พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระกรุล้านนา

พระแตกกรุใหม่ แต่ประวัติสุดยอด


พระแตกกรุใหม่ แต่ประวัติสุดยอด


พระแตกกรุใหม่ แต่ประวัติสุดยอด

   
  ถ้าทุกคนได้ศึกษาจะรู้ว่าสุดยอด  
     
โดย : ทรงยศ   [Feedback +1 -0] [+1 -0]   Sat 7, Nov 2009 15:53:55
 
 

เก่ากว่าพระรอดมหาวัน เลยเหรอครับ

เก่ากว่าตรงจุดไหน รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะตามรายการดังนี้ครับ

 

1 เรื่องของศิลป์ พระรอดเดิมอายุประมาณเท่าไหร่ พระของท่านอายุประมาณเท่าไหร่ ทำไมจึงคิดว่าต้องเก่ากว่า

2 พิมพ์ทรง แบบไหนน่าจะมีการสร้างมาก่อนกัน ระหว่างแตกเก่า แตกใหม่  

3. ที่ลงมา 2 องค์ ควรจะมีศิลปะอยู่ในยุคสมัยใด อ้างอิงจากอะไร

4. แล้วที่ติดที่ฐานพระ ทำจากวัสดุอะไร อายุประมาณเท่าไหร่ เจียรโดยธรรมชาติ หรือเจียรโดยคน

ตอบครบทุกรายการ อย่างมีเหตุผล และเอกสารอ้างอิงจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ ไม่เกินวันจันทร์ admin  จะเข้ามาเยี่ยมครับ

 
โดย : Tae    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Sat 7, Nov 2009 16:06:54

 

 
โดย : Provision    [Feedback +61 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Sat 7, Nov 2009 16:59:09





 
 
โดย : บ้านเหนือ    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Sat 7, Nov 2009 18:04:08

 
 
โดย : ลำพูนศรัทธา    [Feedback +9 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Sat 7, Nov 2009 19:22:21









 
 
โดย : sidtad    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Sun 8, Nov 2009 21:46:36





 
ไม่เคยเห็นพระกรุแนวนี้.. มีด้วยหรือครับ???
 
โดย : wanlopanukun    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Mon 9, Nov 2009 14:00:44

 

ผมก็รู้มาคราวอะ ตอบเป็นข้อๆนะครับ

1. องค์แรกจะมีสองหน้านะครับ อีกหน้าจะเป้นพระบาง สีเขียวน่าจะเป็นหยก นำเข้าจากอินเดียเมื่อประมาณ พ.ศ 900 องค์สร้างในรัชสมัยก่อนอาณาจักรหริภูญชัย เรียกว่าเมืองลพะ ที่โพธิสลักเป็นภาษาล้านนาโบราณเป็นชื่อของกษัตริย์ที่สร้าง

2. พระพิมพ์ระยะแรกจะนำมาจากประเทศอินเดียสร้างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างจากแท่นที่รองพระศพของพระพุทธเจ้า และดินบริเวณที่เผาพระศพ

3. องค์ที่ 2 เป็นพระที่ขึ้นจากกรุเดียวกัน

ข้อมูลนอกเหนือจากนี้ลองไปอ่านหนังสือ ตามรอยพระพุทธเจ้า ของอาจาร์ยสินธพ ทรวงแก้ว ดูครับ

รูปมีอีกเยอะครับเดี่ยวผมจะนำมาลงให้ดู

 
โดย : ทรงยศ    [Feedback +1 -0] [+1 -0]   [ 7 ] Mon 9, Nov 2009 17:39:50





 

 
โดย : sek    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Mon 9, Nov 2009 18:57:15

 

พระยามังรายสถาปนาอาณาจักรล้านนา ปีพศ 1835 อ้างอิงจากชินการมาลีปกรณ์ มาถึงปีนี้ พศ 2552 

