นหนึ่งที่ควรค่าการสะสมบูชาครับ

 
     
โดย : โอ๋ชัยนาท   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Fri 13, Aug 2010 09:56:57
 








 
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีนนี้เริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างโดยพลเรือตรี หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราวปีพ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงคราม และให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชา

ต่อมาในปีพ.ศ.2485 สงคราม โลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้ จึงได้มีการจัดสร้างพระ พุทธชินราช รุ่นอินโดจีนขึ้น ในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททองให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์ แทน เนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก ไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธี จึงจำเป็นต้องเปลี่ยน สถานที่มายังวัดสุทัศน์แทน

กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินงานต่อจนเสร็จ ชนวนมวลสารที่ใช้หล่อนั้นประกอบด้วยชนวนโลหะของวัดสุทัศน์ แผ่นจารจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ รวมทั้งโลหะทองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้

หลังจากนั้นเมื่อหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำพระทั้งหมดมามอบให้กับทางพุทธสมาคมฯ เพื่อตอกโค้ด เป็นรูปธรรมจักร และรูปอกเลา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก พระส่วนใหญ่ได้ทำการตอกโค้ดจนครบ แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด เนื่องจากโค้ดชำรุดเสียก่อน และได้นำพระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดสุทัศน์

การสร้างพระเครื่องชุดนี้ยึดเอาพระพุทธลักษณะจากองค์พระพุทธชินราชจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นองค์ต้นแบบ  มีการสร้างแบ่งเป็น  3  ชนิดด้วยกัน  ประกอบด้วย
        1.  พระบูชา  สร้างด้วยวิธีการหล่อเป็นพระพุทธรูปขัดเงา  มีซุ้มเรือนแก้วเหมือนพระพุทธชิน-ราชองค์ปัจจุบัน  การจัดสร้างในครั้งนั้นจัดสร้างตามจำนวนผู้สั่งจอง  โดยผู้ที่สั่งจองจะต้องส่งเงินจำนวน  150  บาท  ไปยังคณะกรรมการเพื่อเป็นทุนจัดสร้างเท่านั้น  (ต่อ  1  องค์)  และมีการแจกจ่ายให้กับจังหวัดทุกจังหวัด  จังหวัดละ  1  องค์  ทั่วประเทศ
        2.  พระเครื่อง  แบ่งการสร้างเป็น  2  ชนิด  คือ  แบบรูปหล่อและเหรียญ  พระรูปหล่อมีพุทธ-ลักษณะเหมือนพระพุทธชินราชเป็นรูปลอยองค์  ประกอบด้วย  พิมพ์สังฆาฏิยาว  พิมพ์สังฆาฏิสั้น  และ  พิมพ์ต้อ
        3.  เหรียญ  สร้างด้วยวิธีการปั๊ม  มีลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา  ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธชินราชประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว  ส่วนด้านหลังของเหรียญจะเป็นรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
สถานที่จัดสร้าง

        พระพุทธชินราชอินโดจีน   จัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์   และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์  ในวันที่  21  มีนาคม  เสาร์  5  (วันเสาร์ขึ้น  5  ค่ำ  เดือน  5)  ปี พ.ศ. 2485  ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากร  โดยมีท่านเจ้าพระคุณ  สมเด็จพระสังฆราชแพ  เป็นองค์ประธาน  และท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์)  เป็นผู้ดำเนินการ  ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการ  นอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่ง  จึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง  ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระเกจิอาจารย์ 108 รูปที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศเลยทีเดียว

รายนามพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีในครั้งนั้น  มีดังนี้
        1.  สมเด็จพระสังฆราชแพ  วัดสุทัศน์เทพวราราม  กรุงเทพ
        2.  พระศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์)  วัดสุทัศน์เทพวราราม  กรุงเทพ
        3.  พระครูใบฎีกา  (ประหยัด)  วัดสุทัศน์เทพวราราม  กรุงเทพ
        4.  พระครูอาคมสุนทร  (มา)  วัดราชบูรณะ  กรุงเทพ
        5.  พระครูพิพัฒนบรรณกิจ  (วิเชียร)  วัดราชบูรณะ  กรุงเทพ
        6.  พระครูสรกิจพิศาล  (ศุข)  วัดราชบูรณะ  กรุงเทพ
        7.  พระครูสุนทรศิลาจารย์  (เจิม)  วัดราชบูรณะ  กรุงเทพ
        8.  พระครูพิบูรณ์บรรณวัตร  (สนิท)  วัดราชบูรณะ  กรุงเทพ
        9.  พระครูสมถกิติคุณ  (ชุ่ม)  วัดพระประโทน  นครปฐม
        10. พระธรรมเจดีย์  (สมเด็จพระสังฆราชอยู่)  วัดสระเกศ  กรุงเทพ
        11. พระสุธรรมธีรคุณ  (วงษ์)  วัดสระเกศ  กรุงเทพ
        12. พระวิเชียรโมลี  (ปลั่ง)  วัดคูยาง  กำแพงเพชร
        13. พระพิมลธรรม  (นาค)  วัดอรุณราชวราราม  กรุงเทพ
        14. พระครูอรุณธรรมธาดา  (บัว)  วัดอรุณราชวราราม  กรุงเทพ
        15. พระครูสังฆพินิจ  (เฟื่อง)  วัดสัมพันธวงศ์  กรุงเทพ
        16. พระมหาโพธิวงศาจารย์  (นวม)  วัดอนงคาราม  กรุงเทพ
        17. พระปลัดเส่ง  วัดกัลยาฯ  กรุงเทพ
        18. พระสังฆราชา  (สอน)  วัดพลับ  กรุงเทพ
        19. พระสมุห์เชื้อ  วัดพลับ  กรุงเทพ
        20. พระครูถาวรสมณวงศ์  (อ๋อย)  วัดไทรบางขุนเทียน  กรุงเทพ
        21. พระพิษณุบุราจารย์  (แพ)  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  พิษณุโลก
        22. พระครูวิสุทธิศีลาจารย์  (พริ้ง)  วัดบางประกอก  กรุงเทพ
        23. หลวงพ่อหลิม  วัดทุ่งบางมด  กรุงเทพ
        24. พระอุบาลีคุณูปรมาจารย์  (เผื่อน)  วัดพระเชตุพนฯ  กรุงเทพ
        25. พระวิสิทธิ์สมโพธิ์  (เจีย)  วัดพระเชตุพนฯ  กรุงเทพ
        26. พระมงคลทิพย์มุณี  (เช็ก)  วัดทองธรรมชาติ  กรุงเทพ
        27. พระธรรมรังสี  (ปาน)  วัดเทพธิดาราม  กรุงเทพ
        28. พระญาณปริยัติ  (พริ้ง)  วัดราชนัดดา  กรุงเทพ
        29. พระสังกิจคุณ  (ขำ)  วัดตรีทศเทพ  กรุงเทพ
        30. พระปัญญาพิศาลการ  (หนู)  วัดประทุมวนาราม  กรุงเทพ
        31. พระปริยัติบัณฑิต  (ทองคำ)  วัดประทุมคงคาฯ  กรุงเทพ
        32. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์  (อ้วน)  วัดบรมนิวาศ  กรุงเทพ
        33. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (เจริญ)  วัดเทพศิรินทร์  กรุงเทพ
        34. พระธรรมดิลก  (โสม)  วัดราชบูรณะ  กรุงเทพ
        35. พระครูวรเวทย์มนี  (อี๋)  วัดสัตหีบ  ชลบุรี
        36. พระครูศรีพนัคนิคม  (ศรี)  วัดพลับ  ชลบุรี
        37. พระครูวิบูลย์คณารักษ์  (ดิ่ง)  วัดบางวัว  แปดริ้ว  ฉะเชิงเทรา
        38. พระครูสิทธิสารคุณ  (จาด)  วัดบางกะเบา  ปราจีนบุรี
        39. พระครูกรุณาวิหารี  (เผือก)  วัดกิ่งแก้ว บางพลี  สมุทรปราการ
        40. พระครูพัก  วัดบึงทองหลาง  กรุงเทพ
        41. พระครูทองศุข  วัดโตนดหลวง  เพชรบุรี
        42. หลวงพ่ออิ่ม  วัดหัวเขา  สุพรรณบุรี
        43. พระวิสุทธิรังสี  (เปลี่ยน)  วัดใต้  กาญจนบุรี
        44. พระครูอดุลย์สมณกิจ  (ดี)  วัดเหนือ  กาญจนบุรี
        45. พระครูนิวิธสมาจารย์  (เหรียญ)  วัดหนองบัว  กาญจนบุรี
        46. พระครูยติวัตรวิบูลย์  (สอน)  วัดลาดหญ้า  กาญจนบุรี