2552-1835 = 717 ปี

พระมีอายุเท่าไหร่นะครับ เอาให้แน่

แล้วที่อ้างว่าอักษรล้านนาโบราณ อันนี้ก็มั่ว อักษรอะไร หรือไม่ใช่อักษร พระคง มีศิลปะแบบคุปตะ ต่อจนถึงปาละ ในอินเดีย พระบางมีลักษณะต่างกัน มีหรือจะมีอายุเท่ากัน

แล้วอีกพิมพ์ บ้านเราเรียกพระรอด อินเดียเรียกอะไรไม่รู้ ลักษณะองค์พระผอมกว่า ประทับนั่งอยู่ภายใต้โพธิ์บรรลังที่แตกต่างไปจากพิมพ์แรก พิมพ์ลักษระนี้มีอายุอย่างมาก อยู่ในยุคพุกาม ในยุคที่มีอาณาจักรรุ่งเรือง ในประเทศพม่า

ใจจคอจะเอามารวมกันหมดเลยหรือ รู้ไหมครับว่าถ้ารวมกันแบบนี้ แถวบ้านผมเรียก "โฮ๊ะ" ซึ่งทำให้ลดความน่าเชื่อถือของพระทั้งสองลงไป ส่วนตัว ผมว่าทั้งสองพิมพ์มีน้ำหนักไม่พอให้เชื่อ

แล้วจะถามอีกอย่างว่าไอ้เม็ดที่ติดที่ฐานเอาอะไรติดครับ อย่าบอกนะครับว่ากษัตริย์ที่สร้าง ให้ฤาษีเสกอภินิหาร วันที่ฝังตั้งแต่แรก จนถึงวันนี้ ถ้าใช้อะไรเชื่อมติดไว้ สิ่งที่ติดหลุดไปนานแล้วท่านไม่อยู่มาถึงวันนี้หรอก

 
โดย : Tae    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Mon 9, Nov 2009 21:28:46









 
แค่ศิลปยุคพระเจ้าอโศกมหาราชเค้าเรียกว่า ศิลปคันธารราฏ กับศิลปคุปตะห่างกันเป็นพันปีเลยนะ แล้วพระเจ้าอโศกจะรู้ว่าจะมีศิลปที่เกิดขึ้นทีหลังเป็นพันปีแล้วเอาแบบมาสร้างได้ไง นี่ยังไม่รวมพระรอดที่มีอายุไม่เกินพันปีอีกนะครับ
 
โดย : บ้านเหนือ    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Mon 9, Nov 2009 21:45:28

 

ผมว่าว่างๆลองเดินไปแถวๆสนามพระหรืองานประกวดบ้างก้อได้ครับ ไปหาแถวที่เขาขายเป็นกอง 3องค์100 อ่านะเผื่อเจอ อิอิอิอิอิ

 
โดย : nuimio    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Mon 9, Nov 2009 22:30:26

 

ผมถึงบอกให้ไปอ่านหนังสือของอาจารย์สินธพ ทรวงแก้วดูยังไงละครับ อธิบายยาก

 
โดย : ทรงยศ    [Feedback +1 -0] [+1 -0]   [ 12 ] Tue 10, Nov 2009 08:10:32

 

พระเป็นเนื้อชินครับ แก้วที่ติดก็เป็นทรงกลม ตอนเห็นมันก็เข้าไปอยู่ใต้ฐานพระแล้ว ใครจะรู้ว่าคนสมัยก่อนเค้าติดยังไง

 
โดย : ทรงยศ    [Feedback +1 -0] [+1 -0]   [ 13 ] Tue 10, Nov 2009 08:41:30

 
รู้จักกรุพระอรหัต 28 พระองค์ที่ดอยไซร์ลำพูนเปล่าครับ ลองมาดูได้ ที่นั้นเป็นจุดเริ่มต้นทั้งหมดอะ
 
โดย : ทรงยศ    [Feedback +1 -0] [+1 -0]   [ 14 ] Tue 10, Nov 2009 08:44:37

 
เว็บนี้ดี ให้ความรู้
 
โดย : missukae    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 15 ] Tue 10, Nov 2009 11:23:07

 
ผมว่าพี่เอาหลักฐาน+เอกสารอ้างอิงมาลงจะดีกว่าครับ ไม่ต้องให้คนอื่นเขาไปหาเอง ถ้าพี่มีเจตนาที่จะให้ทุกคนทราบเรื่องราวของพระนี้กรุนี้พี่ควรจะแสดงหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้มากกว่านี้นะครับ ผมก้ออยากรู้เหมือนกันว่าเนื้อชินที่มีอายุเก่ากว่าพระรอด(1300) เนื้อหาเป็นแบบนี้เองเหรอ
 
โดย : nuimio    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 16 ] Tue 10, Nov 2009 23:57:52









 

พระพิมพ์ เป็นอุเทสิกเจดีย์ชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งแต่เดิมคงมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อเป็นที่ระลึกในการเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานต่างๆ หรือเป็นที่ตั้งแห่งการเคารพบูชาแทนองค์พระบรมศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้าภายหลังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อ กลายมาเป็นการสร้างขึ้นเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาตามคติที่ได้รับผ่านมาจากประเทศลังกา ที่เชื่อว่าพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ในระยะเวลาเพียง ๕,๐๐๐ ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ เสื่อมลง จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพิมพ์พร้อมกับจารึกพระคาถา “เย ธม มา” อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาลงบนพระพิมพ์ที่สร้างขึ้น ด้วยหวังว่าการได้พบเห็นรูปพระศาสดาและคาถาย่ออันเป็นคำสั่งสอนที่เป็นสาระของพระองค์ อาจเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้พบเห็นกลับบังเกิดความเลื่อมใสและเชื่อถือขึ้นอีกครั้ง

สันนิษฐานว่าต้นกำเนิดของพระพิมพ์น่าจะมาจากสังเวชนียสถานสำคัญของพระพุทธเจ้า ๔ แห่งในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่ก่อนดับขันธ์ปรินิพพานพระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำให้พุทธบริษัทไปปลงธรรมสังเวช เมื่อต้องการระลึกถึงพระองค์ ได้แก่ เมืองกบิลพัสดุ์ สถานที่ประสูติ เมืองพาราณสี สถานที่แสดงปฐมเทศนา เมืองพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้อนุตตะสัมมาสัมโพธิญาณ และเมืองกุสินารา อันเป็นสถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

ดังนั้นพระพิมพ์ในระยะต้นๆ จึงน่าจะได้แก่ภาพจำลองสัญลักษณ์ของสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งนั่นเอง โดยเริ่มแรกอาจทำเป็นเพียงรูปสัญลักษณ์ เช่น ธรรมจักร สถูป เท่านั้น ต่อมาจึงเกิดมีพระพุทธรูปประกอบรวมอยู่กับสัญลักษณ์เหล่านั้น เช่น รูปพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือประทับภายในซุ้มสถูป เป็นต้น

พระพิมพ์ที่มีพระพุทธรูปประกอบปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์กุษาณะ และได้ทำสืบเนื่องต่อมาในสมัยราชวงศ์คุปตะหลังคุปตะ และสมัยกลางคือสมัยราชวงศ์ปาละ-เสนะ แหล่งพระพิมพ์ที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ตลอดจนในประเทศใกล้เคียงที่ได้รับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาเข้าไว้

 
โดย : wongrapee    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 17 ] Wed 11, Nov 2009 00:57:17





 

สำหรับในประเทศไทยนั้นก็ได้พบหลักฐานการสร้างพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก ในหนังสือ “ตำนานพระพิมพ์” ของ ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ และอาจถือเป็นตำราเกี่ยวกับพระพิมพ์เล่มแรกของไทย ได้จัดแบ่งพระพิมพ์ที่พบออกเป็น ๖ หมวดด้วยกัน คือ