        47. หลวงพ่อเหมือน  วัดโรงหีบ  ดอนเมือง  กรุงเทพ
        48. พระครูธรรมสุนทร  (จันทร์)  วัดบ้านยาง  ราชบุรี
        49. พระครูนนทวุฒาจารย์  (ช่วง)  วัดบางแพรกใต้  นนทบุรี
        50. พระครูนนทปรีชา  (เผือก)  วัดโมลีโลก  นนทบุรี
        51. พระครูโศภณศาสนกิจ  (กลิ่น)  วัดสะพานสูง  นนทบุรี
        52. หลวงพ่อแฉ่ง  วัดบางพัง  นนทบุรี
        53. สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์  (สมเด็จพระสังฆราช  ชื่น)  วัดบวรนิเวศฯ  กรุงเทพ
        54. พระสุพจน์มุนี  (ผิน)  วัดบวรนิเวศฯ  กรุงเทพ
        55. พระครูไพโรจน์มันตาคม  (รุ่ง)  วัดท่ากระบือ  สมุทรสาคร
        56. พระครูมหาชัยบริรักษ์  (เชย)  วัดเจษฎาราม  สมุทรสาคร
        57. พระครูสังวรศิลวัตร  (อาจ)  วัดดอนไก่ดี  สมุทรสาคร
        58. พระครูวัตตโกศล  (เจียง)  วัดเจริญสุขาราม  สมุทรสงคราม
        59. พระครูสุนทรโฆษิต  (ทองอยู่)  วัดประชาโฆษิตาราม  สมุทรสงคราม
        60. หลวงพ่อกลึง  วัดสวนแก้ว  สมุทรสงคราม
        61. หลวงพ่อไวย  วัดดาวดึงษ์  สมุทรสงคราม
        62. หลวงพ่อแช่ม  วัดตาก้อง  นครปฐม
        63. หลวงพ่อจง  วัดหน้าต่างนอก  อยุธยา
        64. หลวงพ่ออั้น  วัดพระญาติ  อยุธยา
        65. หลวงพ่อนอ  วัดกลางท่าเรือ  อยุธยา
        66. หลวงพ่อแจ่ม  วัดวังแดงเหนือ  อยุธยา
        67. หลวงพ่อเล็ก  วัดบางนมโค  อยุธยา
        68. หลวงพ่ออ่ำ  วัดวงฆ้อง  อยุธยา
        69. หลวงพ่อกรอง  วัดสว่างอารมณ์  อยุธยา
        70. หลวงพ่อจันทร์  วัดคลองระนงค์  ชุมแสง  นครสวรรค์
        71. พระครูทิวากรคุณ  (กลีบ)  วัดตลิ่งชัน  ธนบุรี
        72. พระราชโมรี  (นาค)  วัดระฆังฯ  ธนบุรี
        73. หลวงพ่อเกษวิกรม  (พูน)  วัดสังฆราชาวาส  สิงห์บุรี
        74. หลวงพ่อจันทร์  วัดนางหนู  ลพบุรี
        75. พระครูศิลธรานุรักษ์  (ปลอด)  วัดหลวงสุวรรณาราม  ลพบุรี
        76. พระครูศิลธรานุรักษ์  (ครุฑ)  วัดท่าพ่อ  พิจิตร
        77. หลวงพ่อพิธ  วัดฆะฆัง  พิจิตร
        78. หลวงพ่ออ่ำ  วัดหนองกระบอก  ระยอง
        79. หลวงพ่อทอง  วัดดอนสะท้อน  หลังสวน  ชุมพร 
        80. พระมหาเมธังกร  (หมา)  วัดน้ำคือ  แพร่
        81. พระสุเมธีวรคุณ  (เปลี่ยม)  วัดเกาะหลัก  ประจวบคีรีขันธ์
        82. พระธรรมทานาจารย์  (อิ่ม)  วัดชัยพฤกษ์มาลา  ธนบุรี
        83. หลวงพ่อคง  วัดซำป่าง่าม  ปราจีนบุรี
        84. พระครูนันทธีราจารย์  (เหลือ)  วัดสาวชะโงก  ฉะเชิงเทรา
        85. พระครูกาแก้ว  (หมุ้น)  วัดหน้าพระธาตุ  นครศรีธรรมราช
        86. หลวงพ่อเส็ง  ประจันตคาม  ปราจีนบุรี
        87. พระอาจารย์ปลื้ม  วัดปากคลองมะขามเฒ่า  ชัยนาท
        88. หลวงพ่อพุ่ม  วัดบางโคล่นอก  กรุงเทพ
        89. พระญาณไตรโลก  (ฉาย)  วัดพนัญเชิง  อยุธยา
        90. หลวงพ่อขัน  วัดนกกระจาบ  อยุธยา  (อาพาธส่งตัวแทนมา)
        91. หลวงปู่ใจ  วัดเสด็จ  สมุทรสงคราม
        92. พระอาจารย์โชติ  วัดตะโน  ฝั่งธนบุรี  กรุงเทพ
        93. หลวงพ่อเงิน  วัดดอนยายหอม  นครปฐม
        94. หลวงพ่อโอภาสี  อาศรมบางมด  ฝั่งธนบุรี  กรุงเทพ
        95. หลวงพ่อเรือง  วัดใหม่พิณสุวรรณ  สุพรรณบุรี
        96. หลวงพ่อบุตร  วัดใหม่บางปลากด  สมุทรปราการ
        97. หลวงพ่อเดิม  วัดหนองโพธิ  นครสวรรค์  (จารแผ่นยันต์  มาร่วม)
        98. พระครูสุนทรสังฆกิจ  (ลา)  วัดแก่งคอย  สระบุรี
ฯลฯ