หมวดที่ ๑ แบบพระปฐม เนื่องจากได้พบพระพิมพ์หมวดนี้มากบริเวณจังหวัดนครปฐม พระพิมพ์พระปฐมมักทำเป็นรูปการแสดงมหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี มีการจารึกคาถา เย ธม มา เป็นภาษาบาลีด้วยตัวอักษรคฤนถ์หรือตัวอักษรขอมโบราณ จัดเป็นพระพิมพ์แบบที่เก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย

หมวดที่ ๒ แบบถ้ำแหลมมลายู พระพิมพ์หมวดนี้ส่วนมากจะทำด้วยดินดิบ เป็นพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์ฝ่ายมหายาน คาถา เย ธม มา ที่จารึกเป็นภาษาสันสกฤตตัวอักษรนาครีที่ใช้อยู่ในอินเดียฝ่ายเหนือ

หมวดที่ ๓ แบบขอม ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ จัดไว้อยู่ในสมัยเดียวกับแบบถ้ำแหลมมลายู หรือหลังลงมาเล็กน้อย โดยพิจารณาจากพุทธลักษณะและลวดลายเครื่องประดับ ซึ่งเป็นแบบลัทธิมหายาน

หมวดที่ ๔ แบบสุโขทัย โดยมากเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถกำลังก้าวเดิน หรือที่เรียกกันว่าพระลีลา

หมวดที่ ๕ แบบอยุธยา ที่ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ จัดไว้ในหมวดนี้ได้แก่พระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งประทับอยู่ภายในเรือนแก้ว หรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกกันเป็นสามัญว่าพระโคนสมอ

หมวดที่ ๖ พระเครื่องต่างๆ เช่น พระคง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันได้มีการขุดค้นพบพระพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และได้มีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ดังนั้นเพื่อความเหมาะสมจึงอาจแบ่งพระพิมพ์ที่พบนี้ออกเป็นกลุ่ม โดยพิจารณาจากอายุสมัย คติความเชื่อทางลัทธิศาสนา ลักษณะทางประติมานวิทยา และรูปแบบทางศิลปะของพระพิมพ์ได้ ดังนี้

๑. พระพิมพ์แบบทวารวดี หรือพระพิมพ์แบบพระปฐม ตามการจัดหมวดของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์

 

พระพิมพ์แบบทวารวดีจัดเป็นพระพิมพ์แบบที่เก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ถึง ๑๖ ศิลปะทวารวดีเป็นศิลปะที่มีศูนย์กลางความเจริญกระจายอยู่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยเฉพาะทางแถบจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ฯลฯ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการขุดพบพระพิมพ์รูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก

พระพิมพ์แบบทวารวดีส่วนใหญ่คงสร้างขึ้นตามคติความเชื่อในพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ทั้งที่ใช้คัมภีร์บาลีและภาษาสันสกฤต ลักษณะทางประติมานวิทยาของพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นนี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบคุปตะ หลังคุปตะ และแบบปาละอย่างเด่นชัด พระพิมพ์แบบทวารวดีมักสร้างด้วยดินเผา และมักมีการจารึกคาถาหัวใจพระอริยสัจ “เย ธม มา” ด้วยตัวอักษรคฤนถ์ หรือตัวอักษรขอมโบราณเป็นภาษาบาลี

๒. พระพิมพ์แบบศรีวิชัย หรือแบบถ้ำแหลมมลายู

ศิลปะศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองขึ้นบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ โดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ หลังคุปตะ ปาละ และเสนะ ควบคู่ไปกับการรับเอาอิทธิพลทางศิลปะจากดินแดนใกล้เคียง เช่น ทวารวดี ชวาภาคกลาง และเขมร อิทธิพลทางศิลปะจากแหล่งต่างๆ ของอาณาจักรศรีวิชัยอาจสะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนจากรูปแบบของบรรดาพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในยุคนี้

พระพิมพ์แบบศรีวิชัยส่วนใหญ่จะสร้างด้วยดินดิบ สันนิษฐานว่าคงสืบเนื่องมาจากคติทางพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ในการอุทิศส่วนกุศลหรือสร้างบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยการนำเอาอัฐิของผู้ตายมาผสมกับดินเหนียวแล้วพิมพ์เป็นพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์ และเนื่องจากอัฐินั้นได้ผ่านการเผามาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อนำมาผสมกับดินพิมพ์เป็นรูปเคารพจึงไม่เผาซ้ำอีก

๓. พระพิมพ์แบบหริภุญไชย

 

ศิลปกรรมแบบหริภุญไชยเป็นศิลปะที่เจริญขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ มีลักษณะเป็นสกุลช่างหนึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดลำพูนปัจจุบัน นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าศิลปะสกุลช่างหริภุญไชยถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ โดยสันนิษฐานจากเอกสารตำนานพื้นเมืองที่กล่าวถึงการเสด็จขึ้นมาครองเมืองหริภุญไชยของพระนางจามเทวี ธิดากษัตริย์เมืองละโว้ เมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ประกอบกับหลักฐานจากโบราณวัตถุที่พบ เช่น บรรดาพระพิมพ์ต่างๆ ที่มีรูปแบบศิลปะคล้ายกับศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม และพระพิมพ์ในศิลปะแบบทวารวดีที่พบบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

อย่างไรก็ดี พระพิมพ์สกุลช่างหริภุญไชยส่วนใหญ่คงมีอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘ เนื่องจากมีรูปแบบทางศิลปะที่อาจเปรียบเทียบได้กับศิลปะอินเดียแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖) และศิลปะเขมรแบบนครวัด – บายน (พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘) เป็นต้นว่าพระพิมพ์ที่นิยมเรียกชื่อกันเป็นสามัญว่าพระรอด พระเลี่ยง พระป๋วย พระกวาง พระสามหอม เป็นต้น

๔. พระพิมพ์แบบเขมรหรือลพบุรี

ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานจากประเทศกัมพูชาได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะทางแถบภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ก่อให้เกิดศิลปกรรมที่แสดงอิทธิพลเขมรแบบที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีขึ้นทั่วไป ทั้งในรูปของสถาปัตยกรรม เช่น ปราสาทหิน และประติมากรรม เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์ต่างๆ พระพิมพ์แบบลพบุรีมักแสดงภาพพระพุทธรูปหลายองค์ หรือพระพุทธรูปกับพระโพธิสัตว์รวมอยู่ในแผงเดียวกันตามคติของฝ่ายมหายาน เป็นต้นว่า พระพิมพ์ภาพพระรัตนตรัยมหายาน (พระอาทิพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตา) ที่นิยมเรียกกันเป็นสามัญว่าพระนารายณ์ทรงปืน หรือพระตรีกาย พระพิมพ์ภาพเหวัชมณฑล หรือที่มักเรียกกันว่าพระพิมพ์ปางมหาปาฏิหาริย์ ฯลฯ

นอกจากนี้ พระพิมพ์ลพบุรียังนิยมแสดงภาพพระพุทธรูปองค์เดียว ที่มักรู้จักกันในชื่อสามัญ เช่น พระร่วง พระลพบุรีหูยาน พระเทริดขนนก พระยอดขุนพล หลวงพ่อจุก หลวงพ่อหมอ หลวงพ่อพัด เป็นต้น

๕. พระพิมพ์แบบสุโขทัย

 