หลังจากเสร็จพิธีแล้ว จึงนำออกมาแจกจ่ายให้แก่ทหารหาญที่ไปราชการสงคราม และประชาชนที่ได้สั่งจองไว้ พร้อมทั้งนำเอาไปถวายไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลกอีกจำนวนหนึ่ง ในส่วนที่แจกจ่ายไปนี้เป็นพระที่ทำการตอกโค้ดแล้วทั้งสิ้น พระส่วนที่เหลือทั้งที่ตอกโค้ดและไม่ได้ตอกโค้ดทางพุทธสมาคมฯ ได้ทำการเก็บรักษาไว้ จนในปี พ.ศ.2516 จึงเปิดให้ประชาชนได้มีโอกาสได้เช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง 
 
โดย : โอ๋ชัยนาท    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Fri 13, Aug 2010 09:58:18









 
โค้ดชัดเจน สวยมากครับ
 
โดย : โอ๋ชัยนาท    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Fri 13, Aug 2010 09:59:10

 

 
โดย : korawit_kj    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Fri 13, Aug 2010 11:44:51

 
 
โดย : พระธนบดี    [Feedback +67 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Fri 13, Aug 2010 17:25:10

 

เป็นพระสากลนิยมครับ ไม่ว่าคนที่เล่นสายไหนๆ ก็เล่นชินราชอินโดจีนครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Fri 13, Aug 2010 20:32:53

 
แท้ดูง่ายดีครับ
 
โดย : หนึ่งพุทธคุณ    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Tue 17, Aug 2010 18:48:39

 
!! ชินราชอินโดจีน สังฆาฏิยาว หน้านาง ตอกโค้ด !! : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.