อาณาจักรสุโขทัยถือกำเนิดขึ้นภายหลังการเสื่อมอำนาจทางการเมืองของเขมรที่เคยมีอิทธิพลครอบคลุมเหนือดินแดนแถบนี้มาเป็นเวลาช้านาน วัฒนธรรมสุโขทัยเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งแตกต่างไปจากวัฒนธรรมเดิมที่เป็นวัฒนธรรมแบบพุทธมหายาน ศิลปกรรมของสุโขทัยจึงมีรูปแบบเปลี่ยนไปจากวัฒนธรรมเดิมอย่างเห็นได้ชัด ในสมัยนี้นิยมสร้างพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน (ลีลา) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา พระพุทธรูปสมัยกรุงสุโขทัยมักมีพระพักตร์เป็นรูปไข่ หรือยาวรีแบบผลมะตูม รัศมีเป็นรูปเปลว พระอุระผายกว้าง ลำพระองค์เรียวได้สัดส่วน ซึ่งถือกันว่ามีความงดงามกว่าสมัยอื่นๆ

ได้มีการขุดพบพระพิมพ์ทั้งในบริเวณเมืองสุโขทัยและเมืองใกล้เคียงที่ร่วมวัฒนธรรมกับสุโขทัย โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแหล่งที่พบและพุทธลักษณะ เช่น

เมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะบริเวณบ้านสวนดอกไม้และบ้านทุ่งเศรษฐี ที่รู้จักกันดี เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงศอก พระกำแพงเปิดโลก พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงซุ้มคอ ฯลฯ
เมืองพิษณุโลก เช่น พระนางพญา พระยอดอัฎฐารส พระท่ามะปรางค์ ฯลฯ
เมืองสุโขทัย เช่น พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ พระนางพญาวัดสระศรี วัดป่ามะม่วง พระลีลามหาธาตุ วัดถ้ำหีบ ฯลฯ

๖. พระพิมพ์แบบอู่ทอง – อยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยนานกว่า ๔๐๐ ปี ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ศิลปกรรมของอยุธยาได้แสดงให้เห็นถึงการรับเอาอิทธิพลจากอารยธรรมหลายๆ แหล่งที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นก่อนหน้าเข้ามาปรุงแต่งผสมผสานจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรม โดยเฉพาะประติมากรรมขนาดเล็ก เช่นบรรดาพระพิมพ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นในช่วงนี้นั้นได้ให้เห็นชัดเจนถึงรูปแบบศิลปะที่รับมาจากที่ต่างๆ ทั้งจากภายใน เช่น ศิลปะทวารวดี ลพบุรี และสุโขทัย ตลอดจนที่รับจากภายนอก เช่น ศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม และศิลปะอินเดียแบบปาละ

อย่างไรก็ดี ต่อมาภายหลังพระพิมพ์อยุธยาก็ได้มีการพัฒนาจนมีรูปแบบเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เป็นต้นว่า พระพิมพ์ที่แสดงภาพพระพุทธรูปประทับยืนหรือนั่งอยู่ภายในซุ้มที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าซุ้มจิก ซุ้มโพธิ์พฤกษ์ ซุ้มเสมา หรือซุ้มเรือนแก้ว ดังเช่นบรรดาพระพิมพ์ต่างๆ ที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระพิมพ์แบบอู่ทอง – อยุธยา ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น พระหูยาน พระยอดขุนพล กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรี พระท่ากระดาน จังหวัดกาญจนบุรี ศิลปะแบบอู่ทอง พระลีลากรุวัดการ้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย พระหลวงพ่อโต หลวงพ่อโป้ ซึ่งถือเป็นศิลปะแบบอยุธยาบริสุทธิ์ เป็นต้น

ในตอนปลายของสมัยอยุธยา ได้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งส่งผลถึงพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในช่วงนี้ รวมทั้งได้กลายเป็นแบบแผนให้แก่พระพิมพ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย พระพิมพ์ดังกล่าวได้แก่ที่นิยมเรียกกันเป็นสามัญว่า “พระโคนสมอ” โดยทำเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแสดงปางต่างๆ กันอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว เป็นต้นว่า ปางถวายเนตร ปางรำพึง ปางอุ้มบาตร ฯลฯ

๗. พระพิมพ์แบบรัตนโกสินทร์

 

ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในยุคต้นๆ นั้น ได้รับเอาอิทธิพลทางรูปแบบศิลปะจากอยุธยาเข้ามาอย่างมากมาย ซึ่งย่อมรวมถึงบรรดาพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในช่วงนี้ด้วย พระพิมพ์เหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะพบบรรจุอยู่ในกรุเจดีย์ของวัดต่างๆ ที่สร้างหรือได้รับการบูรณะซ่อมแซมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น วัดราชนัดดา วัดราชบูรณะ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) กรุงเทพฯ เป็นต้น

แต่ต่อมา โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมานั้น คติการสร้างและรูปแบบพระพิมพ์ได้เริ่มแปรเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ นอกเหนือไปจากการสร้างไว้บรรจุในกรุเจดีย์เพื่อหวังสืบอายุพระพุทธศาสนาตามคติดั้งเดิมแล้ว ยังสร้างขึ้นเป็น “วัตถุมงคล” เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ที่นับถือศรัทธา

พระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคสมัยนี้ ได้แก่ พระพิมพ์รูปสี่เหลี่ยมชิ้นฟักที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งภายหลังได้มีการนำรูปแบบมาสร้างขึ้นอย่างแพร่หลาย และเรียกพระพิมพ์ที่มีลักษณะดังกล่าวว่า “พระสมเด็จ”

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างพระพิมพ์และเหรียญที่เป็นรูปพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงนอกเหนือไปจากพระพิมพ์ภาพพระพุทธองค์เพิ่มขึ้นอีกมาก ทั้งนี้คงสืบเนื่องมาจากอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ที่นิยมการสร้างเหรียญเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสพิเศษต่างๆ ซึ่งในระยะแรกได้รับความนิยมสร้างขึ้นเนื่องในงานพิธีสำคัญๆ ในราชสำนัก ต่อมาจึงได้แพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป

สิ่งเหล่านี้ทำให้รูปแบบของพระพิมพ์ในยุคนี้มีความหลากหลายแตกต่าง จนแทบไม่สามารถกำหนดเป็นรูปแบบเฉพาะได้ หากแต่จะมีรูปลักษณ์ที่ผิดแผกไปตามความนิยมของบรรดาเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระพิมพ์นั้นๆ

อย่างไรก็ดี นอกจากบรรดาพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งบรรจุอยู่ภายในกรุเจดีย์ของวัดวาอารามต่างๆ ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อาจมีพระพิมพ์อีกแบบหนึ่งที่น่าจะถือเป็นตัวแทนของพระพิมพ์ในสมัยนี้ได้ คือ พระพิมพ์ภาพพระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองอายุพุทธศาสนากึ่งพุทธกาลเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ พระพิมพ์ดังกล่าวได้นำแบบอย่างมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่ออกแบบปั้นขึ้นโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ มีลักษณะเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยกับศิลปะตะวันตก กล่าวคือ มีเค้าพระพักตร์ พระเกตุมาลา พระศก และพระรัศมีรูปเปลว รวมทั้งพระอิริยาบถลีลาอันอ่อนช้อยเป็นแบบศิลปะสุโขทัย แต่พุทธประติมานและลักษณะการครองผ้ามีลักษณะเหมือนจริงตามธรรมชาติอันเป็นลักษณะของศิลปะตะวันตก

พระพิมพ์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนถึงเกือบ ๕ ล้านองค์ โดยส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินและเนื้อดินผสมผง และส่วนหนึ่งถูกนำไปบรรจุในกรุพระเจดีย์สำคัญๆ ทั่วประเทศ


 
โดย : wongrapee    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 18 ] Wed 11, Nov 2009 00:59:09

 
ตรวจสอบก่อนลงโชว์ด้วยครับ
 
โดย : admin    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 19 ] Wed 11, Nov 2009 02:44:44

 
พระแตกกรุใหม่ แต่ประวัติสุดยอด : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.